มารู้จักข้อต่อลม(Fitting)กันเถอะ

มารู้จักข้อต่อลม(Fitting)กันเถอะ

มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ

ฟิตติ้งลม Fitting คืออะไร ? ฟิตติ้งหรือข้อต่อลม คือ ข้อต่อสำหรับเสียบสายลม ที่ใช้กับระบบนิวเมติกส์โดยมีหน้าที่เป็นตัวกลางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวเมติกส์กับสายท่อลม หรือเชื่อมต่อระหว่างสายท่อลมด้วยกันเป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่สำคัญเช่นกันในระบบนิวเมติกส์

 ในปัจจุบันข้อต่อลม หรือ Fittings เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ใช้ในระบบเครื่องจักรที่มีระบบลมนิวเมติกส์ควบคุม หรือใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ มีระบบลมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะทำให้งานต่อหรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์และสายลมเป็นงานง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น เพียงแค่กดและดึงเบาๆ ก็สามารถถอดและต่อได้อีกทั้งยังราคาไม่แพง จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ข้อต่อลม หรือ Fitting มีแบบใดบ้าง ?

โดยชนิดของข้อต่อลมส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

  • ข้อต่อลมแบบพลาสติก จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นพลาสติกล้วน
  • ข้อต่อลมแบบโลหะ จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นโลหะล้วน ไม่ว่าจะเป็นทองเหลือง สแตนเลส เหล็ก เป็นต้น
  • ข้อต่อลมแบบผสม จะเป็นข้อต่อลมที่ด้านนึงเป็นพลาสติก อีกด้านเป็นโลหะ ออกแบบมาเพื่อใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวเมติกส์กับสายลมได้หลากหลายขึ้น

เลือกข้อต่อลมแบบไหนดี ?

  1. ทนแรงดันได้เหมาะสมข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดี  แน่นอนต้องทนแรงดันในโรงงาน หรือหน้างานได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว แรงดันที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0-12 Bar ดังนั้นคุณสมบัติการทนแรงดัน ไม่ควรน้อยกว่า 5 Bar นั่นเอง และควรมีการป้องกันแรงดันกระชากไม่น้อยกว่า 10 Bar เพื่อความปลอดภัย และป้องกันอุปกรณ์เสียหาย วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลม หรือ Fittings วัสดุที่ใช้ทำ ข้อต่อลม หรือ Fittings ก็สำคัญไม่แพ้กันกับการทนแรงดัน  เพราะหากใช้วัสดุเกรดไม่ดี คุณสมบัติไม่เหมาะสม ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุตามมา หากมีการรั่วขึ้นมา จะทำให้สิ้นเปลืองใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าในเครื่องปั้มลมหรือ ปั้มลมทำงานหนักเกิดการสึกเหรอเร็วกว่าปกติ ดังนั้นวัสดุที่ที่นำมาผลิตจึงมีความสำคัญมากพอสมควร  วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลมส่วนใหญ่ก็คือ PVC, PTFE, ทองเหลือง, สเตนเลส  
  2. สามารถล็อคแน่นและปลดล็อคง่าย ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดีนั้น เมื่อต้องใช้ต่อสายลม ต้องต่อได้ง่าย และเขี้ยวล็อคต้องล็อคแน่น ไม่รูด และเมื่อต้องการถอดสายลมก็ถอดได้ง่าย กดปลออดล็อคตัวล็อคได้ง่าย
มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ

3. เกลียวต้องได้มาตรฐาน ขันได้แน่น เกลียวของข้อต่อลม หรือ Fittings ต้องได้มาตรฐานขันกับเกลียวมาตรฐานทั่วไปได้ และต้องแน่น ไม่รั่วซึม ซึ่งเกลียวทั่วไปที่นิยมใช้โดยส่วนใหญ่ จะมี M5 , M6 , 1/8″ , 1/4″ , 3/8″ , 1/2″ ,3/4”,1”

มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?

การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?

ปัจจุบันนิวเมติกส์ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงได้มีชุดควบคุมระบบนิวเมติกส์เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแบ่งวงจรควบคุมออกเป็น 2 ชนิดคือ วงจรกำลัง (Power Circuit) และวงจรควบคุม (Control Circuit )โดยวงจรกําลังจะอาศัยลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกําลังเพื่อควบคุมวงจรการทํางาน ส่วนวงจรควบคุมจะใช้ตัวควบคุมได้หลายอย่าง เช่น ระบบไฟฟ้า พีแอลซีและไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นต้น

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลม
  • การควบคุมระบบนิวนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้า
  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยโปรแกรมเมเบิล ลอจิก คอนโทรเลอร์หรือ พีแอลซี (PLC)
  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller)

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลม

ระบบนิวเมติกส์ ทุกระบบจะต้องใช้ลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกําลัง การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมระบบนี้ก็เช่นกัน การทำงานจะประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม อุปกรณ์ให้สัญญาณ อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และอุปกรณ์ทำงาน แต่การทำงานในระบบนิวเมติกส์เมื่อใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ 2 กระบอกขึ้นไป การทำงานของวงจรอาจเกิดสัญญาณลมต้านจากการออกแบบระบบการทำงาน การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมที่เกิดสัญญาณลมต้าน สามารถแก้ไขได้ดังนี้

  • ใช้วาล์วลูกกลิ้งทางเดียว (Roller on way valve)
  • ใช้วาล์วให้สัญญาณลมผ่านชั่วขณะ (One Short Valve)
  • ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบเเคสเคด (Cascade Control)
  • ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบชิฟต์รีจีสเตอร์ (Shift Register Control)
การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้า

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าจะแบ่งวงจรการควบคุมออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. วงจรกาลัง (Power Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทํางานของระบบนิวเมติกส์ประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม (control unit) ชุดควบคุมคุณภาพลมอัด (Air Service Unit) โซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) ลูกสูบ (Air Cylinder) เป็นต้น
  2. วงจรควบคุม (Control Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทํางานของระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าประกอบไปด้วย สวิตช์ปุ่มกด (Pushbuttom Switch) รีเลย์ (Relay) ตัวตั้งเวลา (Timer) ตัวนับเวลา (Counter) เซ็นเซอร์ (Sensor) เป็นต้น


การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยพีแอลซี

การใช้พีแอลซีควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีความสะดวกมากในปัจจุบัน เพราะในตัวของพีแอลซีนั้น จะมี Input/Output Ports ตลอดจนอุปกรณ์ควบคุมภายใน เช่น Relay, Timer และ Counter จะเป็นอุปกรณ์ซึ่งอยู่ในซอฟต์แวร์ ทําให้การเรียกใช้หรือแก้ไขสะดวกรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย ปัจจุบันภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมพีแอลซีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ภาษา ดังนี้

  1. ภาษาบูลีน (STL ; Instruction List Boolean Logic Element)
  2. ภาษาแลดเดอร์ (Ladder Diagram)
  3. ภาษาบล็อค (Function Chart)


การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์

การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบนิวเมติกส์ในปัจจุบันยังไม่นิยมมากนัก แต่นิยมใช้ควบคุมเครื่องจักรและระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเพราะจะต้องศึกษาหลายอย่าง และรู้เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทํางานอย่างแท้จริง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐ

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน

อากาศรอบตัวเรานั้นประกอบไปด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน และก๊าซอื่น ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เป็นต้น ซึ่งในอากาศบางพื้นที่อาจมีกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ ความชื้น และสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ด้วย ทำให้เมื่อผลิตลมอัด โดยการบีบอัดอากาศจากบริเวณแวดล้อมนั้น อาจมีสิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดเข้ามาระบบนิวเมติกส์ได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีวิธีการที่มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานในการผลิตลมอัดเพื่อนำไปใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกวิธีการเตรียมลมอัดอย่างไรให้มีคุณภาพกันค่ะ

ระดับความบริสุทธิ์สำหรับอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573-1

อากาศอัดประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ อนุภาค (Particles) น้ำ (Water) และน้ำมัน (Oil) โดยสามารถจำแนกตามระดับความเข้มข้นในอากาศได้ดังนี้

ISO 8573-1:2010 [A: B: C]

  • A – particles | 0 … 8, X
  • B – water | 0 … 9, X
  • C – oil  | 0 … 4, X

แต่ในกรณีที่องค์ประกอบแสดงเป็นคลาส X (องค์ประกอบที่มีความเข้มข้นสูง) ปริมาณหรือระดับความเข้มข้นจะต้องใส่ในวงเล็บเสมอ เหมือนตัวอย่างต่อไปนี้ ISO 8573-1:2010 [4:X(15):3] สมการนี้แสดงถึงความเข้มข้นของน้ำอยู่ที่ Cw 15 g/m3 นั่นเองค่ะ

