หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นหนึ่งในสี่ส่วนประกอบหลักของระบบไฮดรอลิค ที่ขับเคลื่อนให้ระบบทำงานได้ แต่ผู้อ่านเคยสงสัยไหมคะว่า กระบอกไฮดรอลิคมีการทำงานอย่างไร และมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในระบบไฮดรอลิค? หากคำถามนี้คาใจคุณผู้อ่านอยู่ล่ะก็ ผู้อ่านมาถูกที่แล้ว เพราะในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึงหลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคให้แจ่มแจ้งกันค่ะ

กระบอกสูบไฮดรอลิค คือ?

กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม เช่น รถคีบอ้อย และรถเกี่ยวข้าว เป็นต้น โดยกระบอกสูบไฮดรอลิคจะเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค และส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิคคือตัวที่สร้างแรงการเคลื่อนที่จากของเหลวที่มีแรงดันนั่นเองค่ะ

จากรูปภาพโครงสร้างกระบอกสูบด้านบน

  • สีเหลืองส้ม แสดงถึงของเหลวไฮดรอลิคในห้อง A
  • สีเหลือง แสดงถึงลูกสูบห้อง B
  • สีน้ำเงิน แสดงถึงก้านกระบอกสูบ
  • ก้นกระบอกสูบอยู่ทางซ้ายมือ และตาก้าน (Rod eye) อยู่ทางขวามือ การเคลื่อนไหว (Movement) จะถูกสร้างขึ้นระหว่าง 2 จุดนี้ โดยของเหลวในระบบไฮดรอลิคจะทำให้ลูกสูบ (Piston) เคลื่อนที่ เมื่อลูกสูบเกิดการเคลื่อนที่ ก้านลูกสูบ (Rod) จึงเคลื่อนที่ตามไปด้วย และเมื่อน้ำมัน (Oil) ถูกขับเคลื่อนไปยังห้องอื่น ลูกสูบจะเคลื่อนกลับไปยังตำแหน่งเดิม และดึงก้านลูกสูบให้กลับมาอยู่ที่เดิมด้วย ทำให้เกิด Courter movement นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการของ Pascal ได้อธิบายไว้ว่า ความดันจะเท่ากับแรงหารด้วยพื้นที่ที่มันกระทำ ความดันที่ใช้กับลูกสูบทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเท่า ๆ กันบนลูกสูบตัวที่สองในระบบไฮดรอลิค หากพื้นที่เพิ่มเป็น 10 เท่าของพื้นที่แรก แรงบนลูกสูบตัวที่สองก็จะมากกว่า 10 เท่า แม้แรงดันจะเท่ากันตลอดทั้งกระบอกสูบก็ตาม เครื่องอัดไฮดรอลิคจะสร้างเอฟเฟกต์นี้ตามหลักการของ Pascal  ซึ่งแรงความหนาแน่นในกระบอกสูบไฮดรอลิคมีสูงมาก สามารถสร้างแรงได้เยอะแม้ว่ากระบอกสูบจะเล็กก็ตาม และมีซีล (Seal) เป็นตัวช่วยกักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้ซึมออกมาข้างนอกกระบอกสูบไฮดรอลิค

ขอบคุณรูปภาพจาก Eaton Corporation

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องหลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคอย่างไรดี

ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคอย่างไรดี ?

ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคของอย่างไรดี ?

อุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกสูบไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ  ซึ่งความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน หากเราเรียนรู้และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้งานไฮดรอลิคย่อมเป็นเรื่องที่ดี ฉะนั้นตามมาดูวิธีป้องกันสิ่งสกปรกก่อนติดตั้งระบบไฮดรอลิคที่ถูกต้องกันค่ะ

1. การเติมน้ำมันไฮดรอลิคเข้าระบบ

 น้ำมันไฮดรอลิคยี่ห้อต่างๆที่มีขายในท้องตลาดนั้น มีความสะอาดพอที่จะนำมาใช้ในระบบไฮดรอลิคได้อยู่แล้ว แต่เหตุที่ทำให้น้ำมันความสกปรกมากขึ้น เกิดจากวิธีการขนถ่าย ถังบรรจุ แม้กระทั่งการจัดเก็บก็ทำให้น้ำมันมีความสกปรกได้ ดังนั้นก่อนที่จะเติมน้ำมันไฮดรอลิคใหม่ ขั้นตอนนี้จะต้องทำการกรองก่อนเทน้ำมันเข้าถังบรรจุ โดยค่าความละเอียดของตัวกรองจะต้องมีความละเอียดเท่ากับหรือมากกว่าความละเอียดของการกรองในระบบ

2. การฟลัชชิ่ง (Flushing) ระบบไฮดรอลิค 

ก่อนการ Start-up ระบบไฮดรอลิคครั้งแรก หรือมีการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค จะต้องทำการฟลัชชิ่งหรือการล้างระบบไฮดรอลิคเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ที่หลุดเข้ามาในระบบให้ออกไปจากระบบก่อน โดยการใช้ปั้มไฮดรอลิคแรงดันสูงยิงน้ำมันผ่านแต่ละจุดเพื่อไล่สิ่งสกปรกภายในท่อ ในขั้นตอนนี้จะมีการกรองสิ่งสกปรกต่างๆ ออกมานั่นเอง

3. ซีลกันฝุ่นของกระบอกสูบไฮดรอลิค 

ตรวจสอบซีลกันฝุ่นของกระบอกสูบไฮดรอลิคอย่างสม่ำเสมอ กรณีที่กระบอกสูบไฮดรอลิคติดตั้งใช้งานในบริเวณที่มีสิ่งสกปรกมากควรใช้ซีลปลอกเพื่อช่วยป้องกันก้านกระบอกไฮดรอลิคสัมผัสกับสิ่งสกปรก

4. กรองอากาศ Air filter

ตรวจสอบและทำความสะอาดการอุดตันของกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งานของระบบ

5. กรองน้ำมันไฮดรอลิค 

กรองน้ำมันไฮดรอลิคควรมีเกจวัดการอุดตันของไส้กรอง และต้องทำการตรวจสอบอยู่เสมอ รวมทั้งทำการเปลี่ยนไส้กรองทันทีเมื่อไส้กรองอุดตัน ความสกปรกในน้ำมันไฮดรอลิคทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ของระบบไฮดรอลิค ดังนั้นตัวกรองน้ำมันไฮดรอลิคที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง จึงมีความสำคัญสำหรับป้องกันระบบไฮดรอลิคจากการสึกหรอที่ไม่จำเป็น

6. ตรวจสอบความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิค 

จำเป็นต้องส่งน้ำมันไปทำการตรวจสอบระดับคุณภาพและสิ่งเจือปนในน้ำมันอยู่เสมอ และวิเคราะห์หาจุดบกพร่องรวมทั้งทำการแก้ไข เมื่อระดับความสกปรกของน้ำมันมีค่าเกินระดับที่ตั้งไว้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิค และสายไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกไฮดรอลิก


เกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ในกระบวนการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง หากทำการละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญไป โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการออกแบบนั้นก็จะสูงไปด้วย ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแง่ของวัสดุที่ใช้ ตามการใช้งานของแต่ละตัว เช่น กระบอกสูบที่ใช้ในเครื่องจักรก่อสร้าง เทียบกับงานป่าไม้ ก็จะมีการออกแบบต่างกัน เป็นต้น ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค มีด้วยกันดังนี้

