ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิคการทำงานหลัก ๆ ของไฮดรอลิคนั้นคือส่วนที่เรียกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รับแรงหน่วงได้ดี แต่เมื่อเราใช้งานกระบอกสูบไฮดรอลิคไปสักระยะแล้วเกิดการทำงานไม่ได้ และมีเสียงดังขณะใช้งาน หรือหนักไปกว่านั้นคือ กระบอกสูบไฮดรอลิครั่ว ปัญหานี้เกิดได้ทั่วไปในการใช้งานของไฮดรอลิค แต่วันนี้เรามีแนวทางแก้ไขค่ะ

1.ซีลคอกระบอกรั่วซึม

1.1 ปัญหา Alignment การติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน

ทำให้ซีลคอถูกแกนกระบอกเบียดหรืองัดจนกระทั่งสึกหรอหรือซีลคอปลิ้นออกจากร่องซีลเป็นรอย

การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค
ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

1.2  ปัญหาแกนกระบอกเป็นรอยจากฝุ่น

       การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกสูบไฮดรอลิคใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอก

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

2.กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

2.1  ปัญหาซีลลูกสูบภายในกระบอกสูบไฮดรอลิคเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข

เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกใหม่

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

2.2  ปัญหา Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกระบอกสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข

ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

3.กระบอกสูบไฮดรอลิคมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

3.1 ปัญหาเลือกขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิคเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

              การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไขใหม่

3.2  ปัญหาความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

               การแก้ไข

ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ ตัวแทนจำหน่ายกระบอกรถขยะ

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ และผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถตัดอ้อย และเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างและยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถคีบอ้อย รวมถึงอะไหล่รถขยะอีกด้วย  

โดยปัญหาที่หลายท่านต้องพบเจอเกี่ยวกับอาการเสียของรถขยะคือ การใช้งานรถขยะเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการรั่วซึม ของน้ำมัน ซึ่งต้องแก้แก้ไขปัญหาได้โดยการรื้อ ซ่อม หรือเปลี่ยนตัวซีลนั้นเองค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม การรื้อซ่อมทั้งกระบอกเพื่อเปลี่ยนซีลสำหรับรถขยะนั้นจะมีราคาสูง ผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงนิยมหันมาเปลี่ยนตัวกระบอกไฮดรอลิครถขยะทั้งตัวแทน ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการลดค่าซ่อมบำรุงที่ต้องเปลี่ยนซีลไปได้ในระดับหนึ่ง

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะและเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกระบอกไฮดรอลิคและเป็นตัวแทนจำหน่ายกระบอกรถขยะที่แต่ละชนิดมีความพิเศษแตกต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่ง Thai-A เราจำหน่ายอะไหล่รถขยะเป็นกระบอกรถอัดขยะที่มีขนาด 8-12 ลูกบาศก์เมตร ไม่ว่าจะเป็น

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกใบกวาด (Blade Cylinder)

เป็นกระบอกที่ใช้สำหรับเทขยะลงไปในบุ้งกี๋รถขยะ และใบกวาดทำหน้าที่กวาดขยะเข้าไปสู่ตู้ขยะ เพื่อให้ขยะมีการอัดแน่นขึ้นตลอด จนแน่นที่สุดเพื่อให้สามารถบรรทุกปริมาณขยะได้เพิ่มขึ้น เช่น ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ ก็สามารถทำให้แบนได้ ในส่วนของขยะที่มีความชื้น ก็จะทำการอัดน้ำออกหมดจนแห้ง

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกใบกวาด 80x50x490 mm.st

  • Blade Cylinder
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 490mm

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกสไลด์ (Slide Cylinder)

เป็นกระบอกที่ใช้เลื่อนขยะเข้าไปเพื่ออัดขยะให้แน่นมากขึ้น

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกสไลด์ 80x50x730 mm.st

  • Slide Cylinder
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 730mm

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกยกท้าย (Tailgate Cylinder)

