การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้

การทำงานของรถตัดอ้อย
  1. สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยและรถบรรทุกอ้อยเกิดพลิกคว่ำหรือติดหล่มในขณะทำงาน และการที่มีก้อนหิน ตอไม้ ต้นไม้ในแปลงอ้อยจะทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยหรือชุดใบมีดสับท่อนของรถตัดอ้อยเกิดการเสียหายได้
  2. ขนาดแปลงอ้อย ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องกลับรถเพื่อขึ้นแถวใหม่บ่อย ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันมากขึ้น
  3. ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อยควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้ เนื่องจากต้องข้ามแถวอ้อยที่มีความสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลและอาจพลิกคว่ำได้
  4. ถนนข้างแปลงอ้อย เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย จากนั้นรถตัดอ้อยจะต้องถอยกลับมาเพื่อลำเลียงอ้อยใส่รถบรรทุกที่จอดอยู่บริเวณนอกแปลง ส่งผลให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมัน
  5. ระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตรจะ ส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ในการปลูกอ้อยโดยเปล่าประโยชน์
  6. สันร่องหรือสันแถวอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า พื้นดินใบมีดตัดโคนของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้ถึงโคนอ้อย เป็นผลให้ตออ้อยเหลือยาวเกินไป

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์

กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ (Pneumatic Air Cylinder) หรือเรียกอีกชื่อว่า Actuator คืออุปกรณ์ที่ใช้ลมทำให้ก้านกระบอกลมเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง หรือหมุน 90, 180, 270 หรือ 360 องศา เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกลในรูปแบบของการเคลื่อนที่โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนที่ได้ 3 ประเภท คือ

1. กระบอกลูกสูบลม (Cylinder) ทำงานตามแนวเส้นตรง

2. กระบอกลม (Air Cylinder) ทำงานตามแนวเส้นรอบวง

3. กระบอกลมนิวเมติกส์ทำงานแบบพิเศษ (Special Actuator)

คือกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีลักษณะการทำงานแตกต่างจาก 2 ประเภทที่กล่าวมา กระบอกลมนิวเมติกส์แต่ละชนิดจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน

กระบอกลมนิวเมติกส์
กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ Air Cylinder ประเภทต่างๆ

  1. กระบอกลมมาตรฐาน (Standard Cylinder)
    โครงสร้างของกระบอกจะผลิตด้วยวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมเหลว ที่ถูกอัดลงบนแม่พิมพ์กระบอกลมอีกทีหนึ่ง กระบอกลมประเภทนี้จะมีมาตรฐาน ISO 15552 มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน เช่น กระบอกลมแบบติดวาล์วควบคุมทิศทาง (Pneumatics Control), กระบอกลมแบบสี่เสา(Tie Red Type Cylinders), กระบอกลมแบบโปรไฟล์ (Profile Type Cylinders) และกระบอกลมที่เป็นแบบล็อคก้านสูบได้ (Lock Cylinder)
  2. กระบอกลมขนาดเล็ก (Mini Cylinder)
    เหมาะสำหรับงานที่ใช้แรงดันลมไม่มากนัก งานสร้างสำหรับงานเฉพาะทาง โดยมีขนาดต่างๆ เช่น กระบอกลมแบบมินิ (Mini Cylinders), กระบอกลมปากกา (Pen Sign Cylinders)
  3. กระบอกลมแบบคอมแพค (Compact Cylinder)
    มีความโดดเด่นในเรื่องประสิทธิภาพการใช้งาน รูปแบบของกระบอกจะเป็นแบบสี่เหลี่ยม แบบทรงแผ่น และแบบมีเพิ่มก้านนำทาง
    1. กระบอกลมแบบไม่มีก้านสูบ (Rodless Cylinders)
      มีความแตกต่างจากกระบอกลมประเภทอื่นตรงที่ไม่มีก้านลูกสูบ มีการใช้งานกันอยู่ 2 ประเภท คือ
      – แบบแมคคานิคอลจ๊อย(Mechanically Jointed Rod less Cylinder)
      – แบบใช้แรงดูดของแม่เหล็ก (Magnetically Coupled Cylinder)
      การทำงานของกระบอกลมชนิดนี้คือ กระบอกลมจะเคลื่อนที่บนแกนเพลาที่ยึดหัวเเละท้าย เคลื่อนที่ได้จากแรงของแม่เหล็กที่เคลื่อนที่ไป-มาอยู่ตลอดเวลา กระบอกลมชนิดนี้เหมาะกับงานที่ต้องการช่วงชักยาว
  4. กระบอกลมแบบเลื่อน/สไลด์ (Slide Table Cylinder)
    คุณสมบัติเด่นของกระบอกลมชนิดนี้คือ สามารถเลื่อนได้ (Slide Table Air Cylinder) ซึ่งกระบอกลมประเภทอื่นทำไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    1. แบบแผ่นเลื่อนความแม่นยำสูง (Air Slide Table/Precision Cylinder)
    2. แบบเลื่อนยาว (Air Slide Table/Long Stroke)
    3. แบบเลื่อนชนิดคอมแพ็ค (Compact Air (Cylinder) Slide Table) สามารถปรับแต่งช่วงชัก หรือตำแหน่งการติดตั้งได้อย่างอิสระ


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Thaiacontact
Read More
ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น ระบบนิวเมติกส์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยชุดต้นกำลังในที่นี้เรานิยมเรียกว่า “ปั๊มลม” ทำหน้าที่ส่งลมอัดให้กับอุปกรณ์

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น ระบบลมอัดหรือระบบนิวเมติกส์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยชุดต้นกำลังในที่นี้เรานิยมเรียกว่า “ปั๊มลม” ปั๊มลมจะทำหน้าที่ส่งลมอัดให้กับอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ จากปั๊มลมไปสู่เครื่องระบายความร้อน > ไปสู่เครื่องทำลมแห้ง > ไปสู่ชุดกรองลม > ไปสู่วาล์วลม > ไปสู่กระบอกลมนิวเมติกส์หรือมอเตอร์หรือหัวขับลม ทำให้ระบบทำงานได้

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

เริ่มต้นจากอุปกรณ์ตัวแรก

  1. เครื่องอัดลม (air compressor) เป็นตัวที่จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานลมอัด เพื่อที่จะสร้างความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ อาจจะแบ่งเครื่องปั้มลมออกได้ 3 ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตัวปั๊มลมจะสร้างความดันลมอัดได้ระหว่าง 1-16 บาร์(bar) (หรือบางรุ่นอาจจะสร้างความดันได้มากกว่า 16บาร์ขึ้นไป) ส่วนมากอุปกรณ์นิวแมติกส์จะใช้แรงดันอยู่ไม่เกิน 10 บาร์(bar)
  2. เครื่องระบายความร้อนลมอัด (heal exchanger) เนื่องจากเครื่องอัดลมทำงานโดยอัดอากาศจากความดันบรรยากาศปกติ ให้มีความดันสูงจึงมีความร้อนสะสมในระบบมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดอุณหภูมิของลมอัด ก่อนที่จะนำไปใช้งานกับระบบนิวเมติกส์
  3. เครื่องทำลมให้แห้ง (air dryer) เนื่องจากความกดอากาศที่สูงภายในระบบลมอัด  จึงมีความชื้นปะปนอยู่มาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเอาความชื้นออกจากลมอัดให้ได้มากที่สุด เพื่อยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
  4. กรองลม (air filter)มีความสำคัญมากในระบบลม จะมีหน้าที่กรองน้ำ กรองเศษฝุ่น/ผงเล็กๆ ก่อนเข้าสู่ระบบจะช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
  5. วาล์วลดความดัน (pressure regulator valve)มีความสำคัญมากในระบบลมเช่นเดียวกันเพราะอุปกรณ์บางอย่างออกแบบสำหรับรับแรงดันไม่เท่ากัน ดั้งนั้นการลดแรงดันให้เหมาะสม และการปรับให้ถูกต้อง ช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
  6. อุปกรณ์จ่ายน้ำมันหล่อลื่น (oil lubricator) เนื่องจากอุปกรณ์นิวเมติกส์ส่วนใหญ่ เช่น วาล์วลม, กระบอกลมนิวเมติกส์, หัวขับลม ต้องการน้ำมันในการหล่อลื่นถ้าหากไม่มีการหล่อลื่นแล้ว อุปกรณ์จะเสียหายเร็วมาก แต่ในงานนิวเมติกส์บางประเภท เช่นระบบนิวเมติกส์งานอาหาร หรือ งานที่ต้องใช้ลมเข้าไปเป็นส่วนผสมเราจึงไม่ต้องการน้ำมันให้เข้าไปสู่ระบบเด็ดขาด…… ดั้งนั้นเวลาเลือกอุปกรณ์ประเภทนี้ ต้องคำนึงถึงการใช้งานด้วย
  7. อุปกรณ์เก็บเสียง (air silencer) ลมอัดเมื่อถูกใช้งานแล้วจะระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศ โดยออกมาทางรูระบาย ถ้าไม่มีตัวเก็บเสียงมาติดตั้งที่รูระบายแล้ว เมื่อลมอัดถูกระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศจะมีเสียงดัง วาล์วเก็บเสียงบางรุ่นยังถูกออกแบบให้สามารถ ปรับอัตราการไหลของลมได้อีกด้วย จะทำให้เราควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์หรือหัวขับลมหรือมอเตอร์ลม ได้อีกด้วย
  8. วาล์วเปลี่ยนทิศทางลม (air flow change valve) เป็นหัวใจสำคัญของระบบเลยก็ว่าได้ วาล์วลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางลมตามความต้องการของเราโดยเฉพาะการควบคุมกระบอกลม
  9. วาล์วบังคับความเร็ว (speed control valve) วาล์วตัวนี้จะทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของลม (ไม่ใช่ปรับแรงดันลม) ให้เข้าสู่ระบบมากหรือน้อยตามต้องการได้ ส่งผลให้เราบังคับความเร็วของอุปกรณ์ได้เช่น กำหนดความเร็วของการเคลื่อนที่แกนกระบอกลมได้ กำหนดความเร็วของหัวขับลมได้
  10. กระบอกสูบ (air cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์จะทำหน้าที่เปลี่ยนจากพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล พูดง่ายๆคือ เอาลมจ่ายเข้าที่ท้ายกระบอกลมจะไปผลักลูกสูบ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ แกนที่ติดกับลูกสูบก็จะเคลื่อนที่ไปด้วย เราจะนำประโยชน์ตรงนี้ไปใช้งานโดย การผลัก/ดัน/ดึง ชิ้นงาน

วาล์วและสัญลักษณ์ในระบบนิวเมติกส์

ตาราง การกำหนดตำแหน่งห้อง ของวาล์ว

ตาราง สัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทาง

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้นแหล่งที่มาข้อมูล https://www.factorymartonline.com/

ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้นแหล่งที่มาข้อมูล : PNEUMAX-General-catalogue2018

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Thaiacontact

Read More