  1. สภาพการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค (Working conditions)
    สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนการออกแบบกระบอกสูบ คือการพิจารณาสภาพการใช้งาน กล่าวคือ กระบอกสูบตัวนี้จะเอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน และต้องรับน้ำหนักแบบใด เช่น เอาไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือการทำงานใต้น้ำ เป็นต้น สภาพการทำงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงเมื่อต้องออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
  2. ระยะการลาก (Stroking distance requirements)
    การคำนึงถึง ช่วงชักขอกการใช้งาน โดยจะสามารถกำหนดระยะตามความต้องการในการใช้งานได้กับงานที่เราต้องการ แต่ถ้าใช้ช่วงชักที่ยาว เกินไปก็อาจมาผลเสียได้ เพราะอาจต้องคิดค่า Bucking ให้เหมาะต่อการใช้งานที่ถูกต้อง และ การ Design จุดติดตั้ง ก็ต้องเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ (Temperature)
    เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่กระบอกสูบจะถูกนำไปใช้งานด้วย เพราะการออกแบบกระบอกสูบที่จะใช้ในอุณหภูมิสูง เช่น สภาพทะเลทราย กับการใช้งานในสภาพอากาศหนาวเย็น -30 องศานั้น จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบที่ต่างกัน เพื่อให้กระบอกสูบสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในอุณหภูมิที่ต้องการ
  3. ความเร็ว (Speed)
    เมื่อผู้ออกแบบเลือกชิ้นส่วนกระบอกสูบที่เหมาะสมเขาจำเป็นต้องพิจารณาความเร็วในการเลื่อนของระบบ คำจำกัดความของ “ความเร็วที่มากเกินไป” อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวิศวกรออกแบบ โดยทั่วไปแล้วซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบมาตรฐานสามารถรองรับความเร็วสูงสุด 0.5 เมตรต่อวินาทีได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า ยิ่งความเร็วในของของไหลเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคทั้งหมดก็สูงขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการลดอุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคด้วยนะคะ
  4. รูปแบบการติดตั้ง (Mounting styles)
    การติดตั้งทุกประเภทมาพร้อมกับประโยชน์และข้อจำกัด โดยรูปแบบการติดตั้งมีสามประเภทด้วยกัน คือ
    • รูปแบบคงที่ (Fixed style)
    • แบบเดือย (Pivot style) โดย 2 รูปแบบนี้สามารถดูดซับแรงบนเส้นกึ่งกลางของกระบอกสูบได้ เหมาะสำหรับการใช้งานขนาดกลางและงานหนักเพื่อรองรับแรงขับหรือแรงดึง
    • รูปแบบที่สาม สามารถรองรับกระบอกสูบทั้งหมดได้โดยพื้นผิวยึดด้านล่างเส้นกึ่งกลางกระบอกสูบแทนที่จะดูดซับแรงตามแนวกึ่งกลางเพียงอย่างเดียว
  5. ขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore size)
    ขนาดของกระบอกสูบจะสัมพันธ์กับแรงดันในการใช้งาน เพราะจำนวนแรงผลักและแรงดึงที่ต้องการ เป็นตัวแปรที่กำหนดขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ต้องการนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ส่วนประกอบของ กระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค hydraulic cylinder

กระบอกสูบไฮดรอลิค หรือ hydraulic cylinder เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจากของเหลว เป็นพลังงานกลเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ โดยมีของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนพลังงานและทำให้เครื่องจักรเกิดการเคลื่อนที่นั่นเองค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค เรามาทำความรู้จักกับประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิคกันก่อนดีกว่าค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิค

1.กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว Single Acting Hydraulic Cylinders

กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว (SAC) เป็นกระบอกที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากการที่จังหวะการทำงานจะถูกสร้างขึ้นในทิศทางเดียวเท่านั้น ในขณะที่จังหวะไหลกลับจะใช้สปริงหรือแรงโน้มถ่วงเป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับอย่างช้า ๆ กระบอกสูบไฮดรอลิคประเภทนี้เหมาะกับงานที่ใช้โหลดไม่มากนั้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ในขณะที่ไม่มีไฟฟ้าอีกด้วย

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

2. กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง Double Acting Hydraulic Cylinders

กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง (DAC) เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิคทั้ง 2 ทิศทางในการเคลื่อนที่ โดยทำสลับกัน ซึ่งกระบอกสูบประเภทนี้จะเหมาะกับการทำงานที่ต้องการเคลื่อนที่ในแนวตรง ระยะชักที่ยาว อีกทั้งยังสามารถควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ได้ดีกว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว (SAC) เพราะกระบอกสูบแบบ 2 ทางจะมีแรงดันที่คงที่กว่า

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

3. Telescopic Cylinders

Telescopic Cylinders คือกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ถูกออกแบบมาให้มีกระบอกสูบหลาย ๆ ชั้น ซ้อนกันอยู่ภายในจากตัวใหญ่ไล่ลงไปตัวเล็กเรื่อย ๆ ทำให้ความยาวของกระบอกสูบสามารถยืดหดได้ตามความต้องการ โดยสามารถทำงานเป็นแบบ Single หรือ Double ก็ได้ ซึ่งกระบอกสูบไฮดรอลิคตัวนี้จะเหมาะกับการใช้งานที่มีพื้นที่จำกัด

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค มีดังนี้

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค
  • กระบอกสูบส่วนฐานและกระบอกสูบส่วนหัวซึ่งเป็นส่วนหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก
  • ลูกสูบ ซึ่งเป็นตัวที่น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่าน
  • แกนซึ่งติดตั้งอยู่ที่ด้านหนึ่งของลูกสูบและเชื่อมกับส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ทำงานเชิงกล
  • ซีล (O-ring, Snap ring, Wiper seal, Piston seal) มีหน้าที่หยุดของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ก้านกระบอกลูกสูบ หรือ piston rod เป็นแกนลูกสูบที่มีความยาวของการกลึงที่แม่นยำของแท่งเหล็กสำเร็จรูป ที่ถูกชุบด้วยโครเมี่ยมแบบเย็น ถือเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อกระบอกสูบไฮดรอลิคและกระบอกลมนิวเมติกส์ทุกกระบอก เพราะโดยปกติแล้วก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นตัวส่งแรงที่สร้างขึ้นโดยลูกสูบ ไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องจักรที่ทำงาน และแม้ว่าก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นส่วนที่สำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่งานมักจะละเลยต่อความเสียหายเล็กน้อย และใช้ก้านลูกสูบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีปัญหาที่ร้ายแรงเกินขึ้น และทำให้กระบอกสูบไฮดรอลิคเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นผู้อ่านอย่าละเลย และหมั่นตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ก้านลมสูบเกิดความเสียหายนะคะ

สาเหตุที่ทำให้กระบอกไฮดรอลิคเกิดความเสียหาย

ศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของกระบอกสูบไฮดรอลิค คือ ความเสียหายของซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคค่ะ ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้ซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคมีการทำงานล้มเหลว นั่นก็คือสนิม การกระแทก และการกัดกร่อนอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อไปนี้ หากกระบอกสูบไฮดรอลิคของตนไม่มีประสิทธิภาพ

  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่ต้องหยุดเครื่องจักร เพื่อซ่อมบำรุง (Maintenance Breakdown)
  • สูญเสียรายได้ จากการทำงานของเครื่องจักรในช่วงเวลานั้นไป
  • ใช้เวลาในการซ่อมบำรุงนาน (Maintenance)

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค


แต่ผู้ผลิต Thai-A ให้ความสำคัญและได้หาหนทางในการแก้ไขปัญหาสนิม และการกัดกร่อนอื่น ๆ ในกระบอกสูบไฮดรอลิค มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงทางเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับการกัดกร่อนจนสำเร็จ ทำให้กระบอกไฮดรอลิคของ Thai-A มีประสิทธิภาพ ทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนานอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบ ไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำเช่น  กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)  มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic  Motor)  ในอุตสาหกรรมนิยมใช้น้ำมันไฮดรอลิค (Hydraulic  Oil)  เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้ จึงทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพมาก


ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  • ระบบมีความเสถียรไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  • ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  • อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  • การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิ และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิค มีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิคจะมีของเหลวคือน้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลาง ความดันของระบบไฮดรอลิคเกิดได้จากการกระแทกของกระบอกสูบไฮดรอลิคหรือวาล์วซึ่งจะต้านทานการไหลที่เกิดจากปั๊มไฮดรอลิค การทำงานของระบบไฮดรอลิค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น กระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1.   กระบอกทำงานด้านเดียว Single Acting Cylinder

      กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้มีรูทางเข้าและทางออกของน้ำมันไฮดรอลิคเพียงรูเดียวเท่านั้น แรงที่เกิดจากการกระทำของแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคนั้นเกิดในทิศทางเดียว และการกลับสู่ตำแหน่งเดิมของลูกสูบจะใช้แรงดันของสปริงหรือแรงโน้มถ่วงเป็นตัวดันกลับอย่างช้าๆ เหมาะกับการใช้งานที่ไม่โหลดมากนัก