เป็นกระบอกสำหรับดันขยะไปทิ้ง เมื่อตู้ที่บรรจุขยะในรถขยะเต็ม ในเวลาที่เปิด Tailgate แล้วขยะหล่นลงมาไม่หมด กระบอกยกท้ายจะมีหน้าที่ดันขยะออกไปจนหมด

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกยกท้าย 80x50x780 mm.st

  • Tailgate Cylinder,
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 780mm

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกเทเล (Telescopic Cylinder)

เป็นกระบอกสำหรับอัดขยะให้มีความหนาแน่น เพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บขยะ และลดปริมาณการขนส่ง เพราะหากไม่มีการอัดขยะอาจจะต้องใช้รถบรรทุกขยะถึง 5 คันในการเก็บในขยะปริมาณที่เท่ากัน

กระบอกเทเล (Telescopic Cylinder) จะทำหน้าที่คอยดันขยะต้านกับกระบอกใบกวาดเพื่อให้ขยะแน่น ตัวดันนี้จะค่อย ๆ ถอยจนขยะเต็มตู้ เมื่อเต็มแล้วและนำไปสู่สถานที่ ๆ ต้องการเทขยะทิ้ง กระบอกเทเลนี้จะทำหน้าที่เปิดประตู Tailgate เพื่อที่จะดันขยะออกจากตู้ขยะทั้งหมด

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ

อะไหล่รถขยะ ชุดกระบอกเทเล 130x120x90x65x2184 mm.st

  • Telescopic Cylinder,
  • bore size 130mm,
  • 3 stages,
  • stroke 2184 mm

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้ขยายสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักกลการเกษตร อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถขยะ ปั้มไฮดรอลิค ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพ การลดต้นทุน สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับอะไหล่รถขยะ สามารถสอบถามได้ที่

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4) ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เราจะมาเจาะลึกพูดถึงวาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน (Hydraulic Pressure Control Valve) แบ่งออกเป็นกี่ประเภทและทำหน้าที่อย่างไรบ้าง เพื่อทำความเข้าใจในระบบวาล์วไฮดรอลิคแบบควบคุมความดันอย่างแม่นยำมากขึ้น

ประเภทของวาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน (Hydraulic Pressure Control Valve) แบ่งตามหน้าที่การใช้งานได้ 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1.  วาล์วจำกัดความดัน/รีลีฟวาล์ว (Hydraulic Pressure Relief Valve)

ทำหน้าที่ควบคุม จำกัดความดันของน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้เกินค่าที่ตั้งไว้ โดยต้องอยู่ในค่าของสปริงที่กำหนดตามความเหมาะสมกับการใช้งาน วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ต้องมีติดตั้งไว้หน้าปั๊มไฮดรอลิคเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวปั๊มไฮดรอลิคใช้งานเกินกำลัง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสึกหรอภายในของปั๊มไฮดรอลิค หรืออุปกรณ์ไฮดรอลิค ส่วนอื่น ๆ วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ยังแบ่งย่อยประเภท ตามลักษณะการทำงาน คือ

  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบทำงานโดยตรงผ่านสปริง (direct acting type) ทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งโดยตรงเมื่อรับความดันเกินค่าที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวรีโมทตั้งค่าความดัน ให้กับวาล์วแบบไพล็อตอีกด้วย
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)
  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบไพล็อต (pilot operated, balance piston type) ทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งแต่ทำงานแบบนิ่มนวลกว่าและได้ค่าที่คงที่กว่า
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)
  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Relief Valve)
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)

ทำหน้าที่ตั้งค่าและปรับค่าความดันของน้ำมันไฮดรอลิคได้แบบหลายค่า อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับค่าความดันของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่าในวงจรไฮดรอลิคเดียวกันตามลักษณะของงาน

2.วาล์วลดความดัน (Hydraulic Reducing Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)

ทำหน้าที่ลดความดันลงจากความดันหลักที่ใช้ในระบบไฮดรอลิค เช่น การยึดให้ชิ้นงานคงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนออก มักใช้ในงานที่วงจรไฮดรอลิคต้องการค่าความดันหลายค่าในระบบ