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน
ขอบคุณรูปภาพจาก Hafner-Pneumatik

ในการใช้งานลมในอุตสาหกรรมตามปกติทั่วไป คุณภาพอากาศตาม ISO 8573-1:2010 [7:4:4] ก็เพียงพอแล้วในระบบนิวเมติกส์ แต่ถ้าต้องการนำอากาศอัดไปใช้กับงานเฉพาะด้าน หรือในสภาพแวดล้อมที่แรงกว่าปกติ เช่น ใช้ในงานรถไฟในอุณหภูมิที่เย็นจัด มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ความบริสุทธิ์ของอากาศสูงขึ้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างและการเตรียมลมอัด

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างลมอัด คือการทำให้แน่ใจว่าลมนั้นไม่มีน้ำมัน (Oil-free) ให้ได้มากที่สุด ในต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการเตรียมลมอัดก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการสร้างลมอัด โดยในโรงงานผลิตต่าง ๆ สามารถมีปริมาณน้ำมันในอากาศเกินกว่า 10 มก. / ลบ.ม. ได้ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้มาจากน้ำหล่อเย็นและของเหลวหล่อลื่นในเครื่องจักร เพราะฉะนั้นคุณภาพของอากาศและลมอัดจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ณ บริเวณนั้นด้วยนั่นเองค่ะ ซึ่งตามหลักมาตรฐาน ISO 8573-1 ลมอัด หรือ oil free จะต้องมีปริมาณน้ำมัน และ oil dust ให้ได้น้อยกว่า 0.01 มก./ลบ.ม.

วิธีการเป่าแห้งลมเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์

ความชื้นมีอยู่ในอากาศเสมอ แต่จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ ยิ่งอุณหภูมิในอากาศสูงขึ้นเท่าใด ความสามารถในการกักเก็บน้ำก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้มีความชื้นอยู่ในอากาศมากนั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีในการเป่าแห้งลมอัดทางอุตสาหกรรมนั้น มีด้วยกันดังนี้

  • Deliquescent dryer ประกอบด้วยภาชนะที่บรรจุวัสดุดูดความชื้น ที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ข้อดี: ไม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม ข้อเสีย: ต้องเปลี่ยนวัสดุดูดความชื้นเป็นประจำ
  • Desiccant dryer ทำงานโดยให้อากาศไหลผ่านสารดูดความชื้น เช่น ซิลิกาเจล (silica gel) ข้อดี: ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม และสามารถรีเซ็ตง่าย ๆ โดยการเป่าน้ำออก หรือการล้างเจล ข้อเสีย: ความสามารถในการกักเก็บน้ำของเจลมีจำกัด ทำให้ต้องล้างเจลออกเป็นประจำ
  • Membrane dryer โดยต้องมีการกรองอากาศด้วยตัวกรองอากาศที่มีคุณภาพสูงก่อน ก่อนที่จะปล่อยให้ลมไหลผ่านไปยังเส้นใยในเมมเบรน เพื่อดูดความชื้นออกไป ข้อเสีย: การไหลของลมถูกจำกัดไว้ที่ 1,000 ลิตร / นาที
  • Refrigerated dryer เป็นไปตามหลักการที่ว่า อากาศที่เย็นกว่าจะสามารถอุ้มน้ำได้น้อยกว่า อากาศคลายความร้อนออก ทำให้ลมเย็นลงไปถึง 3 องศา และเมื่ออากาศเย็นลง จะสูญเสียน้ำและน้ำมันมันออกไป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์ และแล้วเราก็ได้เดินทางมาสู่ตอนสุดท้ายของซีรีส์ เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ค่ะ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะพูดถึงเรื่องการตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมด้วยแม่เหล็ก การควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ และมาตรฐานของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมนิวเมติกส์ด้วยแม่เหล็ก

