ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นมีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้เพื่อความเหมาะสมของงาน เบื้องต้นบทความนี้ Thai-A ได้ยกเนื้อหาเกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียวที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ความรู้กันว่า เป็นอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว เป็นอย่างไร ?

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว (Single Acting Cylinders) คือ กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

ข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. ลดการใช้อากาศจากภายนอก
  2. มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ
  3. สามารถนำไปใช้งานร่วมกับวาล์วลมแบบ 3/2 ทาง(โซลินอยด์วาล์ว) ได้อย่างสะดวก ไม่ยุ่งยาก
  4. เหมาะกับงานประเภทโหลดไม่หนัก
  5. สามารถทำเป็นระบบ Safety ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ข้อเสียของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. จำกัดความยาวของระยะชักกระบอกลม
  2. ควบคุมความเร็วของกระบอกลมได้ยาก
  3. ใช้แรงดันมากกว่าตัวรุ่นลมเข้า2ทาง
  4. ไม่เหมาะสมกระบอกลมที่ต้องการความเร็งสูง
  5. สปริงมีอายุในการใช้งานที่ต่ำ
  6. ไม่เหมาะกับโหลดหนักๆ หรืองานที่ต้องการใช้แรงดันมากๆ

ดังนั้นกระบอกลมนิวเมติกส์จึงมีส่วนสำคัญในงานระบบอัตโนมัติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีกระบอกลมนิวเมติกส์ มีให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม มีหลากหลายรุ่น หลากหลายรูปแบบ เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็ก กระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน การเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ไปใช้งานจึงควรคำนึงถึงแรงที่กระบอกลมนิวเมติกส์ต้องรองรับน้ำหนัก และลักษณะของการติดตั้งด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างกระบอกลม

ขอขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A, Italy

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

แน่นอนว่าโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องบรรจุ หรือเครื่องจักร ได้มีการนำเอาระบบนิวเมติกส์เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตทั้งสิ้น เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายของระบบนิวเมติกส์ เช่น

(1) ความปลอดภัยที่สูงกว่าระบบอื่น ๆ เพราะระบบนิวเมติกส์ใช้ลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่เกิดการระเบิดหรือการติดไฟ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องอัคคีภัย

(2) เป็นระบบที่มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

(3) อีกทั้งยังมีความแม่นยำและความรวดเร็วในการทำงานสูง และหากใช้กระบอกลมนิวเมติกส์แบบพิเศษ ก็จะสามารถเร่งความเร็วสูงสุดได้ถึง 10 เมตรต่อวินาที เทียบกับกระบอกลมนิวเมติกส์ธรรมดา ที่มีความเร็วในการทำงาน 1-2 เมตรต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม การเอาระบบนิวเมติกส์เข้ามาใช้ก็มีข้อควรระวังที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึง ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

  • แม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะสามารถทำงานได้ในสภาวะอุณหภูมิที่ต่างกัน แต่อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อระดับความดันในระบบ นั่นก็คือเมื่ออุณหภูมิในพื้นที่สูง ความดันในระบบก็จะสูง และเมื่ออุณหภูมิในพื้นที่ลดต่ำลง ความดันในระบบก็จะลดลงตามไปด้วยนั่นเอง ซึ่งการลดต่ำลงของความดัน จะทำให้ระบบเกิดหยดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นในระบบนิวเมติกส์
  • ความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ หากมีการเพิ่มอุปกณ์นิวเมติกส์เข้าไปในระบบ เพื่อทำการขยายพื้นที่ในการผลิต ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างปริมาณลมของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ว่ามีกำลังพอหรือไม่ ไม่อย่างนั้นความแม่นยำในการควบคุมจะลดลง และทำให้การทำงานของระบบคลาดเคลื่อนได้
  • ข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ แม้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะสามารถนำอุปกรณ์นิวเมติกส์มาปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานต่าง ๆ ได้ง่าย แต่อุปกรณ์บางชนิด เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ หากต้องการใช้แรงส่งจากอุปกรณ์มาก กระบอกลมนิวเมติกส์ก็ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งในบางกรณี ไม่สามารถที่จะติดตั้งในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดได้
  • เสียงดังรบกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เนื่องจากจะต้องมีการระบายลมบางส่วนที่เกินความจำเป็นของอุปกรณ์ และระบบออกตลอดเวลา ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน และบริเวณใกล้เคียง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำเอาความรู้จากการค้นพบและพัฒนาวิธีในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม มาใช้ในกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องบรรจุ และเครื่องลำเลียงขนถ่ายวัสดุ โดยอาศัยหลักการง่าย ๆ ของความดันลม เพื่อให้ลูกสูบที่อยู่ในกระบอกสูบ หรือกระบอกนิวเมติกส์เกิดการเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเป็นพลังงานกล แต่การทำงานกับระบบนิวเมติกส์นั้น ก็มีข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

