ระบบไฮดรอลิคในรถฟอร์คลิฟท์

ระบบไฮดรอลิคในรถฟอร์คลิฟท์

ระบบไฮดรอลิคในรถฟอร์คลิฟท์ ระบบไฮดรอลิคมีความสำคัญต่อการใช้งานรถยก ทำงานโดยใช้ของเหลวอัดแรงดันเป็นกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฮดรอลิคสามารถเปลี่ยนของเหลวจำนวนเล็กน้อยให้เป็นกำลังปริมาณมากได้

รถยกส่วนใหญ่ใช้ปั๊มเกียร์และให้การไหลของของเหลวอย่างต่อเนื่องเพื่อจ่ายวาล์วควบคุมไฮดรอลิค วาล์วควบคุมไฮดรอลิคเริ่มต้นและหยุดทิศทางของของไหล และควบคุมตำแหน่งที่ของไหลไหลผ่านแกนม้วนท่อไปยังตัวกระตุ้นที่ต้องการ วาล์วระบายทำหน้าที่เป็นวาล์วนิรภัยเพื่อป้องกันระบบไฮดรอลิคจากแรงดันไฮดรอลิคมากเกินไป สุดท้ายสายส่งกลับซึ่งส่งคืนของเหลวกลับไปที่ถังและทำให้รอบระบบไฮดรอลิคสมบูรณ์

ส่วนประกอบของฟอล์คลิฟท์ มีดังนี้

 1. เสารถฟอล์คลิฟท์ (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนสำหรับให้ส่วนของงาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถฟอล์คลิฟท์จะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูง 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือใช้เสา 3 ท่อน (Full Free Mast) เสา 3 ท่อน คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัดได้

 2. งารถฟอล์คลิฟท์ (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของต่าง ๆ และงายังเป็นอุปกรณ์ที่ “อันตราย” ที่สุด งานของรถฟอล์คลิฟท์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งของที่ต้องการยก

 3. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตรฐานรถฟอล์คลิฟท์จะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่ 3 ชุด ดังนี้

   3.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มี 2 กระบอก

   3.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มี 2 กระบอก

   3.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถฟอล์คลิฟท์ ในส่วนนี้จะมีกระบอกเดียว

 4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้

   4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด

   4.2) ขับเคลื่อน

   4.3) เบรค

 5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกกับ THAI-A ดีกว่ายังไง ?

ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกกับ Thai-A ดีกว่ายังไง ?

ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกกับ Thai-A ดีกว่ายังไง ? แอดมินเชื่อว่าในโรงงานอุตสาหกรรมทุกรูปแบบนั้นต่างก็รู้จักกระบอกสูบไฮดรอลิกและมีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อทดแทนการใช้แรงงานจากคนและเพื่อการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น

ทำไมต้องเลือกโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกของ Thai-A

โรงงานผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักร Thai-A สร้างขึ้นเพื่อให้บริการและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฮดรอลิกที่ใช้ในอุตสาหกรรมและเครื่องจักรต่างๆ อย่างเช่น เครื่อง Press เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก กระบอกสูบไฮดรอลิก OEM ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่งได้อย่างรวดเร็ว ด้วยชุดประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิกนำเข้าจากต่างประเทศ คุณภาพดีได้มาตรฐานสากล

ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกกับ THAI-A ดีกว่ายังไง ?

ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกกับ Thai-A ดีอย่างไร ?

เราเลือกใช้ชุดประกอบคุณภาพดีเยี่ยมนำเข้าจากต่างประเทศ

พร้อมให้คำปรึกษาด้านกระบอกสูบไฮดรอลิกโดยวิศวกรประสบการณ์กว่า 50 ปี

ออกแบบและผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกโดยช่างผู้ชำนาญการ

บริการหลังการขาย และการอบรมผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาและแนะนำด้วยทีมงานคุณภาพ

มีระบบตรวจสอบคุณภาพ และประสิทธิภาพสินค้าทุกชิ้นก่อนส่ง

บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐาน IEC

หมวดอุปกรณ์ไฮดรอลิก ประกอบไปด้วย

  • ปั้มไฮดรอลิค (HYDRAULIC PUMPS)
  • มอเตอร์ไฮดรอลิค
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (DIRECTIONAL CONTROL VALVES)
  • วาล์วควบคุมอัตราการไหล (FLOW CONTROLS)
  • วาล์วควบคุมทิศทางด้วยมือ (MANUALLY OPERATED DIRECTIONAL VALVES)
  • วาล์วแบบซ้อน (MODULAR VALVES)
  • กระบอกไฮดรอลิก (HYDRAULIC CYLINDERS, ACTUATORS)
  • อุปกรณ์ไฮดรอลิกอื่นๆ (HYDRAULIC ACCESSORIES)
  • วาล์วควบคุมความดัน (PRESSURE CONTROL VALVE)

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก  ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก  มอเตอร์ไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก เรารับผลิตกระบอกไฮดรอลิก ผลิตกระบอกไฮดรอลิกตามสั่ง เพราะ Thai-A ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี  และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิกอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุดในระบบไฮดรอลิค คือ กระบอกสูบไฮดรอลิก ที่ยืดออกและหดกลับด้วยแรงดันของของเหลว ทำให้สามารถยก ดึง และผลักของหนักได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

บาร์เรล (Barrel) ลูกสูบ (Piston) และก้านลูกสูบ (Piston rod) เป็นส่วนประกอบหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก ลูกสูบที่ติดอยู่กับก้านลูกสูบจะเคลื่อนไปมาผ่านกระบอกสูบด้วยการกระทำของการรับและการกำจัดของเหลว ระหว่างการรับของเหลว ก้านลูกสูบจะยืดออก และเมื่อของเหลวไหลออก ก้านลูกสูบจะหดกลับ การทำงานแต่ละครั้งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนไหวของก้านลูกสูบผ่านกระบอกสูบ การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงดันสูงนี้ อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของกระบอกสูบไฮดรอลิกได้ เนื่องจากการสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทกที่เกิดจากกระบวนการที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงความสำคัญของตัวกันกระแทกในกระบอกสูบไฮดรอลิก ที่สามารถลดความเสียหาย และยืดอายุให้กับกระบอกสูบได้กันค่ะ

ตัวกันกระแทก (CUSHIONING) ของกระบอกสูบไฮดรอลิกคืออะไร

การกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อถึงจุดสิ้นสุดของจังหวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับทั้งกระบอกลมนิวเมติกส์และไฮดรอลิกเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากคลื่นกระแทกจากแรงดันลม

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก
ขอบคุณรูปภาพจาก WHYPS

ลูกสูบกันกระแทกส่วนมากจะติดอยู่กับแกนลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สูบจ่ายที่ชะลอความเร็วของกระบอกสูบก่อนที่จะกระทบที่ฝาท้าย การชะลอตัวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการจำกัดการไหลของของไหลที่เกิดจากลูกสูบ ซึ่งข้อดีของการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก ก็คือ

  • ยืดอายุการใช้งานของกระบอกสูบ
  • ลดเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์
  • กระบวนการลดความเร็วส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ ปรับได้ และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามากนัก
  • นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายของหนักที่ต้องใช้ความเร็วสูง

ตัวที่กำหนดว่าเราจำเป็นต้องมีตัวกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกหรือไม่นั้น คือค่าพลังงานจลน์ พลังงานจลน์นี้จะขึ้นอยู่กับสองพารามิเตอร์ นั่นก็คือ มวลเคลื่อนที่ (Moving mass) และความเร็ว (Speed) โดยสมการในการคำนวณพลังงานจลน์ คือ

E = ½*m*v 2

เมื่อก้านลูกสูบกระบอกสูบเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของจังหวะการกระแทก พลังงานจลน์จะถูกแปลงเป็น

E = Fa*ΔL

โดยที่ Fa คือแรงกันกระแทกที่เกิดจากระยะยุบตัวของ ΔL นั่นเองค่ะ

โดยทั่วไปแล้ว การกันกระแทกของกระบอกสูบจะถูกใช้กับกระบอกสูบแบบ double-act ที่ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น เครนขนถ่ายสินค้า หรือเครนเคลื่อนที่สำหรับจอดเรือ เป็นต้นค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม สำหรับงานยกย้าย เคลื่อนที่ หรือติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบไฮดรอลิคจึงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งอุปกรณ์ที่มีชื่อว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคได้มีการแข่งขันในตลาดมากยิ่งขึ้น

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

ผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคแต่ละรายต่างก็มองหาวิธีใหม่เพื่อที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงเกิดรูปแบบของกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่า กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสมาร์ท กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมต่างประเทศ และมีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบใหม่ สามารถใช้งานได้ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบติดตั้งในอุตสาหกรรม กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสมาร์ท หรือ กระบอกไฮดรอลิคขนาดเล็ก นี้จะมีความทนทานสูงและสามารถรองรับการทำงานในช่วงอุณหภูมิที่กว้างกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคทั่วไป มีให้เลือกใช้ทั้งที่เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบทางเดียวและกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสองทาง

การเลือกซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กมาติดตั้งนั้นจะมีหลักเกณฑ์การซื้ออยู่ด้วยกันหลายประการขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพแวดล้อมการทำงาน เมื่อเราเลือกซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กมาใช้งานเราควรคำนึงถึงออปชั่นที่สำคัญต่างๆ ด้วยกันดังนี้:

  • ตัวถังกระบอกสูบไฮดรอลิคจะต้องสามารถติดตั้งได้ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ในภายหลัง
  • แกนก้านลูกสูบมีก้านสำหรับยึด/ติดตั้ง
  • มีหูสำหรับช่วยยึดกับงานเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกระบอกไฮดรอลิค
  • มีแท่นสำหรับยึดตัวกระบอกไฮดรอลิค
  • และออปชั่นอื่นๆ ตามที่ผู้ผลิตมีให้

ทางด้านการติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กนั้นจะคล้ายกับกระบอกไฮดรอลิคทั่วไป คือกระบอกสูบไฮดรอลิคส่วนใหญ่จะสามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบอยู่แล้ว นั่นก็คือข้อดีอีกอย่างหนึ่งของกระบอกไฮดรอลิคที่เหล่าผู้ผลิตได้ออกแบบไว้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า และประสิทธิภาพของกระบอกไฮดรอลิคแบบสมาร์ทนี้ก็ใกล้เคียงกับกระบอกลมหรือกระบอกไฮดรอลิคแบบทั่วไปมาก แต่จะต่างกันที่คุณสมบัติเพียงบางประการเท่านั้น

สุดท้ายในตลาดอุปกรณ์ไฮดรอลิคปัจจุบันมีกระบอกสูบไฮดรอลิคให้เราได้เลือกมาใช้งานหลายประเภท หากคุณยังเป็นมือใหม่ แนะนำให้คุณลองหาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องที่คุณกำลังสนใจและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบไฮดรอลิค อย่าง Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

เกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ในกระบวนการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง หากทำการละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญไป โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการออกแบบนั้นก็จะสูงไปด้วย ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแง่ของวัสดุที่ใช้ ตามการใช้งานของแต่ละตัว เช่น กระบอกสูบที่ใช้ในเครื่องจักรก่อสร้าง เทียบกับงานป่าไม้ ก็จะมีการออกแบบต่างกัน เป็นต้น ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค มีด้วยกันดังนี้

  1. สภาพการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค (Working conditions)
    สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนการออกแบบกระบอกสูบ คือการพิจารณาสภาพการใช้งาน กล่าวคือ กระบอกสูบตัวนี้จะเอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน และต้องรับน้ำหนักแบบใด เช่น เอาไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือการทำงานใต้น้ำ เป็นต้น สภาพการทำงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงเมื่อต้องออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
  2. ระยะการลาก (Stroking distance requirements)
    การคำนึงถึง ช่วงชักขอกการใช้งาน โดยจะสามารถกำหนดระยะตามความต้องการในการใช้งานได้กับงานที่เราต้องการ แต่ถ้าใช้ช่วงชักที่ยาว เกินไปก็อาจมาผลเสียได้ เพราะอาจต้องคิดค่า Bucking ให้เหมาะต่อการใช้งานที่ถูกต้อง และ การ Design จุดติดตั้ง ก็ต้องเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ (Temperature)
    เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่กระบอกสูบจะถูกนำไปใช้งานด้วย เพราะการออกแบบกระบอกสูบที่จะใช้ในอุณหภูมิสูง เช่น สภาพทะเลทราย กับการใช้งานในสภาพอากาศหนาวเย็น -30 องศานั้น จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบที่ต่างกัน เพื่อให้กระบอกสูบสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในอุณหภูมิที่ต้องการ
  3. ความเร็ว (Speed)
    เมื่อผู้ออกแบบเลือกชิ้นส่วนกระบอกสูบที่เหมาะสมเขาจำเป็นต้องพิจารณาความเร็วในการเลื่อนของระบบ คำจำกัดความของ “ความเร็วที่มากเกินไป” อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวิศวกรออกแบบ โดยทั่วไปแล้วซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบมาตรฐานสามารถรองรับความเร็วสูงสุด 0.5 เมตรต่อวินาทีได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า ยิ่งความเร็วในของของไหลเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคทั้งหมดก็สูงขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการลดอุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคด้วยนะคะ
  4. รูปแบบการติดตั้ง (Mounting styles)
    การติดตั้งทุกประเภทมาพร้อมกับประโยชน์และข้อจำกัด โดยรูปแบบการติดตั้งมีสามประเภทด้วยกัน คือ
    • รูปแบบคงที่ (Fixed style)
    • แบบเดือย (Pivot style) โดย 2 รูปแบบนี้สามารถดูดซับแรงบนเส้นกึ่งกลางของกระบอกสูบได้ เหมาะสำหรับการใช้งานขนาดกลางและงานหนักเพื่อรองรับแรงขับหรือแรงดึง
    • รูปแบบที่สาม สามารถรองรับกระบอกสูบทั้งหมดได้โดยพื้นผิวยึดด้านล่างเส้นกึ่งกลางกระบอกสูบแทนที่จะดูดซับแรงตามแนวกึ่งกลางเพียงอย่างเดียว
  5. ขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore size)
    ขนาดของกระบอกสูบจะสัมพันธ์กับแรงดันในการใช้งาน เพราะจำนวนแรงผลักและแรงดึงที่ต้องการ เป็นตัวแปรที่กำหนดขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ต้องการนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ส่วนประกอบของ กระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค กระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจากของเหลว เป็นพลังงานกลเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ โดยมีของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนพลังงานและทำให้เครื่องจักรเกิดการเคลื่อนที่นั่นเองค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค เรามาทำความรู้จักกับประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิคกันก่อนดีกว่าค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิค

  1. กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว (Single Acting Hydraulic Cylinders)

กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว (SAC) เป็นกระบอกที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากการที่จังหวะการทำงานจะถูกสร้างขึ้นในทิศทางเดียวเท่านั้น ในขณะที่จังหวะไหลกลับจะใช้สปริงหรือแรงโน้มถ่วงเป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับอย่างช้า ๆ กระบอกสูบไฮดรอลิคประเภทนี้เหมาะกับงานที่ใช้โหลดไม่มากนั้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ในขณะที่ไม่มีไฟฟ้าอีกด้วย

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

2. กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง (Double Acting Hydraulic Cylinders

กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง (DAC) เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิคทั้ง 2 ทิศทางในการเคลื่อนที่ โดยทำสลับกัน ซึ่งกระบอกสูบประเภทนี้จะเหมาะกับการทำงานที่ต้องการเคลื่อนที่ในแนวตรง ระยะชักที่ยาว อีกทั้งยังสามารถควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ได้ดีกว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว (SAC) เพราะกระบอกสูบแบบ 2 ทางจะมีแรงดันที่คงที่กว่า