ตัวเซ็นเซอร์ (Sensors) เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เนื่องจากเซ็นเซอร์จะเป็นตัวสร้างข้อมูลและควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมด ทำให้คนนำเซ็นเซอร์มาใช้ในระบบนิวเมติกส์ เพื่อตรวจจับตำแหน่งของลูกสูบ โดยเซ็นเซอร์ที่ถูกกระตุ้นโดยสนามแม่เหล็กจะถูกประกอบเข้ากับกระบอกลมนิวเมติกส์ และตรงลูกสูบก็จะมีการติดตั้งแม่เหล็กไว้ เพื่อให้เซ็นเซอร์รับสัญญาณได้นั่นเองค่ะ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของเซ็นเซอร์หรือสวิตช์ได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  • REED switch ประกอบด้วยสายเหล็กนิกเกิล (Nickel-iron wire) สองเส้น และหลอด LEDเพื่อแสดงสถานะการทำงาน
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า
  • Inductive, PNP switch โดยทั่วไปมี 3 สาย ทำงานภายในช่วงแรงดันไฟฟ้า 5 V DC ถึง 30 V DC เมื่อแม่เหล็กที่ติดตั้งอยู่ในลูกสูบเข้าใกล้สวิตช์ เซ็นเซอร์จะให้สัญญาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถใช้สวิตช์ “เปิดตามปกติ” และ “ปิดตามปกติ” ได้ โดยจะมีไฟ LED แสดงสถานะของสวิตช์ โดยการทำงานจะใช้สายสัญญาณ – ไปพ่วงกับ LOAD ซึ่งข้อดีของสวิตช์ประเภทนี้คือ มีความทนทานกว่า มีความถี่สูงกว่า REED switch นั่นเองค่ะ
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า PNP
  • Inductive, NPN switch โดยทั่วไปมี 3 สาย ทำงานภายในช่วงแรงดันไฟฟ้า 5 V DC ถึง 30 V DC เมื่อแม่เหล็กที่ติดตั้งอยู่ในลูกสูบเข้าใกล้สวิตช์ เซ็นเซอร์จะให้สัญญาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถใช้สวิตช์ “เปิดตามปกติ” และ “ปิดตามปกติ” ได้ โดยจะมีไฟ LED แสดงสถานะของสวิตช์ โดยการทำงานจะใช้สายสัญญาณ + ไปพ่วงกับ LOAD ซึ่งข้อดีของสวิตช์ประเภทนี้คือ มีความทนทานกว่า มีความถี่สูงกว่า REED switch นั่นเองค่ะ
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า NPN

การควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

ในการควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ตลอดช่วงชักนั้น เราสามารถใช้ตัวควบคุมการไหล (flow control) เพื่อควบคุมการไหลออกของอากาศช่วงระบายออกในห้องกระบอกสูบ เพื่อให้มีการเคลื่อนที่ได้อย่างคงที่และสม่ำเสมอ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบ FLOW CONTROL

มาตรฐานกระบอกลมนิวเมติกส์

มาตรฐานกระบอกลมนิวเมติกส์ที่พบมากที่สุด มีดังนี้

  • ISO 15552 / VDMA 24562 / DIN ISO 6431
  • DIN ISO 6432 กระบอกลมแบบกลม
  • ISO 21287 กระบอกลมแบบ Compact

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบในตอนจบนี้ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับอะไรอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

แอดมินได้พูดถึง Design, Diameter and stroke, และ movement  ของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods) ไปแล้วในตอนที่ 1 และในบทความนี้แอดมินจะอธิบายต่อจากครั้งก่อนเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งของกระบอกลม สัญลักษณ์ ISO และระบบกันกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งสูบกันค่ะ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 1

การแบ่งชนิดของกระบอกลมแบบมีแกน สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

1. กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting

การทำงานของกระบอกลมแบบ single จะเป็นไปในทิศทางเดียวโดยใช้อากาศอัดเท่านั้น ระยะการชัก (stroke) จะถูกจำกัดด้วยความยาวของสปริง โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมแบบ single จะให้จังหวะที่ค่อนข้างสั้น โดยกระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • กระบอกลมแบบสปริงหน้า (สปริงอยู่ระหว่างฝาหน้าและลูกสุบ)
  • กระบอกลมแบบสปริงหลัง (สปริงอยู่ระหว่างฝาหลังและลูกสูบ)

2.กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ double-acting

เป็นกระบอกลมที่ขับเคลื่อนได้ทั้ง 2 ทิศทางด้วยอากาศอัด นิยมใช้กับงานที่ต้องการให้ความยาวของจังหวะ (stroke) ยาวกว่าสปริงที่มีอยู่ในกระบอกลม โดยกระบอกลมสองทิศทางสามารถแบ่งประเภทได้หลากหลาย ดังนี้