  1. ปิดลมและระบายลมออกจากระบบทุกครั้งก่อนการแก้ไขหรือตรวจเช็กวงจร
  2. ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) และอุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ ให้แน่นและมั่นคง
  3. ตรวจเช็กไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในบริเวณการเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) หรืออุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ
  4. ก่อนจ่ายลมเข้าระบบนิวเมติกส์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ข้อต่อและสายลมแน่นสนิท
  5. หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้า ต้องรายงานและแจ้งผู้ควบคุมดูแลให้ทราบ ก่อนการดำเนินการขั้นตอนไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  6. การแก้ไข ดัดแปลงอุปกรณ์ด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้ควบคุม หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  7. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ สายหรือท่อลมนิวเมติกส์
  8. ไม่ควรไว้ใจว่าอุปกรณ์ทำงานจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ยังทำการจ่ายลมอัดอยู่
  9. ไม่ควรยึดถือว่าความเร็วของอุปกรณ์ว่าจะทำงานคงที่อย่างสม่ำเสมอ
  10.  เป็นไปได้ยาก ที่จะให้มีการเคลื่อนที่แบบเป๊ะ ๆ เหมือนกับโปรแกรมที่วางไว้
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อควรคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ และทางที่ดีพนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงระบบนิวเมติกส์ควรมีความรู้และความเข้าใจกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรคำนึงในการใช้งานระบบนิวเมติกส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ในระบบนิวเมติกส์จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชนิดที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในงานนิวเมติกส์

รูปวงจรการทำงานโดยภาพรวม

1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)

อุปกรณ์ต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการสร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
  • เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
  • เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
  • ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้
 รูปชุด  AIR SERVICE UNIT

2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed Air Treatment Component) 

ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • กรองลม (Air filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างเช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือสารต่าง ๆ ที่ล่องลอยในบริเวณเครื่องอัดอากาศ
  • วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator) ทำหน้าที่ปรับ หรือควบคุมความดันจ่ายที่ออกมาให้มีค่าคงที่
  • อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันหล่อลื่นให้กับลมอัด เพื่อหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน และป้องกันอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่สัมผัสกันโดยตรง

3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component) 

หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่ม และหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมการทำงานของกระบอกลม  หัวขับลม  มอเตอร์ลมให้หมุนซ้ายหรือขวา ควบคุมการเปิดหรือปิดลม โดยสามารถเลือกการคอนโทรล ได้ทั้งแบบ Manual หรือระบบไฟฟ้า (Electric)    

4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)

ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล อย่างเช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (single-acting cylinders), กระบอกสูบสองทิศทาง (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน  

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
รูปวาล์วสำหรับงาน PIPING

5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system)

เป็นท่อทางไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก ซึ่งการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อการใช้งานต่าง ๆ โดยการเลือกการใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน ของเหลวในการลำเลียง ลม น้ำ หรือของเหลวอื่น สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งเลยคือ ความสามารถของวาล์ว โดยมีแรงดันให้เลือกตั้งแต่ 0-5 Bar,  0.1-20 Bar, 0.1-40 Bar, 0.1-50 Bar, 0.1-70 Bar เป็นต้น วาล์วไฟฟ้าสามารถเลือกได้ทั้งแบบคอยล์ทั่วไป หรือแบบคอยล์กันระเบิด (explosion proof)

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More