3.  วาล์วตัดภาระโหลด (Hydraulic Unloading Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 4)

ทำหน้าที่ตัดภาระโหลดของปั๊มไฮดรอลิคในวงจรไฮดรอลิคที่มีปั๊มไฮดรอลิคหลายตัวทำงานร่วมกัน มักพบในงานที่ต้องการอัตราการไหลสูง โดยใช้ปั๊มไฮดรอลิคร่วมกันหลายตัว

4. วาล์วหยุดการเคลื่อนที่ (Hydraulic Counter Balance Valve)

      ทำหน้าที่หยุดหรือเบรคภาระโหลดที่กำลังเคลื่อนที่ของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค

5.  วาล์วควบคุมลำดับการทำงาน (Hydraulic Sequence Valve)

ทำหน้าที่ควบคุมให้การทำงานของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิคทำงานแบบต่อเนื่องเป็นลำดับ มักใช้ในงานโลหะขึ้นรูป

บทความที่เกี่ยวข้อง

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกด้านในระบบไฮดรอลิค อย่าง กระบอกไฮดรอลิค กระบอกสูบไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิ หรืออื่น ๆ เราได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี

ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก… วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 3)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 3)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 3)

ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เราจะมาเจาะลึกพูดถึงวาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล (Hydraulic Flow Control Valve) แบ่งออกเป็นกี่ประเภทและทำหน้าที่อย่างไรบ้าง เพื่อทำความเข้าใจในระบบวาล์วไฮดรอลิคแบบควบคุมอัตราการไหลอย่างแม่นยำมากขึ้น

โดยประเภทของวาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล (Hydraulic Flow Control Valve) แบ่งตามหน้าที่การใช้งานได้ 4 ประเภทหลัก ดังนี้


1.  วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบปิด-เปิด (Hydraulic Shut-off Valve)

ทำหน้าที่ควบคุมการไหล โดยปิด-เปิดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคทั้งขาไปและขากลับในอัตราที่เท่ากัน เช่น การปิด-เปิด หรือการแบ่งน้ำมันไปใช้ในระบบไฮดรอลิคที่ไม่เน้นค่าความละเอียดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคมากนัก

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง


2.  วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบแบบหรี่น้ำมัน (Hydraulic Flow Control Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง


ทำหน้าที่ปรับหรี่อัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคขาไป หรือขากลับ ข้างเดียว และอีกข้างนึงปล่อยอิสระ ส่วนมากใช้ในงานปรับความเร็วการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค หรือมอเตอร์ไฮดรอลิค ที่มีอัตราโหลด (Load Pressure) ไม่แตกต่างกันมากนัก และไม่เน้นความละเอียดแม่นยำสูง มีลักษณะการติดตั้ง 2 แบบ คือ

      2.1 แบบ Meter-in Circuit  ใช้ปรับหรี่น้ำมันไฮดรอลิคขาไป

      2.2 แบบ Meter-out Circuit ใช้ปรับหรี่น้ำมันไฮดรอลิคขากลับ

3.  วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบชดเชยความดัน(Hydraulic Flow Control Valve: Compensated Type)

ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้ค่อนข้างคงที่ แม้ในขณะที่ความดันและอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น งานเครื่องฉีดพลาสติก งาน Machine Tools มีลักษณะการติดตั้ง 2 แบบ คือ

      3.1 แบบ Meter-in Circuit ใช้ปรับหรี่น้ำมันไฮดรอลิคขาไป

      3.2 แบบ Meter-out Circuit ใช้ปรับหรี่น้ำมันไฮดรอลิคขากลับ

4. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง


ทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคด้วยระบบไฟฟ้า สามารถปรับค่าอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคได้รวดเร็ว หลายค่า โดยใช้ไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับอัตราการไหลของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่า


บทความที่เกี่ยวข้อง

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี พร้อมให้บริการหลังการขายยอดเยี่ยม


ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เราจะมาเจาะลึกพูดถึงวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง (Hydraulic Directional Control Valve)แบ่งออกเป็นกี่ประเภทและทำหน้าที่อย่างไรบ้าง โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทของวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง แบ่งตามหน้าที่การใช้งาน

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกันกลับ (Hydraulic Check Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)
  1. แบบวิ่งทิศทางเดียว (Oneway check valve)

       ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว เช่น การติดวาล์วหน้าปั๊มไฮดรอลิค กันน้ำมันไหลย้อนกลับ ในกรณีต้องใช้ร่วมกันหลายปั๊มไฮดรอลิค

1.2 แบบวิ่งกลับได้ (Pilot operated check valve)

ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว แต่ยินยอมให้น้ำมันไหลย้อนกลับได้โดยใช้สัญญาณ pilot pressure เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้ที่รูน้ำมันท้ายกระบอกไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยก (Hydraulic Manual Control Valve) ที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports), แบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) และแบบห้ารูน้ำมัน (five-ports)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานโมบาย (mobile equipment) งานเรือ (marine equipment)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

ที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports) และแบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) หรือที่มักเรียกว่า Port P,T,A,B มีไฟฟ้าควบคุม 220 V-AC, 12 V-DC และ 24 V-DC ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวสั่งงาน เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าพลาสติก เครื่อง Die Casting เครื่องฉีดอลูมิเนียม และงานโมบาย (mobile equipment) เช่น รถตัดอ้อย รถยกสินค้า รถขนส่งสินค้าในสนามบิน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี และบริการหลังการขายยอดเยี่ยม

ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

หากพูดถึงอุปกรณ์ไฮดรอลิคคงหนีไม่พ้นวาล์วไฮดรอลิคที่เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต้องมี แต่วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง Thai-A จะพามาทำความเข้าใจมากขึ้นของระบบไฮดรอลิคในหมวดวาล์วไฮดรอลิคกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Directional Control Valve วาล์วควบคุมทิศทาง

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางที่ต้องการ เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามการควบคุม

  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางด้วยไฟฟ้าแบบตรงหรือ โซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Pilot operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์ว ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงก้านวาล์วให้เคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนทิศทางของน้ำมัน โดยการเลือกขนาดของวาล์วควบคุมทิศทางจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของปั๊มเป็นหลัก โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์วชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับระบบที่มีแรงดันและอัตราการไหลที่สูง

  • วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้การโยกมือโยกเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของก้านวาล์วเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกจะมีทั้งแบบล๊อคตำแหน่ง (Ball locking) และ แบบดันกลับด้วยสปริง (Spring return) โดยวาล์วลักษณะนี้มักจะพบในระบบที่เคลื่อนที่ เช่น ในรถเพื่อการเกษตร (Mobile Equipment) หรือเรือ เนื่องจากมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และสะดวกในการควบคุมการทำงาน

  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไก (CAM-Operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไกที่ใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้กลไกภายในเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำมัน โดยจะมีทั้งแบบปกติเปิด (NO) และ ปกติปิด (NC)

วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม และปรับความดันในวงจรต่าง ๆ ให้มีกำลังอัดเพิ่มขึ้น หรือลดลง ได้ตามต้องการ

  • วาล์วระบาย แบบสัญญาณควบคุม ( Remote Control Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบควบคุมโดยตรง ( Direct Type Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต ( Pilot Operated Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Pilot Operated Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย ( Solenoid Controlled Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Solenoid Controlled Relief Valves )
  • วาล์วควบคุมแรงดัน รุ่น H/ HC ( H/ HC Type Pressure Control Valves )
  • วาล์วลดแรงดัน / วาล์วลดแรงดันและกันกลับ  ( Pressure Reducing Valves / Pressure Reducing and Check Valves )
  • วาล์ลดแรงดันและวาล์วระบาย  ( Pressure Reducing Valves and Relief Valves )
  • วาล์วระบายสำหรับสภาวะไม่มีโหลด ( Unloading Relief Valves )
  • วาล์วสำหรับเบรกมอเตอร์ไฮดรอลิค ( Brake Valves )
  • สวิทช์แรงดัน ( Pressure Switch )

วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล จะใช้ควบคุมความเร็วของลูกสูบโดยการปรับเปลี่ยนขนาดของช่องทางของวาล์วที่ให้น้ำมันไหลผ่าน เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้มีแรงดันที่เหมาะสมกับระบบ

  • วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียว (One way flow control valve)

วาลว์ไฮดรอลิคชนิดนี้สามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันได้เพียงทิศทางเดียว ดังนั้นจึงเป็นวาล์ว
ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหรือออกได้อย่างอิสระ

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องของวาล์วไฮดรอลิค หรือเรื่องอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น นิวเมติกส์ แผงโซล่าเซลล์ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี และติดตาม เจาะลึก!..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ตอนที่2 ได้ในเร็ว ๆ นี้

ติดต่อสั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานคุณที่ควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้ วาล์วไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของน้ำมัน เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์ไฮดรอลิคสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทางทำหน้าที่เลือกทิศทางการไหลของน้ำมันให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ โครงสร้างของวาล์วควบคุมทิศทางโดยวาล์วควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะตามการควบคุม วาล์วควบคุมทิศทางชนิดใช้ไฟฟ้าควบคุม(Solenoid control valves) , วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค

ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)

  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)

อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail :  webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร? เป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณสมบัติทางกลของของไหล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายกำลังในเชิงกลด้วยของไหลที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค การส่งกำลังในระบบไฮดรอลิคส่วนใหญ่นั้นอุปกรณ์ทำงาน(Actuator) จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ในระบบไฮดรอลิคที่เราเห็นกันส่วนมากนั้นสิ่งที่เราจะนำไปใช้คือ แรง (Force, F) ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) ไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ เช่น การหมุนจากมอเตอร์ไฮดรอลิคไปหมุนขับให้เกิดการหมุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องจักร

ข้อดีของระบบไฮดรอลิค

เครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ไฮดรอลิคเป็นส่วนประกอบนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้เป็นเพราะข้อดีของอุปกรณ์ไฮดรอลิคบางตัวที่มีดังต่อไปนี้คือ

  1. อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
    มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและกลไก อีกทั้งไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถออกแบบให้ตัวเครื่องมีแรงมากได้เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเครื่องจักร ซึ่งสามารถออกแบบให้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคสูงขึ้น ในกรณีที่ต้องการใช้แรงมากขึ้น
  2. มีความง่ายต่อการควบคุม
    เพราะว่าระบบการควบคุมในทางกลไกนั้นจะต้องมีจุดหมุน จุดต่อต่างๆ มาก อาจต้องใช้ข้อต่อและโซ่มากมาย ทำให้ยากต่อการสร้างแก้ไขและดัดแปลง แต่สำหรับระบบไฮดรอลิคแล้ว ต้องการแค่แหล่งกำเนิดแรงดัน , วาล์วเปลี่ยนทิศทาง , อุปกรณ์ทำงาน , และท่อหรือสาย ซึ่งทำให้การควบคุมระยะไกลทำได้ง่าย
  3. ง่ายต่อการควบคุมโหลด
    ถ้าหากเราติดตั้งวาล์วปลดแรงดัน (Relief Valve) ลงไปในวงจรก็จะสามารถช่วยป้องกันแรงดันที่สูงผิดปกติในวงจรได้และยังทำให้การควบคุมแรงดันเป็นไปได้อย่างดี ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่เกิดจากแรงดันสูงและควบคุมแรงดันให้คงที่ อันจะเป็นผลให้แรงที่ได้จากอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) มีความคงที่
  4. ง่ายต่อการเพิ่มอุปกรณ์ทำงาน
    สามารถที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมอุปกรณ์ทำงานได้ง่าย เพียงแค่เพิ่มจุดต่อพ่วงแล้วก็ใส่อุปกรณ์ทำงาน พ่วงไปก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมดของวงจรให้ยุ่งยาก

หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค

  1. แรงดันในระบบปิดจะมีค่าเท่ากันทุกทิศทาง แรงดันที่เกิดขึ้นกับของไหล ที่ส่งผ่านไปกระทำยังผนังของภาชนะปิด จะมีค่าเท่ากันทุกทิศทุกทางไม่ว่ารูปทรงของภาชนะนั้นจะมีรูปง่าย ๆ หรือสลับซับซ้อนแค่ไหน (ดังรูป)
Hydraulic คืออะไร? ทำความรู้จักกับไฮดรอลิคไปพร้อมกับ Thai-A

จากรูป แรงที่เกิดขึ้นในระบบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่กระบอกสูบ

ดังนั้น ในระบบไฮดรอลิค การที่เราต้องการแรงจากกระบอกไฮดรอลิคมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถทำได้โดยการออกแบบกระบอกสูบให้มีพื้นที่หน้าตัดมากน้อยตามต้องการหรือใช้ปั้มที่มีแรงดันสูง

  1. อัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค (Flow Rate of Hydraulic System)
    อัตราการไหล (Flow Rate, Q) คืออัตราการเคลื่อนที่ของน้ำมันไฮดรอลิคในอัตราส่วนปริมาตรหรือน้ำหนักต่อหน่วยเวลา โดยทั่วไปจะวัดเป็นปริมาตรของการไหลต่อหน่วยเวลาเป็นนาทีหรือวินาที แต่ที่นิยมใช้คือ ลิตร/นาที ถ้ากระบอกสูบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน กระบอกสูบที่มีอัตราการไหลมากกว่าจะเคลื่อนที่เร็วกว่า

เปรียบเทียบระบบไฮดรอลิคกับร่างกายของคน

ในร่างกายมนุษย์เรามีหัวใจเปรียบเสมือนปั้มตัวใหญ่ เรามีปอดที่เปรียบเป็นตัวฟอกเลือดเสมือนตัวกรองเลือดจากเลือดดำเป็นเลือดแดงที่สะอาด เรามีแขนมีขาที่สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ และทำงานต่างๆ เรามีสมองที่คอยคิดและสั่งการว่าจะให้แขนขาเคลื่อนที่ไปทางไหนอย่างไร เสมือนกับระบบของไฮดรอลิคดังรูป

Hydraulic คืออะไร? ทำความรู้จักกับไฮดรอลิคไปพร้อมกับ Thai-A

อุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค

อุปกรณ์ไฮดรอลิคหรือส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค คือส่วนที่นำมาประกอบกันเป็นระบบไฮดรอลิคซึ่งที่สำคัญๆ ก็มีดังต่อไปนี้

  1. ปั้มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
    ปั้มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากการหมุน ซึ่งขับโดยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวส่งน้ำมันไฮดรอลิคเข้าสู่วงจรไฮดรอลิค เมื่อใดก็ตามที่เครื่องยนต์หรือมอเตอร์หมุนปั้มก็จะทำงานไปด้วย
  2. กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)
    กระบอกไฮดรอลิคนั้นเราสามารถที่จะแบ่งได้เป็นสองประเภทตามทิศทางของแรงที่กระทำบนลูกสูบ คือ Single Acting Cylinder และ Double Acting Cylinder
  3. มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor)
    มอเตอร์ไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ทำงานที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคไปเป็นการหมุน ส่วนโครงสร้างภายในจะเหมือนกันกับปั้มไฮดรอลิค แต่การทำงานจะกลับด้านหรือตรงกันข้ามมอเตอร์ไฮดรอลิคคือจะเปลี่ยนแรงดันเป็นพลังงานกล แต่ปั้มไฮดรอลิคเปลี่ยนพลังงานกลเป็นแรงดัน
  4. ถังน้ำมันไฮดรอลิค
    คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  2. ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  3. ระบบมีความคงตัวไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  4. ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  5. อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  2. การทำงานของระบบไฮดรอลิคจะทำงานช้ากว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  3. ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  4. การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  5. เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

ระบบไฮดรอลิก

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail :  webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More