  • Double-acting cylinders แบบมาตรฐาน
  • Double-acting cylinders พร้อมก้านสูบ 2 ด้าน (แบบ PUSH PULL )
  • Double-acting cylinders แบบไม่มีแกนหมุน
  • Multi cylinders (กระบอกลมหลายตำแหน่ง)
  • Tandem cylinders (กระบอกลมแบบควบ)

สัญลักษณ์ ISO

สัญลักษณ์ ISO ถูกคิดขึ้นเพื่อให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ และการทำงานของแต่ละประเภทได้ ซึ่งสัญลักษณ์ ISO นี้ ไม่ได้บอกถึงขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง และมาตรฐาน ISO นะคะ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

ระบบการกันการกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์

อากาศอัดสามารถเข้าสู่กระบอกลมด้วยความเร็วสูงได้ และหากลูกสูบไปชนฝา หรือหัวกระบอกด้วยความเร็วแล้ว อาจทำให้กระบอกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา กระบอกลมนิวเมติกส์ส่วนใหญ่จะติดตั้งโช้คอัพ หรือตัวกันกระแทก เพื่อลดความเร็วของลูกสูบ

การลดแรงกระแทกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • การใช้โช้คอัพแบบยืดหยุ่น (shock absorbers) ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดในการหลีกเลี่ยงการกระแทกอย่างหนัก โดยประกอบวัสดุที่อ่อนนุ่มระหว่างลูกสูบกับฝาปิด ในรูปแบบของวงแหวนซึ่งมักทำจากโพลียูรีเทน จึงมีการดูดซับแรงกระแทกได้ดี แต่วิธีนี้ต้องใช้กับกระบอกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างเล็ก และห้ามนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่า  โช้คอัพแบบยืดหยุ่นจะเน้นด้วยลูกศรสีแดงตามรูปภาพด้านล่าง
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2
รูปกระบอกแบบที่ติดกับ shock absorbers

ระบบกันกระแทกแบบปรับได้ (adjustable cushion)  จะใช้ในกรณีที่มีการรับแรงมากขึ้นเนื่องจากความเร็วที่สูงขึ้นหรือกระบอกลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยระดับการกันกระแทก หรือการลดความเร็วนั้น สามารถปรับได้ที่ปลายกระบอกลมทั้งสองข้าง ตามรูปภาพข้างล่าง

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบในตอนที่ 2 หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายของซีรีย์นี้ แอดมินจะพูดถึงการตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมด้วยแม่เหล็ก การควบคุมความเร็ว และมาตรฐานสากลของกระบอกลมนิวเมติกส์ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

กระบอกลมนิวเมติกส์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบนิวเมติกส์ เพราะกระบอกลมนิวเมติกส์จะเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานลมเป็นพลังงานกล โดยที่ถูกอัดไว้ หรือ compressed air ไปสู่การเคลื่อนไหว ของกระบอกลมต่อไป
โดยกระบอกลมนิวเมติกส์สามารถแบ่งประเภทได้ตาม:

  1. Design – การออกแบบ
    กระบอกลมพร้อมแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods)
    กระบอกลมแบบไม่มีก้าน (Rodless cylinders)
    กระบอกลมไดอะแฟรม (Diaphragm cylinders)
    กระบอกลมโรตารี (Rotary cylinders)
  2. Movement – การเคลื่อนที่
    • เชิงเส้น (Linear)
    • แบบหมุน (Rotary)
  3. Function – การทำงาน
    • Single-acting
    • Double-acting
    • 3- or 4-positions
  4. Cushioning – การกันการกระแทก
    • ปรับแรงกระแทกด้วยลม (Adjustable, pneumatic cushioning)
    • การกันกระแทกที่ยืดหยุ่น (Flexible cushioning)
    • ไม่มีการกันกระแทก (Without cushioning)
    เราจะเห็นได้ว่ากระบอกลมนิวเมติกส์สามารถแบ่งออกได้หลากหลายมาก แต่ในบทความนี้ แอดมินจะขอโฟกัสกับกระบอกลมที่พบบ่อยมากที่สุด นั่นก็คือกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods)

