4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์ แม้ว่ากระบอกลมนิวเมติกส์จะมีลักษณะรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะอยู่ใน 4 หมวดหมู่หลัก ๆ ที่แอดมินจะบอกในบทความนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อกระบอกสูบนิวเมติกส์ตอบสนองการทำงานเฉพาะทางค่ะ แต่ในบทความนี้แอดมินจะขอพูดถึง 4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบนิวเมติกส์

  1. กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Singleacting Cylinders

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบชั้นเดียว เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

2. กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบสองทาง หรือ Double-acting Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงของอากาศในการเคลื่อนที่ 2 ทาง ทั้งในการยืดและการหด stroke  ซึ่งข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง คือความยาวระยะชักในการออกแบบนี้จะมีไม่จำกัดค่ะ เพียงแต่แกนลูกสูบ หรือ piston rod จะมีความเสี่ยงในการโก่งและงอมากกว่ากระบอกสูบประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรทำการคำนวณเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
  1. Multi-stage, Telescopic Cylinder
    กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบเหลื่อม หรือที่เรียกกันว่ากระบอกสูบแบบยืดสไลด์ สามารถเป็นได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบสองชั้น ซึ่งประกอบด้วยแกนลูกสูบที่ซ้อนกันอยู่ภายในจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งสามารถทำระยะชักได้หลากหลายในตัวเดียวกัน โดยประโยชน์หลักของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบนี้ คือ ประหยัดเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บของตัวกระบอกและความยาวได้มากกว่ากระบอกทั้งแบบทางเดียวและกระบอกแบบ 2 ทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด
4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปตัวอย่าง กระบอกแบบ Telescopic
  1. กระบอกสูบนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ
    แม้ว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว และ กระบอกสูบแบบสองทาง จะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ก็ยังมีกระบอกสูบประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเป็นกระบอกสูบแบบเฉพาะทางค่ะ

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน 2 ด้าน หรือกระบอกแบบ PUSH PULL ก้านลูกสูบยื่นผ่านทั้งสองด้านของกระบอกลมทำให้แรงและความเร็วเท่ากันทั้งสองข้าง

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ PUSH PULL

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีคูชชั่น: กระบอกสูบที่มีการควบคุมไอเสียเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างก้านลูกสูบและฝาปิดกระบอกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
แบบมีคูชชั่น

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบหมุนองศาหรือแอร์มอเตอร์ (AIR MOTOR) ตัวกระตุ้นที่ใช้อากาศเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบ AIR MOTOR

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ RODLESS CYLINDER: ไม่มีแกนลูกสูบ ใช้การเชื่อมต่อแบบกลไกหรือแม่เหล็กเพื่อส่งแรงไปยังอุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวอื่น ๆ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ RODLESS CYLINDER

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบกระแทก (HAMMER): กระบอกลมความเร็วสูงพร้อมฝาปิดท้ายที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกจากการยืดหดของก้านลูกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ HAMMER

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำเอาความรู้จากการค้นพบและพัฒนาวิธีในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม มาใช้ในกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องบรรจุ และเครื่องลำเลียงขนถ่ายวัสดุ โดยอาศัยหลักการง่าย ๆ ของความดันลม เพื่อให้ลูกสูบที่อยู่ในกระบอกสูบ หรือกระบอกนิวเมติกส์เกิดการเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเป็นพลังงานกล แต่การทำงานกับระบบนิวเมติกส์นั้น ก็มีข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

  1. ปิดลมและระบายลมออกจากระบบทุกครั้งก่อนการแก้ไขหรือตรวจเช็กวงจร
  2. ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) และอุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ ให้แน่นและมั่นคง
  3. ตรวจเช็กไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในบริเวณการเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) หรืออุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ
  4. ก่อนจ่ายลมเข้าระบบนิวเมติกส์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ข้อต่อและสายลมแน่นสนิท
  5. หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้า ต้องรายงานและแจ้งผู้ควบคุมดูแลให้ทราบ ก่อนการดำเนินการขั้นตอนไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  6. การแก้ไข ดัดแปลงอุปกรณ์ด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้ควบคุม หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  7. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ สายหรือท่อลมนิวเมติกส์
  8. ไม่ควรไว้ใจว่าอุปกรณ์ทำงานจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ยังทำการจ่ายลมอัดอยู่
  9. ไม่ควรยึดถือว่าความเร็วของอุปกรณ์ว่าจะทำงานคงที่อย่างสม่ำเสมอ
  10.  เป็นไปได้ยาก ที่จะให้มีการเคลื่อนที่แบบเป๊ะ ๆ เหมือนกับโปรแกรมที่วางไว้
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อควรคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ และทางที่ดีพนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงระบบนิวเมติกส์ควรมีความรู้และความเข้าใจกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรคำนึงในการใช้งานระบบนิวเมติกส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์ การขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์จะต้องใช้เครื่องอัดลมในการจ่ายพลังงาน แต่ในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ดังนั้นการทำงานของระบบนิวเมติกส์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  สิ่งแปลกปลอมที่มีปัญหากับระบบอัดลม มีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมามีดังนี้

1. ความชื้น ในลมอัดจะประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง หลักการแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้นสามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำให้อากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกที การทำแบบนี้จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก

2. ฝุ่นละออง สาเหตุที่มีฝุ่นละอองนั้น สามารถมีได้อยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุ สนิม เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งที่มาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ แก้ไขได้โดยติดตั้งตัวกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมหลักที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอ

3. น้ำมันหล่อลื่น สิ่งนี้มักจะปะปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบในเครื่องลมอัด ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์ได้

4. ข้อบกพร่องที่เกิดจากการหล่อลื่น ในวาล์วนิวเมติกส์บางรุ่นยังคงต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่างๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไม่เหมาะสม เพราะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอุดตันภายในตัวเก็บเสียงได้

5. สารออกไซด์ เป็นสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากระบบลูกสูบทำงาน จะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอน มาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพและเปลี่ยนตามเวลากำหนด

การจัดการบำรุงรักษานิวเมติกส์

อุปกรณ์นิวเมติกส์ทุกชิ้น จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะตามเวลาการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายในระบบนิวเมติกส์

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และ ปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบนิวเมติกส์ได้มีบทบาทชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมน้ำมัน, อุตสาหกรรมการแปรรูป ผลิตเครื่องจักร บรรจุหีบห่อ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือกล ระบบหุ่นยนต์ เป็นต้น

ระบบนิวเมติกส์ คือ การนำเอาพลังงานจากลมอัดมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนิวเมติกส์ และการนำลมอัดของระบบนิวเมติกส์มาใช้งานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลมอัดให้มีความบริสุทธิ์ที่สุด (Compressed Air Purification System) ด้วยการทำให้ลมอัดมีความแห้งสะอาด และมีอุณหภูมิที่ต่ำ ปราศจากฝุ่น ความชื้น ละอองน้ำ น้ำมัน และกลิ่นต่างๆ นั่นเอง

แม้กระทั่งวงการแพทย์ที่มีการใช้งานของระบบนิวเมติกส์ในการรักษาคนไข้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาการอัดลมที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากกลิ่น น้ำมันเพื่อความปลอดภัยของคนไข้

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ก่อนมีการทำการเตรียมลมอัดที่สะอาดเพื่อนำไปใช้งานนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตของงานที่จะนำลมอัดไปใช้ ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสม จะเห็นว่าหากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบนิวเมติกส์ภายในหน่วยงานหรือโรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้งาน เปรียบเสมือนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอุปกรณ์นิวเมติกส์ไปในตัว เนื่องจากลมอัดที่สะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงอีกทางด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More