5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

การขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์จะต้องใช้เครื่องอัดลมในการจ่ายพลังงาน แต่ในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ดังนั้นการทำงานของระบบนิวเมติกส์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  สิ่งแปลกปลอมที่มีปัญหากับระบบอัดลม มีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมามีดังนี้

1. ความชื้น

ในลมอัดจะประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง หลักการแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้นสามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำให้อากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกที การทำแบบนี้จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก

2. ฝุ่นละออง

สาเหตุที่มีฝุ่นละอองนั้น สามารถมีได้อยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุ สนิม เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งที่มาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ แก้ไขได้โดยติดตั้งตัวกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมหลักที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอ

3. น้ำมันหล่อลื่น

สิ่งนี้มักจะปะปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบในเครื่องลมอัด ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์ได้

4. ข้อบกพร่องที่เกิดจากการหล่อลื่น

ในวาล์วนิวเมติกส์บางรุ่นยังคงต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่างๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไม่เหมาะสม เพราะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอุดตันภายในตัวเก็บเสียงได้

5. สารออกไซด์

เป็นสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากระบบลูกสูบทำงาน จะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอน มาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพและเปลี่ยนตามเวลากำหนด

การจัดการบำรุงรักษานิวเมติกส์

อุปกรณ์นิวเมติกส์ทุกชิ้น จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะตามเวลาการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายในระบบนิวเมติกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และ ปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency