กระบอกนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1200 และ 1400 series

กระบอกนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1200 และ 1400 series

กระบอกนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1200 และ 1400 series บริษัท Thai-A ได้รับความน่าเชื่อถือจากบริษัทแม่อย่าง Pneumax จากอิตาลี ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายกระบอกนิวเมติกส์และอุปกรณ์นิวเมติกส์ของประเทศไทยที่มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานอย่างเป็นทางการมานานกว่า 40 ปี ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมารีวิวกระบอกนิวเมติกส์ของ Pneumax ที่จัดจำหน่ายโดยบริษัท Thai-A รุ่น 1200 และ 1400 Series กันค่ะ

สารบัญ

  • 1200 STAINLESS STEEL SERIES
  • 1230-1231-1232 SERIES
  • 1213 SERIES
  • 1200 SERIES FIXINGS – ACCESSOIRES
  • SENSOR CLAMPS – 1200 SERIES ACCESSORIES
  • 1260-1261-1262 SERIES
  • 1280-1281-1282 SERIES
  • 1280X – 1282X SERIES
  • 1400 SERIES
  • 1450 – 1463 SERIES
  • บทสรุป

1200 STAINLESS STEEL SERIES

กระบอกนิวเมติกส์ 12X สเตนเลสสตีล ตามมาตรฐาน ISO 6432 เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบสำหรับการใช้งานที่ทนต่อการกัดกร่อน เช่น สภาพแวดล้อมในทะเล ยา และอาหาร กระบอกนิวเมติกส์สแตนเลส AISI 316 ไมโครกระบอก ตามมาตรฐาน ISO 6432

1230-1231-1232 SERIES

ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาและการนำผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันสูงทางเทคโนโลยีมาใช้ เราจึงได้เปิดตัวไมโครกระบอกสูบเทคโนโพลีเมอร์รุ่น 1230 ซีรีส์ กระบอกนิวเมติกส์รุ่นใหม่นี้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 6432

1213 SERIES

กระบอกนิวเมติกส์แบบไมโคร เป็นกระบอกลมแบบเดียวกับสปริงด้านหน้า สามารถมีเกลียวทั้งตัวแบบหกเหลี่ยมหรือแบบกลมก็ได้ โดยมีปลายก้านเกลียวหรือแบบระนาบ ซึ่งเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

1200 SERIES FIXINGS – ACCESSOIRES

SENSOR CLAMPS – 1200 SERIES ACCESSORIES

แคลมป์เซนเซอร์ – อุปกรณ์เสริมสำหรับกระบอกนิวเมติกส์รุ่น 1200 Series

1260-1261-1262 SERIES

กระบอกนิวเมติกส์แบบไมโคร เป็นแอคทูเอเตอร์เชิงเส้นที่แพร่หลายที่สุดในการใช้งานทั่วไป เนื่องจากขนาดของกระบอกลมที่เล็กลง สามารถใช้ได้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงสิ่งทอ จากเครื่องจักรงานไม้ไปจนถึงภาคเซรามิก และอื่น ๆ กระบอกนิวเมติกส์แบบไมโคร ตามมาตรฐาน ISO 6432 ที่เป็นฝาปิดแบบเกลียว

1280-1281-1282 SERIES

กระบอกนิวเมติกส์แบบไมโคร เป็นแอคทูเอเตอร์เชิงเส้นที่แพร่หลายที่สุดในการใช้งานทั่วไป เนื่องจากขนาดของกระบอกลมที่เล็กลง สามารถใช้ได้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงสิ่งทอ จากเครื่องจักรงานไม้ไปจนถึงภาคเซรามิก และอื่น ๆ กระบอกนิวเมติกส์แบบไมโคร ตามมาตรฐาน ISO 6432 ฝาครอบแบบม้วน – “MIR” & “MIR-INOX”

1280X – 1282X SERIES

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบไมโคร ตามมาตรฐาน ISO 6432 “MIR-INOX” Series 1200 – ฝาปิดปลายม้วน

1400 SERIES

โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสอบการควบคุมความเร็วของไฮดรอลิก จะจับคู่กับกระบอกนิวเมติกส์เพื่อให้มีการควบคุมความเร็วที่สม่ำเสมอ ซึ่งเราจะใช้กระบอกนิวเมติกส์รุ่นนี้ ในการตรวจสอบการควบคุมความเร็วของไฮดรอลิคค่ะ

1450 – 1463 SERIES

ซีรีส์ Hydro-pneumatic ตามมาตรฐาน ISO 6431 เป็นผลมาจากประสบการณ์หลายปีในการผลิตกระบอกนิวเมติกส์และชุดไฮดรอลิกของบริษัท Pneumax ทำให้เกิดกระบอกลมนิวเมติกส์ไฮดรอลิกรุ่นนี้ขึ้นมา

บทสรุป

กระบอกนิวเมติกส์ Series 1200 และ Series 1400 เป็นกระบอกลมที่ถูกออกแบบตามมาตรฐาน ISO ทุกตัว และมีรูปแบบหลากหลายให้เลือกตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์แบบมีแกน แบบไม่มีแกนสูบ หรือแบบมีสาย อุปกรณ์เหล่านี้ถูกผลิตโดยบริษัทชั้นนำ Pneumax จากอิตาลี และมี Thai-A เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับความน่าเชื่อถือเป็นเวลานาน 

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์ แม้ว่ากระบอกลมนิวเมติกส์จะมีลักษณะรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะอยู่ใน 4 หมวดหมู่หลัก ๆ ที่แอดมินจะบอกในบทความนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อกระบอกสูบนิวเมติกส์ตอบสนองการทำงานเฉพาะทางค่ะ แต่ในบทความนี้แอดมินจะขอพูดถึง 4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบนิวเมติกส์

  1. กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Singleacting Cylinders

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบชั้นเดียว เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

2. กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบสองทาง หรือ Double-acting Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงของอากาศในการเคลื่อนที่ 2 ทาง ทั้งในการยืดและการหด stroke  ซึ่งข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง คือความยาวระยะชักในการออกแบบนี้จะมีไม่จำกัดค่ะ เพียงแต่แกนลูกสูบ หรือ piston rod จะมีความเสี่ยงในการโก่งและงอมากกว่ากระบอกสูบประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรทำการคำนวณเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
  1. Multi-stage, Telescopic Cylinder
    กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบเหลื่อม หรือที่เรียกกันว่ากระบอกสูบแบบยืดสไลด์ สามารถเป็นได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบสองชั้น ซึ่งประกอบด้วยแกนลูกสูบที่ซ้อนกันอยู่ภายในจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งสามารถทำระยะชักได้หลากหลายในตัวเดียวกัน โดยประโยชน์หลักของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบนี้ คือ ประหยัดเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บของตัวกระบอกและความยาวได้มากกว่ากระบอกทั้งแบบทางเดียวและกระบอกแบบ 2 ทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด
4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปตัวอย่าง กระบอกแบบ Telescopic
  1. กระบอกสูบนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ
    แม้ว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว และ กระบอกสูบแบบสองทาง จะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ก็ยังมีกระบอกสูบประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเป็นกระบอกสูบแบบเฉพาะทางค่ะ

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน 2 ด้าน หรือกระบอกแบบ PUSH PULL ก้านลูกสูบยื่นผ่านทั้งสองด้านของกระบอกลมทำให้แรงและความเร็วเท่ากันทั้งสองข้าง

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ PUSH PULL

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีคูชชั่น: กระบอกสูบที่มีการควบคุมไอเสียเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างก้านลูกสูบและฝาปิดกระบอกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
แบบมีคูชชั่น

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบหมุนองศาหรือแอร์มอเตอร์ (AIR MOTOR) ตัวกระตุ้นที่ใช้อากาศเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบ AIR MOTOR

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ RODLESS CYLINDER: ไม่มีแกนลูกสูบ ใช้การเชื่อมต่อแบบกลไกหรือแม่เหล็กเพื่อส่งแรงไปยังอุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวอื่น ๆ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ RODLESS CYLINDER

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบกระแทก (HAMMER): กระบอกลมความเร็วสูงพร้อมฝาปิดท้ายที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกจากการยืดหดของก้านลูกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ HAMMER

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เมื่อคุณต้องการเลือกประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากคุณต้องการที่จะเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์สักชุดมาใช้ ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการใช้งานกันค่ะ

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ตรวจสอบแรงดันของอากาศภายในกระบอกลม

แรงดันอากาศที่จ่ายให้กับกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่แรงดันอากาศถูกบีบอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์เองต้องเหมาะสมกับขนาดกระบอกลม เพื่อทำงานเชิงกลที่สร้างขึ้นโดยโครงสร้างกระบอกสูบเอง ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์ คุณควรตรวจสอบแรงดันอากาศของแต่ละรุ่นด้วยว่า เหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่

ตรวจดูท่อในกระบอกนิวเมติกส์

เมื่อมีแรงดันไหลผ่านเข้ากระบอกลมนิวเมติกส์ จะทำให้กระบอกมีการเคลื่อนที่ จึงทำให้อายุการใช้งานของเสื้อสูบกระบอกลมนิวเมติกส์นั้นน้อยลงไปเรื่อยๆ และก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ดังนั้นการลดการสูญเสียแรงดันในกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพลมอัดที่ดี ต้องลดการสูญเสียแรงดันและตรวจท่อต้องเชื่อมต่อกันอย่างรอบคอบ และภายในจะต้องสะอาดด้วย

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

1. แรงดันอากาศ ต้องตรวจสอบขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะกระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กหรือกระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน และแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม หากแรงดันไม่สม่ำเสมออาจส่งผลต่อระบบและอาจเกิดความผิดพลาดเสียหายได้ อีกทั้งการมีแรงดันที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้ซีลยางชำรุดเสียหายได้

2.คุณภาพอาศต้องดี คือ ลมต้องแห้งไม่มีน้ำและเศษอื่นๆ มาเจือปนในระบบ ยกเว้นสารหล่อลื่นในระบบเท่านั้น

3. น้ำหนักของโหลด ควรมีกระบอกนิวเมติกส์ที่ให้แรงได้มากกว่าโหลด จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

4. เลือกจากความเร็วของงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ตารางคำนวณหากระบอกลม

ขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A. ประเทศอิตาลี

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม ลม คือปัจจัยหลักที่ทำให้ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic System) ทำงาน ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างแรงดันลมให้ได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็คือปั๊มลมนิวเมติกส์ และเมื่อปั๊มลมนิวเมติกส์ได้อัดอากาศจนมีแรงดันที่มากพอ ก็จะทำการส่งแรงดันลมนี้ไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ ซึ่งกระบวนการนี้ เรียกอีกอย่างว่า การจ่ายลมหรือการกระจายแรงดัน (Pressure Distribution) ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึง หลักการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

3 หลักการเดินท่อจ่ายลม

  1. การเดินท่อลมนิวเมติกส์จะต้องเป็นตามแบบการใช้งานที่เหมาะสม ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
  2. การต่อหรือแยกท่อลมนิวเมติกส์เพื่อใช้งาน จะต้องต่อจากด้านบนของท่อ Main หรือท่อแยก
  3. จุดปลายสุดของท่อลมนิวเมติกส์ควรจะมีตัวกรองปลายท่อ เพื่อระบายน้ำออกจากท่อ และป้องกันไม่ให้เกิดความชื้น

2 ลักษณะการเดินท่อจ่ายลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

  1. การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบแยกสาขา (Branch Line)

การเดินท่อจ่ายลมแบบแยกสาขา เป็นวิธีที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก และมีอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ไม่มาก เพราะการเดินท่อลักษณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในระบบนิวเมติกส์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลมตั้งแต่แรกที่มีการติดตั้งระบบนิวเมติกส์ ทำให้อุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวสุดท้ายในระบบไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

2. การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบวงแหวน (Ring Circuit)

การเดินท่อจ่ายลมแบบวงแหวน เป็นการวางท่อลมรอบโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการต่อแบบแยก และการต่อแบบวงแหวน ซึ่งการจ่ายลมด้วยวิธีแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องความดันตกได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันลมในท่อมีความสม่ำเสมอกันในทุกจุด แม้จะมีการใช้ปริมาณลมอัดที่มากก็ตาม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

ลักษณะการจ่ายลมด้วยท่ออ่อน

เป็นการจ่ายลมโดยต่ออุปกรณ์นิวเมติกส์ ระหว่างอุปกรณ์ เช่น วาล์วนิวเมติกส์ ชุดกรองลม กับ fitting เพื่อความสะดวกในการทำงานของระบบนิวเมติกส์ค่ะ ซึ่งวัสดุที่นำมาผลิตเป็นท่ออ่อนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ท่ออ่อนที่ทำจากวัสดุประเภท Polyurethane (PU) เพื่อสะดวกในการทำงานในพื้นที่จำกัด สามารถโค้งงอได้ดี
  • ท่ออ่อนที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก เช่น Nylon และ Soft Nylon เป็นต้น ซึ่งสามารถทนแรง pressure ได้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องการทำงานในพื้นที่แคบ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องหลักการและลักษณะการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นมีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้เพื่อความเหมาะสมของงาน เบื้องต้นบทความนี้ Thai-A ได้ยกเนื้อหาเกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียวที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ความรู้กันว่า เป็นอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว เป็นอย่างไร ?

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว (Single Acting Cylinders) คือ กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

ข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. ลดการใช้อากาศจากภายนอก
  2. มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ
  3. สามารถนำไปใช้งานร่วมกับวาล์วลมแบบ 3/2 ทาง(โซลินอยด์วาล์ว) ได้อย่างสะดวก ไม่ยุ่งยาก
  4. เหมาะกับงานประเภทโหลดไม่หนัก
  5. สามารถทำเป็นระบบ Safety ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ข้อเสียของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. จำกัดความยาวของระยะชักกระบอกลม
  2. ควบคุมความเร็วของกระบอกลมได้ยาก
  3. ใช้แรงดันมากกว่าตัวรุ่นลมเข้า2ทาง
  4. ไม่เหมาะสมกระบอกลมที่ต้องการความเร็งสูง
  5. สปริงมีอายุในการใช้งานที่ต่ำ
  6. ไม่เหมาะกับโหลดหนักๆ หรืองานที่ต้องการใช้แรงดันมากๆ

ดังนั้นกระบอกลมนิวเมติกส์จึงมีส่วนสำคัญในงานระบบอัตโนมัติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีกระบอกลมนิวเมติกส์ มีให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม มีหลากหลายรุ่น หลากหลายรูปแบบ เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็ก กระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน การเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ไปใช้งานจึงควรคำนึงถึงแรงที่กระบอกลมนิวเมติกส์ต้องรองรับน้ำหนัก และลักษณะของการติดตั้งด้วย

ตัวอย่างกระบอกลม

ขอขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A, Italy

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำเอาความรู้จากการค้นพบและพัฒนาวิธีในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม มาใช้ในกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องบรรจุ และเครื่องลำเลียงขนถ่ายวัสดุ โดยอาศัยหลักการง่าย ๆ ของความดันลม เพื่อให้ลูกสูบที่อยู่ในกระบอกสูบ หรือกระบอกนิวเมติกส์เกิดการเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเป็นพลังงานกล แต่การทำงานกับระบบนิวเมติกส์นั้น ก็มีข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

  1. ปิดลมและระบายลมออกจากระบบทุกครั้งก่อนการแก้ไขหรือตรวจเช็กวงจร
  2. ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) และอุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ ให้แน่นและมั่นคง
  3. ตรวจเช็กไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในบริเวณการเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) หรืออุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ
  4. ก่อนจ่ายลมเข้าระบบนิวเมติกส์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ข้อต่อและสายลมแน่นสนิท
  5. หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้า ต้องรายงานและแจ้งผู้ควบคุมดูแลให้ทราบ ก่อนการดำเนินการขั้นตอนไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  6. การแก้ไข ดัดแปลงอุปกรณ์ด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้ควบคุม หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  7. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ สายหรือท่อลมนิวเมติกส์
  8. ไม่ควรไว้ใจว่าอุปกรณ์ทำงานจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ยังทำการจ่ายลมอัดอยู่
  9. ไม่ควรยึดถือว่าความเร็วของอุปกรณ์ว่าจะทำงานคงที่อย่างสม่ำเสมอ
  10.  เป็นไปได้ยาก ที่จะให้มีการเคลื่อนที่แบบเป๊ะ ๆ เหมือนกับโปรแกรมที่วางไว้
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อควรคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ และทางที่ดีพนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงระบบนิวเมติกส์ควรมีความรู้และความเข้าใจกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรคำนึงในการใช้งานระบบนิวเมติกส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

บทความที่เกี่ยวข้อง

Read More
5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์ การขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์จะต้องใช้เครื่องอัดลมในการจ่ายพลังงาน แต่ในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ดังนั้นการทำงานของระบบนิวเมติกส์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  สิ่งแปลกปลอมที่มีปัญหากับระบบอัดลม มีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมามีดังนี้

1. ความชื้น ในลมอัดจะประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง หลักการแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้นสามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำให้อากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกที การทำแบบนี้จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก

2. ฝุ่นละออง สาเหตุที่มีฝุ่นละอองนั้น สามารถมีได้อยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุ สนิม เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งที่มาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ แก้ไขได้โดยติดตั้งตัวกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมหลักที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอ

3. น้ำมันหล่อลื่น สิ่งนี้มักจะปะปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบในเครื่องลมอัด ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์ได้

4. ข้อบกพร่องที่เกิดจากการหล่อลื่น ในวาล์วนิวเมติกส์บางรุ่นยังคงต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่างๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไม่เหมาะสม เพราะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอุดตันภายในตัวเก็บเสียงได้

5. สารออกไซด์ เป็นสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากระบบลูกสูบทำงาน จะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอน มาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพและเปลี่ยนตามเวลากำหนด

การจัดการบำรุงรักษานิวเมติกส์

อุปกรณ์นิวเมติกส์ทุกชิ้น จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะตามเวลาการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายในระบบนิวเมติกส์

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และ ปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบนิวเมติกส์ได้มีบทบาทชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมน้ำมัน, อุตสาหกรรมการแปรรูป ผลิตเครื่องจักร บรรจุหีบห่อ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือกล ระบบหุ่นยนต์ เป็นต้น

ระบบนิวเมติกส์ คือ การนำเอาพลังงานจากลมอัดมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนิวเมติกส์ และการนำลมอัดของระบบนิวเมติกส์มาใช้งานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลมอัดให้มีความบริสุทธิ์ที่สุด (Compressed Air Purification System) ด้วยการทำให้ลมอัดมีความแห้งสะอาด และมีอุณหภูมิที่ต่ำ ปราศจากฝุ่น ความชื้น ละอองน้ำ น้ำมัน และกลิ่นต่างๆ นั่นเอง

แม้กระทั่งวงการแพทย์ที่มีการใช้งานของระบบนิวเมติกส์ในการรักษาคนไข้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาการอัดลมที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากกลิ่น น้ำมันเพื่อความปลอดภัยของคนไข้

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ก่อนมีการทำการเตรียมลมอัดที่สะอาดเพื่อนำไปใช้งานนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตของงานที่จะนำลมอัดไปใช้ ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสม จะเห็นว่าหากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบนิวเมติกส์ภายในหน่วยงานหรือโรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้งาน เปรียบเสมือนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอุปกรณ์นิวเมติกส์ไปในตัว เนื่องจากลมอัดที่สะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงอีกทางด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More