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

3. Telescopic Cylinders

Telescopic Cylinders คือกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ถูกออกแบบมาให้มีกระบอกสูบหลาย ๆ ชั้น ซ้อนกันอยู่ภายในจากตัวใหญ่ไล่ลงไปตัวเล็กเรื่อย ๆ ทำให้ความยาวของกระบอกสูบสามารถยืดหดได้ตามความต้องการ โดยสามารถทำงานเป็นแบบ Single หรือ Double ก็ได้ ซึ่งกระบอกสูบไฮดรอลิคตัวนี้จะเหมาะกับการใช้งานที่มีพื้นที่จำกัด

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค มีดังนี้

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค
  • กระบอกสูบส่วนฐานและกระบอกสูบส่วนหัวซึ่งเป็นส่วนหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก
  • ลูกสูบ ซึ่งเป็นตัวที่น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่าน
  • แกนซึ่งติดตั้งอยู่ที่ด้านหนึ่งของลูกสูบและเชื่อมกับส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ทำงานเชิงกล
  • ซีล (O-ring, Snap ring, Wiper seal, Piston seal) มีหน้าที่หยุดของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค ก้านกระบอกลูกสูบ หรือ piston rod เป็นแกนลูกสูบที่มีความยาวของการกลึงที่แม่นยำของแท่งเหล็กสำเร็จรูป ที่ถูกชุบด้วยโครเมี่ยมแบบเย็น ถือเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อกระบอกสูบไฮดรอลิคและกระบอกลมนิวเมติกส์ทุกกระบอก เพราะโดยปกติแล้วก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นตัวส่งแรงที่สร้างขึ้นโดยลูกสูบ ไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องจักรที่ทำงาน และแม้ว่าก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นส่วนที่สำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่งานมักจะละเลยต่อความเสียหายเล็กน้อย และใช้ก้านลูกสูบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีปัญหาที่ร้ายแรงเกินขึ้น และทำให้กระบอกสูบไฮดรอลิคเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นผู้อ่านอย่าละเลย และหมั่นตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ก้านลมสูบเกิดความเสียหายนะคะ

สาเหตุที่ทำให้กระบอกไฮดรอลิคเกิดความเสียหาย

ศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของกระบอกสูบไฮดรอลิค คือ ความเสียหายของซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคค่ะ ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้ซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคมีการทำงานล้มเหลว นั่นก็คือสนิม การกระแทก และการกัดกร่อนอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อไปนี้ หากกระบอกสูบไฮดรอลิคของตนไม่มีประสิทธิภาพ

  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่ต้องหยุดเครื่องจักร เพื่อซ่อมบำรุง (Maintenance Breakdown)
  • สูญเสียรายได้ จากการทำงานของเครื่องจักรในช่วงเวลานั้นไป
  • ใช้เวลาในการซ่อมบำรุงนาน (Maintenance)
ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

แต่ผู้ผลิต Thai-A ให้ความสำคัญและได้หาหนทางในการแก้ไขปัญหาสนิม และการกัดกร่อนอื่น ๆ ในกระบอกสูบไฮดรอลิค มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงทางเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับการกัดกร่อนจนสำเร็จ ทำให้กระบอกไฮดรอลิคของ Thai-A มีประสิทธิภาพ ทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนานอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น ระบบไฮดรอลิคก็เหมือนกับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ แต่ละชนิดก็มีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันออกไป และเป็นเครื่องจักรที่ต้องคอยตรวจเช็กบำรุงรักษาเหมือนร่างกายเราไม่แพ้กัน

การดูแลรักษาระบบไฮดรอลิคไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด การหมั่นดูแลรักษาระบบไฮดรอลิคเป็นประจำจะช่วยให้คุณคุ้นเคยกับส่วนประกอบของไฮดรอลิคและสามารถวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ส่วนประกอบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง ?

1. ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump) 

ปั๊มไฮดรอลิคใช้สำหรับเลี้ยงอัดหรือขนส่งของเหลวจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็นปั๊มใบพัด ปั๊มเกียร์ และปั๊มลูกสูบ ซึ่งปั๊มลูกสูบจะให้ประสิทธิภาพของแรงดันได้ดีกว่า

  • การดูแลปั้มไฮดรอลิคเบื้องต้น

ปัญหาของปั๊มไฮดรอลิคเบื้องต้นมักจะเกิดจาก ฟองอากาศในปั๊ม ปัญหานี้มักเกิดจากปั๊มไม่ได้รับน้ำมันจากถังน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสม หมั่นตรวจฟองอากาศในตัวปั๊มโดยสังเกตจากการฟังเสียงปั๊มและน้ำมันไฮดรอลิคจะเป็นฟองอากาศเมื่อใช้งานระบบไฮดรอลิค หากเกิดเสียงผิดปกติเหมือนมีสิ่งของอยู่ข้างในก็แสดงว่าตัวปั๊มมีโพรงอากาศนั่นเอง

2. กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)

ส่วนหนึ่งของระบบไฮดรอลิคของเครื่องจักร พูดง่ายๆ ว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นตัวกระตุ้นไฮดรอลิคที่สร้างการเคลื่อนที่เชิงเส้น โดยการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนแรงดันของของเหลวไปเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล

  • การดูแลกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีซีลและวงแหวนที่อาจเสียหายได้จากแรงดันส่วนเกินและสิ่งปนเปื้อนในน้ำมัน ต้องแน่ใจว่า น้ำมันไฮดรอลิกของคุณสะอาด ตรวจสอบจุดที่แกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเคลื่อนที่เพื่อหารอยรั่วรวมทั้งความยาวของแกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเพื่อค้นหารอยบุบหรือความเสียหายอื่นที่อาจทำให้น้ำมันและความดันลดลง การบำรุงรักษากระบอกสูบที่เหมาะสมอาจจะต้องเริ่มจากต้นจาก การเลือกซื้อน้ำมันไฮดรอลิคให้เหมาะสม กับเครื่องจักรที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อให้ทั้งระบบไฮดรอลิคและกระบอกสูบไฮดรอลิคทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

3. มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

มอเตอร์ไฮดรอลิค คือ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกำลังงานไฮดรอลิคให้เป็นกำลังกล ซึ่งมีลักษณะการทำงานในแนวหมุนมีลักษณะเหมือน ปั๊มไฮดรอลิค แต่การทำงานต่างกันคือ ปั๊มไฮดรอลิคหมุนด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์เป็นตัวขับให้ปั๊มหมุนทำงาน ส่วนมอเตอร์ไฮดรอลิค จะหมุนได้ด้วยการส่งแรงดันของน้ำมันไปขับให้หมุน

การดูแลมอเตอร์ไฮดรอลิคเบื้องต้น

มอเตอร์ไฮดรอลิคก็เหมือนกับปั๊ม ดังนั้นการบำรุงรักษาหลักของคุณคือทำให้น้ำมันไฮดรอลิคสะอาดที่สุด เฟือง, ใบพัดและลูกสูบอาจมีรอยขีดข่วนจากสารปนเปื้อนซึ่งมันส่งผลให้แรงดันผิดปกติ ดังนั้นก่อนใช้งานทุกครั้ง เราแนะนำให้ตรวจสอบเพลาขับของมอเตอร์ว่ามีความเสียหายหรือรั่วซึมหรือไม่และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า รอบต่อนาทีของมอเตอร์ถูกต้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิ และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบ ไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำเช่น  กระบอกสูบไฮดรอลิค (Cylinder)  มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic  Motor)  ในอุตสาหกรรมนิยมใช้น้ำมันไฮดรอลิค (Hydraulic  Oil)  เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้ จึงทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพมาก

ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  • ระบบมีความเสถียรไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  • ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  • อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสียของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  • การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิ และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น อุปกรณ์ไฮดรอลิค ที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ  ซึ่งความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน ก่อนที่อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังนั่นเองค่ะ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานกับระบบไฮดรอลิค ควรสังเกตุถึงความผิดปกติของระบบ และรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึง วิธีการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิคกันค่ะ

  1. ฟองอากาศปนอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค

หากพบฟองอากาศผสมอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค ควรตรวจสอบจุดสำคัญที่

  • ท่อดูด และตัวกรองไฮดรอลิคตันหรือไม่
  • ซีลคอของปั้มว่าพบจุดรั่วซึมหรือไม่
  • ระดับน้ำมันไฮดรอลิคในถังอยู่ในระดับเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
  • ท่อน้ำมันไหลกลับ ต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำมันไฮดรอลิค และระยะห่างระหว่างท่อน้ำมันไหลกลับกับท่อดูดของ
  • ปั๊มไฮดรอลิค ต้องอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม ไม่ชิดกันหรือห่างกันจนเกินไป

2. ยอยด์ต่อ (Coupling) ไม่ได้ Alignment

หากยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์ ให้ปรับตั้งศูนย์ Alignment Coupling และปรับค่า Angular torerance ให้เหมาะสม

3. อากาศรั่วเข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค

สามารถทดสอบว่าอากาศรั่วเข้าไปในปั๊มไฮดรอลิคทางช่องว่างระหว่างท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮดรอลิค

  • โดยในเบื้องต้นสามารถตรวจเช็คดูด้วยตาเปล่าว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกมาหรือไม่
  • โดยการใช้จารบีป้ายทาระหว่างหน้าแปลนท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮรอลิค เพื่อเช็คจุดรั่วซึม ผลที่ได้หากปั๊มไฮดรอลิคมีการรั่วซึมจริง เสียงปั๊มจะเงียบลง และให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนซีลและโอริง หรือประเก็นหน้าแปลนท่อดูด

4. รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

โดยส่วนใหญ่รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคจะถูกกำหนดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นออกแบบการใช้งาน จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงาน ตามสเปคของปั๊มไฮดรอลิค เพื่อใช้งานอย่างถูกต้อง

5. แรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

จริงๆ แล้วควรใช้แรงดันให้อยู่ภายในสเปคของอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่กำหนดไว้ตอนออกแบบ แต่ถ้าพบว่าแรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป ทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบเสียหาย เช่น เพลาขาด หรือปั๊มแตก ให้ทำการปรับลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค ไม่ให้เกินความต้องการของการใช้งาน เพื่อลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค

6. ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป

หากความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป ให้ทำการเปลี่ยนน้ำมันที่มีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

  1. ระบบไฮดรอลิคที่ใช้ Accumulator เกิดความผิดปกติ

หากพบความผิดปกติกับ Accumulator ให้ทำสิ่งต่อไปนี้

อันดับแรก:  ตรวจเช็คแก๊สไนโตรเจนที่ใช้เติมใน Accumulator ว่าอยู่ในค่าที่เติมไว้หรือไม่ โดยใช้หัวชุดชาร์ทแก็สทำการตรวจเช็ค

หากพบว่าไม่มีแก็สไนโตรเจนเหลืออยู่ แสดงว่าเกิดการรั่วซึม ให้ทำการแก้ไขให้พร้อมใช้งาน ตัวอย่างเช่น กรณี Accumulator เป็นแบบใช้ Bladder ก็ให้ทำการเปลี่ยน Bladder พร้อม Dynac Gas Valve และทำการชาร์ทแก็สไนโตรเจนตามสเปคของเครื่องจักร

*หมายเหตุ: หากเครื่องจักรที่ใช้ accumulator ในระบบ ก่อนทำการตรวจเช็คระบบ ให้ทำการเปิด Bypass Valve ของ Accumulator ก่อนทุกครั้ง

อันดับที่สอง:  ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าโซลีนอยด์วาล์ว สัญญาณไพล็อต และ Unloading valve ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติให้ทำการแก้ไข

8. การรั่วซึมภายในของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฮดรอลิคมากกว่าปกติ

แก้ไขง่าย ๆ โดยตรวจสอบซีลตามจุดต่าง ๆ และชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของปั๊มไฮดรอลิค วาล์ว และกระบอกสูบไฮดรอลิค เพื่อดูการสึกหรอและรอยรั่ว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และทำการเปลี่ยนใหม่ตามความเหมาะสมค่ะ

8 ข้อที่กล่าวมานั้นเป็นปัญหา และวิธีการแก้ไขเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านจะสามารถจัดการกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบได้เบื้องต้น ก่อนที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกลมไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More