Design ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแกนลูกสูบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีก้านลูกสูบส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนดังนี้

  • ท่อ (Tube) ที่ปิดทั้งสองด้านด้วยฝาปิดและส่วนหัว
  • ภายในท่อที่เห็นด้านล่างแกนลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยลูกสูบของกระบอก (Drive piston)

การเคลื่อนที่ของลูกสูบจะถูกกระตุ้นโดยอากาศอัดซึ่งควบคุมโดยวาล์วปรับทิศทาง ซึ่งทิศทางจะถูกกำหนดโดยห้องที่อนุญาตให้อากาศอัดไหลภายในกระบอกลม และแรงจะถูกถ่ายเทด้วยแกนลูกสูบ ตามรูปภาพข้างล่าง

รูปภาพ กระบอกลมที่มีระบบ คูชชั่น

เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นโครง (Diameter and stroke) ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ

Diameter คือเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ ซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกลมนิวเมติกส์จะเป็นตัวกำหนดแรงที่สัมพันธ์กับความดันอากาศ

Stroke คือจังหวะ จะเป็นตัวบอกเราว่าลูกสูบยาวกี่มิลลิเมตร เพื่อให้แกนลูกสูบเคลื่อนที่ได้ตามระยะความยาวของลูกสูบ

ซึ่ง 2 ตัวนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยเราสามารถอ่านค่า Diameter ,Rod และ Stroke ได้ดังนี้ เช่น กระบอกลม DIP: 40/16×250

  • DIP คือประเภทของกระบอกลม / การออกแบบ (DIP = มาตรฐาน ISO 15552 – กระบอกสูบสองชั้น – ตัวกันกระแทกแบบปรับได้ – ลูกสูบแม่เหล็ก)
  • 40 คือเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบ [มม.]
  • 16 คือ ขนาดแกนของกระบอกลม(มม.)
  • 250 คือระยะชักของกระบอกลม [มม.]

การเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ

เราเรียกตำแหน่งปลายทั้งสองของกระบอกลมนิวเมติกส์ว่า ตำแหน่งบวก (positive / plus) และตำแหน่งลบ (negative / minus) โดยตำแหน่งที่แกนลูกสูบอยู่นอกกระบอกลมนิวเมติกส์มากที่สุดจะเรียกว่าตำแหน่งปลายบวก และเมื่อแกนลูกสูบอยู่ข้างในกระบอกลมนิวเมติกส์มากที่สุดจะเรียกว่าตำแหน่งปลายลบ ตามรูปภาพข้างล่างนี้

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1
รูปการทำงานของกระบอกลม

ในตอนที่ 1 นี้แอดมินจะขอพูดถึงแค่การเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ และในตอนต่อไปแอดมินจะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งของกระบอกลม สัญลักษณ์ ISO และการกันกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งสูบกันค่ะ อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันด้วยนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Read More
4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

แม้ว่ากระบอกลมนิวเมติกส์จะมีลักษณะรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะอยู่ใน 4 หมวดหมู่หลัก ๆ ที่แอดมินจะบอกในบทความนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อกระบอกสูบนิวเมติกส์ตอบสนองการทำงานเฉพาะทางค่ะ แต่ในบทความนี้แอดมินจะขอพูดถึง 4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบนิวเมติกส์

1.กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Single-acting Cylinders

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบชั้นเดียว เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

2. กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบสองทาง หรือ Double-acting Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงของอากาศในการเคลื่อนที่ 2 ทาง ทั้งในการยืดและการหด stroke  ซึ่งข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง คือความยาวระยะชักในการออกแบบนี้จะมีไม่จำกัดค่ะ เพียงแต่แกนลูกสูบ หรือ piston rod จะมีความเสี่ยงในการโก่งและงอมากกว่ากระบอกสูบประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรทำการคำนวณเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

3.Multi-stage, Telescopic Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบเหลื่อม หรือที่เรียกกันว่ากระบอกสูบแบบยืดสไลด์ สามารถเป็นได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบสองชั้น ซึ่งประกอบด้วยแกนลูกสูบที่ซ้อนกันอยู่ภายในจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งสามารถทำระยะชักได้หลากหลายในตัวเดียวกัน โดยประโยชน์หลักของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบนี้ คือ ประหยัดเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บของตัวกระบอกและความยาวได้มากกว่ากระบอกทั้งแบบทางเดียวและกระบอกแบบ 2 ทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปตัวอย่าง กระบอกแบบ Telescopic

4.กระบอกสูบนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ

แม้ว่ากระบอกลมแบบทางเดียว และ กระบอกลมแบบสองทาง จะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ก็ยังมีกระบอกลมประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเป็นกระบอกลมแบบเฉพาะทางค่ะ

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน 2 ด้าน หรือกระบอกแบบ PUSH PULL ก้านลูกสูบยื่นผ่านทั้งสองด้านของกระบอกลมทำให้แรงและความเร็วเท่ากันทั้งสองข้าง

รูปกระบอกแบบ PUSH PULL

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีคูชชั่น: กระบอกสูบที่มีการควบคุมไอเสียเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างก้านลูกสูบและฝาปิดกระบอกลม

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
แบบมีคูชชั่น

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบหมุนองศาหรือแอร์มอเตอร์ (AIR MOTOR) ตัวกระตุ้นที่ใช้อากาศเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบ AIR MOTOR

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ RODLESS CYLINDER: ไม่มีแกนลูกสูบ ใช้การเชื่อมต่อแบบกลไกหรือแม่เหล็กเพื่อส่งแรงไปยังอุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวอื่น ๆ

รูปกระบอกแบบ RODLESS CYLINDER

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบกระแทก (HAMMER): กระบอกลมความเร็วสูงพร้อมฝาปิดท้ายที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกจากการยืดหดของก้านลูกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ HAMMER

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เมื่อคุณต้องการเลือกประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากคุณต้องการที่จะเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์สักชุดมาใช้ ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการใช้งานกันค่ะ

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


ตรวจสอบแรงดันของอากาศภายในกระบอกลม

แรงดันอากาศที่จ่ายให้กับกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่แรงดันอากาศถูกบีบอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์เองต้องเหมาะสมกับขนาดกระบอกลม เพื่อทำงานเชิงกลที่สร้างขึ้นโดยโครงสร้างกระบอกสูบเอง ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์ คุณควรตรวจสอบแรงดันอากาศของแต่ละรุ่นด้วยว่า เหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่

ตรวจดูท่อในกระบอกนิวเมติกส์

เมื่อมีแรงดันไหลผ่านเข้ากระบอกลมนิวเมติกส์ จะทำให้กระบอกมีการเคลื่อนที่ จึงทำให้อายุการใช้งานของเสื้อสูบกระบอกลมนิวเมติกส์นั้นน้อยลงไปเรื่อยๆ และก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ดังนั้นการลดการสูญเสียแรงดันในกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพลมอัดที่ดี ต้องลดการสูญเสียแรงดันและตรวจท่อต้องเชื่อมต่อกันอย่างรอบคอบ และภายในจะต้องสะอาดด้วย

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


เลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

1. แรงดันอากาศ ต้องตรวจสอบขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะกระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กหรือกระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน และแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม หากแรงดันไม่สม่ำเสมออาจส่งผลต่อระบบและอาจเกิดความผิดพลาดเสียหายได้ อีกทั้งการมีแรงดันที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้ซีลยางชำรุดเสียหายได้

2.คุณภาพอาศต้องดี คือ ลมต้องแห้งไม่มีน้ำและเศษอื่นๆ มาเจือปนในระบบ ยกเว้นสารหล่อลื่นในระบบเท่านั้น

3. น้ำหนักของโหลด ควรมีกระบอกนิวเมติกส์ที่ให้แรงได้มากกว่าโหลด จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

4. เลือกจากความเร็วของงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ความเร็วต่ำ 4 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่า 25% ของโหลด
  • ความเร็วปานกลาง 4-6 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่า 50% ของโหลด
  • ความเร็วต่ำ 16 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่าของโหลด 2 เท่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตารางคำนวณหากระบอกลม

ขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A. ประเทศอิตาลี

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ลม คือปัจจัยหลักที่ทำให้ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic System) ทำงาน ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างแรงดันลมให้ได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็คือปั๊มลมนิวเมติกส์ และเมื่อปั๊มลมนิวเมติกส์ได้อัดอากาศจนมีแรงดันที่มากพอ ก็จะทำการส่งแรงดันลมนี้ไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ ซึ่งกระบวนการนี้ เรียกอีกอย่างว่า การจ่ายลมหรือการกระจายแรงดัน (Pressure Distribution) ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึง หลักการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

3 หลักการเดินท่อจ่ายลม

  1. การเดินท่อลมนิวเมติกส์จะต้องเป็นตามแบบการใช้งานที่เหมาะสม ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
  2. การต่อหรือแยกท่อลมนิวเมติกส์เพื่อใช้งาน จะต้องต่อจากด้านบนของท่อ Main หรือท่อแยก
  3. จุดปลายสุดของท่อลมนิวเมติกส์ควรจะมีตัวกรองปลายท่อ เพื่อระบายน้ำออกจากท่อ และป้องกันไม่ให้เกิดความชื้น

2 ลักษณะการเดินท่อจ่ายลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

1.การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบแยกสาขา (Branch Line)

การเดินท่อจ่ายลมแบบแยกสาขา เป็นวิธีที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก และมีอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ไม่มาก เพราะการเดินท่อลักษณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในระบบนิวเมติกส์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลมตั้งแต่แรกที่มีการติดตั้งระบบนิวเมติกส์ ทำให้อุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวสุดท้ายในระบบไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

2. การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบวงแหวน (Ring Circuit)

การเดินท่อจ่ายลมแบบวงแหวน เป็นการวางท่อลมรอบโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการต่อแบบแยก และการต่อแบบวงแหวน ซึ่งการจ่ายลมด้วยวิธีแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องความดันตกได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันลมในท่อมีความสม่ำเสมอกันในทุกจุด แม้จะมีการใช้ปริมาณลมอัดที่มากก็ตาม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

ลักษณะการจ่ายลมด้วยท่ออ่อน

เป็นการจ่ายลมโดยต่ออุปกรณ์นิวเมติกส์ ระหว่างอุปกรณ์ เช่น วาล์วนิวเมติกส์ ชุดกรองลม กับ fitting เพื่อความสะดวกในการทำงานของระบบนิวเมติกส์ค่ะ ซึ่งวัสดุที่นำมาผลิตเป็นท่ออ่อนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ท่ออ่อนที่ทำจากวัสดุประเภท Polyurethane (PU) เพื่อสะดวกในการทำงานในพื้นที่จำกัด สามารถโค้งงอได้ดี
  • ท่ออ่อนที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก เช่น Nylon และ Soft Nylon เป็นต้น ซึ่งสามารถทนแรง pressure ได้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องการทำงานในพื้นที่แคบ

บทความที่เกี่ยวข้อง


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องหลักการและลักษณะการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นมีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้เพื่อความเหมาะสมของงาน เบื้องต้นบทความนี้ Thai-A ได้ยกเนื้อหาเกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียวที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ความรู้กันว่า เป็นอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว เป็นอย่างไร ?

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว (Single Acting Cylinders) คือ กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

ข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. ลดการใช้อากาศจากภายนอก
  2. มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ
  3. สามารถนำไปใช้งานร่วมกับวาล์วลมแบบ 3/2 ทาง(โซลินอยด์วาล์ว) ได้อย่างสะดวก ไม่ยุ่งยาก
  4. เหมาะกับงานประเภทโหลดไม่หนัก
  5. สามารถทำเป็นระบบ Safety ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ข้อเสียของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. จำกัดความยาวของระยะชักกระบอกลม
  2. ควบคุมความเร็วของกระบอกลมได้ยาก
  3. ใช้แรงดันมากกว่าตัวรุ่นลมเข้า2ทาง
  4. ไม่เหมาะสมกระบอกลมที่ต้องการความเร็งสูง
  5. สปริงมีอายุในการใช้งานที่ต่ำ
  6. ไม่เหมาะกับโหลดหนักๆ หรืองานที่ต้องการใช้แรงดันมากๆ

ดังนั้นกระบอกลมนิวเมติกส์จึงมีส่วนสำคัญในงานระบบอัตโนมัติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีกระบอกลมนิวเมติกส์ มีให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม มีหลากหลายรุ่น หลากหลายรูปแบบ เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็ก กระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน การเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ไปใช้งานจึงควรคำนึงถึงแรงที่กระบอกลมนิวเมติกส์ต้องรองรับน้ำหนัก และลักษณะของการติดตั้งด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างกระบอกลม

ขอขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A, Italy

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More