2กระบอกทำงาน 2 ทาง Double Acting Cylinder

      กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้จะมีรูเข้าออกของน้ำมันไฮดรอลิคสองทางหรือทั้งสองด้านของลูกสูบ ทิศทางการเคลื่อนที่ไปมาของลูกสูบไฮดรอลิคในกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นเป็นผลมาจากแรงดันของน้ำมันทั้งสองทาง  ส่วนประกอบหลักๆ ของกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นจะประกอบด้วย ลูกสูบ, กระบอกสูบ, ก้านสูบ, Oil Seal, และตัวกันฝุ่น (Dust Seal)  กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด ทำงานได้หลายรูปแบบ ออกแบบได้ทั้งแรงดัน แรงดึง มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 รูปแบบโครงสร้างคือ

  • 2.1 กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบ Round type
  • 2.2 กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบ Square type

3.  กระบอกหลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่สามารถยืดออกได้มากกว่าขนาดของเสื้อกระบอกหลายเท่า นิยมใช้ในงานที่มีระยะติดตั้งไม่มาก แต่ต้องการ Stroke การใช้งานที่ยาว

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค


ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่ใช้งานกันในเครื่องจักรกลมานาน ในระบบไฮดรอลิคที่เราเห็นกันส่วนมากนั้นสิ่งที่เราจะนำไปใช้คือ แรง (Force, F) ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) ไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ แรงที่ได้จากกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการออกแบบของกระบอกสูบนั้นๆ ในระบบที่มีแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคเท่าๆ กัน ถ้ากระบอกสูบไฮดรอลิคลูกไหนมีพื้นที่หน้าตัดมากกว่าก็จะมีแรงมากกว่า

สำหรับใครที่กำลังมองหาโรงงานผลิตสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไฮดรอลิคครบวงจร รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง ตามขนาด มุ่งผลิตอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ระบบไฮดรอลิค เหมาะกับงานประเภทไหน

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน ?

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน ?

ไฮดรอลิค เป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณสมบัติทางกลของของไหล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายกำลังในเชิงกลด้วยของไหลที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค การส่งกำลังในระบบไฮดรอลิคส่วนใหญ่นั้นอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear)
  • มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวรัศมี (Radius)

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่ใช้งานกันอยู่อย่างกว้างขวาง และสิ่งที่ต้องการนำไปใช้ ก็คือ งาน หรือแรง ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิคไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ ดังนั้นหากท่านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิคก็ทำให้สามารถเข้าใจการทำงานของระบบไฮดรอลิคได้ และใช้งานจากระบบไฮดรอลิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่มีการใช้ระบบไฮดรอลิคอยู่อย่างแพร่หลาย ได้แก่

1.อุตสาหกรรมเหล็ก และอลูมิเนียม

2.อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

3.อุตสาหกรรมน้ำตาล

4.อุตสาหกรรมการเกษตร

5.อุตสาหกรรมยานยนต์

6.อุตสาหกรรมยาง

7.อุตสาหกรรมพลังงาน

8.อุตสาหกรรมพลาสติก

9.อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

10.อุตสาหกรรมสิ่งทอ

11.อุตสาหกรรมประมง

12. และอื่น ๆ


ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน?

ด้วยการใช้งานที่ง่ายและหลากหลาย ระบบไฮดรอลิคจึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งการใช้งานทั่วไปที่ใกล้ตัว เช่น แม่แรงยกของ ระบบลิฟต์ในอาคาร อุปกรณ์ก่อสร้าง ยานพาหนะ  อุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานขึ้นรูปพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ให้ความแม่นยำสูงและเหมาะกับงานที่ใช้รับ Load มากกว่า 2,000 Kg ขึ้นไป เครื่องอัดขึ้นรูป (Press) เครื่องปั๊มขึ้นรูป (Plung) เครี่องอัด (Bending) เครื่องตัด (Cutting) เครื่องมือลำเลียง ขนถ่าย เครื่องบรรจุ เครื่องมือขุดเจาะ อุปกรณ์การยกเคลื่อนย้าย เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาโรงงานผลิตสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไฮดรอลิคครบวงจร รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง ตามขนาด มุ่งผลิตอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More