การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

เนื่องจากว่ากระบอกลมนิวเมติกส์มีความได้เปรียบทางความเร็วและกำลังแรง ทำให้ระบบนิวเมติกส์เป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ด้าน แต่ภายในกระบอกลมนิวเมติกส์จำเป็นต้องมีการควบคุมตำแหน่งและความเร็ว เพื่อให้มีแรงและความเร็วที่เหมาะสมในแต่ละงานและไม่ให้กระบอกลมนิวเมติกส์เกิดการกระแทกเพราะความเร็วที่มากเกินไปได้นั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ได้ด้วยไดรฟ์และมอเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถควบคุมได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือมักจะมีความซับซ้อนและราคาสูงค่ะ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบอื่นกันค่ะ

 สารบัญ

  • ตัวกันกระแทกของกระบอกลม (Cushion Cylinders)
  • กระบอกแบบมีแม่เหล็ก (Magnetic Cylinder Pistons)
  • วาล์วควบคุมการไหล( Flow control)
  • วาล์วเร่งระบาย (Quick Exhaust Valves)
  • วาล์วกันตก (Blocking valve)
  • บทสรุป

ตัวกันกระแทกของกระบอกลม (Cushion Cylinders)

ตัวกันกระแทกนี้ช่วยให้กระบอกลมนิวเมติกส์ทำงานช้าลงเมื่อสิ้นสุดจังหวะ มีประโยชน์ในการลดการกระแทกและเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากการ break ระหว่างโลหะกับโลหะอย่างกะทันหัน ซึ่งส่วนใหญ่กระบอกลมนิวเมติกส์จะมีตัวกันกระแทกภายใน และสามารถปรังตั้งค่าได้ด้วย

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปภาพแสดงการทำงานของ Cushion ในกระบอกลม

กระบอกแบบมีแม่เหล็ก (Magnetic Cylinder Pistons)

ก้านลูกสูบกระบอกแม่เหล็กมีความสามารถในการตรวจจับตำแหน่งจังหวะด้วยรีดสวิตช์(Reed switch) โดยภายในลูกสูบจะมีแม่เหล็กเพื่อในการตรวจจับ เพื่อจะได้รู้ตำแหน่งของกระบอกลมนิวเมติกส์ ว่าเลื่อนอยู่ในตำแหน่งใดแล้ว และช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมทางของกระบอกลมได้อย่างต่อเนื่องและแม่นยำ

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบการติดตั้ง Reed Switch

วาล์วควบคุมการไหล (Flow control valve )

วาล์วควบคุมการไหลช่วยให้สามารถปรับความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ได้ โดยสามารถแบ่งได้ 3 แบบ ตามลักษณะของการทำงาน

  • Flow control meter in ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมเข้ากระบอก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Flow control meter out ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมออกจากกระบอก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Direction flow control ลักษณะการทำงานคือ สามารถปรับได้ทั้งเข้าและออก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

   โดยปกติทั้วไปที่ใช้เยอะมากที่สุดที่ใช้คือ Flow control meter out คือ ปรับลมขณะขาออก โดยวิธีการปรับขณะที่กระบอกเลื่อนออกให้ปรับด้านหน้า และหากกระบอกลมถอยกลับให้ปรับด้านหลัง

วาล์วเร่งระบาย (Quick Exhaust Valves)

       หน้าที่หลักของวาล์วเร่งระบาย คือ การเพิ่มความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์  โดยการทำงานคือการเร่งระบายให้ออกจากกระบอกให้เร็วที่สุด

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

วาล์วกันตก (Blocking valve)

       วาล์วกันตก (Blocking valve) มีหน้าที่เป็นวาล์ว Safety โดยการทำงานจะใช้สายลมอีกเส้นมาเพื่อยิงปลดล๊อค ลักษณะการทำงานมี 2 แบบ คือ แบบ One way และ แบบ Directional

รูปการทำงานแบบ One way
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบการทำงานแบบ Directional

บทสรุป

อุปกรณ์เหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น ตัวกันกระแทกของกระบอกลม กระบอกสูบแบบแม่เหล็ก วาล์วควบคุมการไหล วาล์วเร่งระบาย และวาล์วกันตก เป็นตัวช่วยควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางและการไหลของลม และความเร็วในการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่อง การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency