เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

แอดมินได้พูดถึง Design, Diameter and stroke, และ movement  ของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods) ไปแล้วในตอนที่ 1 และในบทความนี้แอดมินจะอธิบายต่อจากครั้งก่อนเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งของกระบอกลม สัญลักษณ์ ISO และระบบกันกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งสูบกันค่ะ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 1

การแบ่งชนิดของกระบอกลมแบบมีแกน สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

1. กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting

การทำงานของกระบอกลมแบบ single จะเป็นไปในทิศทางเดียวโดยใช้อากาศอัดเท่านั้น ระยะการชัก (stroke) จะถูกจำกัดด้วยความยาวของสปริง โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมแบบ single จะให้จังหวะที่ค่อนข้างสั้น โดยกระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • กระบอกลมแบบสปริงหน้า (สปริงอยู่ระหว่างฝาหน้าและลูกสุบ)
  • กระบอกลมแบบสปริงหลัง (สปริงอยู่ระหว่างฝาหลังและลูกสูบ)

2.กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ double-acting

เป็นกระบอกลมที่ขับเคลื่อนได้ทั้ง 2 ทิศทางด้วยอากาศอัด นิยมใช้กับงานที่ต้องการให้ความยาวของจังหวะ (stroke) ยาวกว่าสปริงที่มีอยู่ในกระบอกลม โดยกระบอกลมสองทิศทางสามารถแบ่งประเภทได้หลากหลาย ดังนี้

  • Double-acting cylinders แบบมาตรฐาน
  • Double-acting cylinders พร้อมก้านสูบ 2 ด้าน (แบบ PUSH PULL )
  • Double-acting cylinders แบบไม่มีแกนหมุน
  • Multi cylinders (กระบอกลมหลายตำแหน่ง)
  • Tandem cylinders (กระบอกลมแบบควบ)

สัญลักษณ์ ISO

สัญลักษณ์ ISO ถูกคิดขึ้นเพื่อให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ และการทำงานของแต่ละประเภทได้ ซึ่งสัญลักษณ์ ISO นี้ ไม่ได้บอกถึงขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง และมาตรฐาน ISO นะคะ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

ระบบการกันการกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์

อากาศอัดสามารถเข้าสู่กระบอกลมด้วยความเร็วสูงได้ และหากลูกสูบไปชนฝา หรือหัวกระบอกด้วยความเร็วแล้ว อาจทำให้กระบอกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา กระบอกลมนิวเมติกส์ส่วนใหญ่จะติดตั้งโช้คอัพ หรือตัวกันกระแทก เพื่อลดความเร็วของลูกสูบ

การลดแรงกระแทกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • การใช้โช้คอัพแบบยืดหยุ่น (shock absorbers) ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดในการหลีกเลี่ยงการกระแทกอย่างหนัก โดยประกอบวัสดุที่อ่อนนุ่มระหว่างลูกสูบกับฝาปิด ในรูปแบบของวงแหวนซึ่งมักทำจากโพลียูรีเทน จึงมีการดูดซับแรงกระแทกได้ดี แต่วิธีนี้ต้องใช้กับกระบอกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างเล็ก และห้ามนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่า  โช้คอัพแบบยืดหยุ่นจะเน้นด้วยลูกศรสีแดงตามรูปภาพด้านล่าง
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2
รูปกระบอกแบบที่ติดกับ shock absorbers

ระบบกันกระแทกแบบปรับได้ (adjustable cushion)  จะใช้ในกรณีที่มีการรับแรงมากขึ้นเนื่องจากความเร็วที่สูงขึ้นหรือกระบอกลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยระดับการกันกระแทก หรือการลดความเร็วนั้น สามารถปรับได้ที่ปลายกระบอกลมทั้งสองข้าง ตามรูปภาพข้างล่าง

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบในตอนที่ 2 หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายของซีรีย์นี้ แอดมินจะพูดถึงการตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมด้วยแม่เหล็ก การควบคุมความเร็ว และมาตรฐานสากลของกระบอกลมนิวเมติกส์ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency