การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน
อากาศรอบตัวเรานั้นประกอบไปด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน และก๊าซอื่น ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เป็นต้น ซึ่งในอากาศบางพื้นที่อาจมีกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ ความชื้น และสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ด้วย ทำให้เมื่อผลิตลมอัด โดยการบีบอัดอากาศจากบริเวณแวดล้อมนั้น อาจมีสิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดเข้ามาระบบนิวเมติกส์ได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีวิธีการที่มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานในการผลิตลมอัดเพื่อนำไปใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกวิธีการเตรียมลมอัดอย่างไรให้มีคุณภาพกันค่ะ
ระดับความบริสุทธิ์สำหรับอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573-1
อากาศอัดประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ อนุภาค (Particles) น้ำ (Water) และน้ำมัน (Oil) โดยสามารถจำแนกตามระดับความเข้มข้นในอากาศได้ดังนี้
ISO 8573-1:2010 [A: B: C]
- A – particles | 0 … 8, X
- B – water | 0 … 9, X
- C – oil | 0 … 4, X
แต่ในกรณีที่องค์ประกอบแสดงเป็นคลาส X (องค์ประกอบที่มีความเข้มข้นสูง) ปริมาณหรือระดับความเข้มข้นจะต้องใส่ในวงเล็บเสมอ เหมือนตัวอย่างต่อไปนี้ ISO 8573-1:2010 [4:X(15):3] สมการนี้แสดงถึงความเข้มข้นของน้ำอยู่ที่ Cw 15 g/m3 นั่นเองค่ะ
ในการใช้งานลมในอุตสาหกรรมตามปกติทั่วไป คุณภาพอากาศตาม ISO 8573-1:2010 [7:4:4] ก็เพียงพอแล้วในระบบนิวเมติกส์ แต่ถ้าต้องการนำอากาศอัดไปใช้กับงานเฉพาะด้าน หรือในสภาพแวดล้อมที่แรงกว่าปกติ เช่น ใช้ในงานรถไฟในอุณหภูมิที่เย็นจัด มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ความบริสุทธิ์ของอากาศสูงขึ้นค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม
- ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม
พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างและการเตรียมลมอัด
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างลมอัด คือการทำให้แน่ใจว่าลมนั้นไม่มีน้ำมัน (Oil-free) ให้ได้มากที่สุด ในต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการเตรียมลมอัดก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการสร้างลมอัด โดยในโรงงานผลิตต่าง ๆ สามารถมีปริมาณน้ำมันในอากาศเกินกว่า 10 มก. / ลบ.ม. ได้ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้มาจากน้ำหล่อเย็นและของเหลวหล่อลื่นในเครื่องจักร เพราะฉะนั้นคุณภาพของอากาศและลมอัดจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ณ บริเวณนั้นด้วยนั่นเองค่ะ ซึ่งตามหลักมาตรฐาน ISO 8573-1 ลมอัด หรือ oil free จะต้องมีปริมาณน้ำมัน และ oil dust ให้ได้น้อยกว่า 0.01 มก./ลบ.ม.
วิธีการเป่าแห้งลมเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์
ความชื้นมีอยู่ในอากาศเสมอ แต่จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ ยิ่งอุณหภูมิในอากาศสูงขึ้นเท่าใด ความสามารถในการกักเก็บน้ำก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้มีความชื้นอยู่ในอากาศมากนั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีในการเป่าแห้งลมอัดทางอุตสาหกรรมนั้น มีด้วยกันดังนี้
- Deliquescent dryer ประกอบด้วยภาชนะที่บรรจุวัสดุดูดความชื้น ที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ข้อดี: ไม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม ข้อเสีย: ต้องเปลี่ยนวัสดุดูดความชื้นเป็นประจำ
- Desiccant dryer ทำงานโดยให้อากาศไหลผ่านสารดูดความชื้น เช่น ซิลิกาเจล (silica gel) ข้อดี: ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม และสามารถรีเซ็ตง่าย ๆ โดยการเป่าน้ำออก หรือการล้างเจล ข้อเสีย: ความสามารถในการกักเก็บน้ำของเจลมีจำกัด ทำให้ต้องล้างเจลออกเป็นประจำ
- Membrane dryer โดยต้องมีการกรองอากาศด้วยตัวกรองอากาศที่มีคุณภาพสูงก่อน ก่อนที่จะปล่อยให้ลมไหลผ่านไปยังเส้นใยในเมมเบรน เพื่อดูดความชื้นออกไป ข้อเสีย: การไหลของลมถูกจำกัดไว้ที่ 1,000 ลิตร / นาที
- Refrigerated dryer เป็นไปตามหลักการที่ว่า อากาศที่เย็นกว่าจะสามารถอุ้มน้ำได้น้อยกว่า อากาศคลายความร้อนออก ทำให้ลมเย็นลงไปถึง 3 องศา และเมื่ออากาศเย็นลง จะสูญเสียน้ำและน้ำมันมันออกไป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@teacgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency