เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ เนื่องจากแรงงานคนหายากขึ้นทุกวัน

เรื่องน่ารู้จาก Thai-A ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

เรื่องน่ารู้จาก Thai-A ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

รถตัดอ้อย เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ เนื่องจากแรงงานคนหายากขึ้นทุกวัน และมีความสามารถตัดอ้อยด้อย่างน้อยวันละ 10-20 ไร่ รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคน 5-10 เท่า ช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยและผลิตน้ำตาลได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ใบอ้อยที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันไฟ ซึ่งเป็นฝุ่นละอองเล็กที่ทำลายสุขภาพของมนุษย์และทำลายคุณภาพอากาศอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากรถตัดอ้อยมีกลไกการทำงานที่ครบวงจรสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อย ตั้งแต่กระบวนการดึงรวบต้นอ้อยที่ล้มอยู่กับพื้นดิน เข้าสู่กระบวนการตัดโคนและสับท่อน รวมทั้งลำเลียงท่อนอ้อย เนื่องจากตัวรถตัดอ้อยจะมีภาชนะรองรับสำหรับตัวท่อนอ้อยที่ผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวทั้งหมด โดยลำเลียงผ่านสายพานขึ้นไปพ่นใส่รถสิบล้อที่ขับคู่ขนานมาด้านข้างเพื่อรองรับท่อนอ้อยที่ตัดเสร็จแล้ว เพื่อนำไปสู่กระบวนการขนส่งต่อไปยังโรงงานน้ำตาล เพื่อทำการหีบน้ำตาลวันต่อวันค่ะ

ซึ่งในส่วนประกอบของรถตัดอ้อยนั้นจะมีด้วยกันดังนี้

เครื่องยนต์

เป็นต้นกำลังของรถตัดอ้อยให้ทำงานได้ การเลือกแรงม้าที่เหมาะสมมีผลต่อระบบการทำงานของรถตัดอ้อย ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

เครื่องยนต์สำหรับรถตัดอ้อย

สกรูเกลียวไว้สำหรับดึงรวบต้นอ้อย

ตัวสกรูเกลียวจะสามารถหมุนรอบตัวเองได้ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ 2 อัน สกรูคู่ตัวนอกใช้สำหรับเก็บอ้อยที่ล้มอยู่กับพื้นดิน เพื่อจัดให้เข้าสู่ช่องการตัดของรถตัดอ้อย ทำให้สามารถเก็บอ้อยได้หมดจดทุกต้นที่ล้มระเนระนาดกับพื้นให้เข้าสู่กระบวนการตัดของรถ

ชุดตัดโคนอ้อย

ในส่วนของชุดตัดโคนอ้อยซึ่งเป็นใบมีด 3 ใบ แต่มี 2 ชุดด้วยกันสามารถหมุนด้วยพลังของไฮดรอลิค เพื่อที่จะตัดโคนของต้นอ้อยให้ขาด ทำหน้าที่ดูดและดึงต้นอ้อยที่ตัดโคนแล้วป้อนเข้าสู่ใต้เครื่องรถตัด ผ่านกระบวนการของโรลเลอร์เพื่อจะริดใบและส่งต่อไปยังชุดสับท่อนอ้อย และตัวใบมีดที่ใช้หากชำรุดหรือสึกหรอสามารถเปลี่ยนได้

ชุดสับท่อนอ้อย

สามารถหมุนด้วยพลังของไฮดรอลิค เป็นโรลเลอร์ 2 ชุดที่หมุนไปพร้อมกัน โดยโรลเลอร์แต่ละตัวจะมีใบมีดอยู่ เมื่ออ้อยที่ริดใบเสร็จแล้วจะเข้าสู่โรลเลอร์สับท่อนอ้อย โดยจะสับอ้อยออกเป็นท่อนๆ มีความยาวประมาณ 20-30 ซม. จากนี้จะเข้าสู่กระบวนการของปล่องพัดลมตัวใหญ่

ปล่องพัดลมตัวใหญ่

ทำการดูดเอาใบอ้อยและเศษซากที่เหลือจากการตัด และเป่าออกไปทางปล่องลม ทิ้งกลับไปสู่พื้นดิน อีกนัยหนึ่งคือการทำให้ท่อนอ้อยสะอาดขึ้น ใบอ้อยเป็นส่วนที่ไม่มีน้ำอ้อย ไม่สามารถผลิตน้ำอ้อยได้ ซึ่งทางโรงงานน้ำตาลไม่ต้องการ ใบอ้อยที่เป่าออกมานี้สามารถนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงในภายหลังได้

ชุดสะพานลำเลียงท่อนอ้อย

ในส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นลูกกลิ้งหรือสายพานแล้วแต่รุ่นแล้วแต่ยี่ห้อ เพื่อลำเลียงท่อนอ้อยหลังจากที่ได้ผ่านปล่องพัดลมตัวใหญ่ และได้ริดใบอ้อยต่างๆ ออกหมดแล้วลงใส่บุ้งกี๋ของสายพาน สายพานนี้จะทำหน้าที่ลำเลียงท่อนอ้อยขึ้นไปสูงประมาณ 4 เมตร ผ่านปล่องพัดลมขนาดเล็กอีกตัวหนึ่งที่ปลายสะพาน เพื่อทำความสะอาดท่อนอ้อยอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็มีรถสิบล้อที่วิ่งขนานมากับรถตัดอ้อย สายพานนี้จะส่งลำเลียงหรือพ่นท่อนอ้อยไปยังรถสิบล้อ ถ้าพ่นใส่รถสิบล้อเต็มคันจะได้ท่อนอ้อยน้ำหนักประมาณ 20 ตัน เมื่อเต็มคันแล้วก็จะทำการเปลี่ยนรถสิบล้อคันใหม่เข้ามาเพื่อรองรับท่อนอ้อยต่อไป ปกติแล้วจะสามารถตัดท่อนอ้อยได้ประมาณวันละ 100-200 ตัน ขึ้นอยู่กับสภาพความหนาแน่นของต้นอ้อย

รถสิบล้อหรือภาชนะบรรจุท่อนอ้อย

ไว้สำหรับรองรับท่อนอ้อยที่ผ่านการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว หลังจากเต็มคันแล้ว จะนำส่งไปยังโรงงานน้ำตาลเพื่อทำการหีบน้ำตาลต่อไป

ล้อยาง

เป็นส่วนที่ช่วยขับเคลื่อนรถตัดอ้อย ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิคผ่านไปยังกระปุกเฟืองเพื่อขับล้อให้สามารถเดินหน้า ถอยหลัง ด้วยทรงพลังของระบบไฮดรอลิค และควบการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาของล้อยาง ด้วยระบบไฮดรอลิคที่เป็นการผ่อนแรงให้กับผู้ขับขี่ได้อย่างสะดวกสบาย ตัวล้อยางได้ออกแบบตามมาตรฐานที่มีขนาด ความหนา และความคงทนที่สามารถรองรับการขับเคลื่อนของเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเหยียบกิ่งไม้ ใบไม้ ภายในไร้อ้อย

ห้องคนขับ

ห้องควบคุมต่าง ๆ สำหรับการขับรถตัดอ้อยและปุ่มควบคุม มีมาตรวัดต่างๆ ที่สามารถแสดงผลของอุณหภูมิและแรงดันของเครื่องจักรขณะทำงาน มีความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันห้องคนขับนี้ได้มีการติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็น มีทัศนวิศัยที่ดี มีความสะดวกสบายเหมือนกับขับรถยนต์ราคาแพง

กระจกส่องหลัง

สำหรับปรับวิสัยทัศน์ในการขับรถตัดอ้อย สามารถมองได้รอบด้านของรถตัดอ้อย และยังมีกล้อง CCTV ในขณะที่ตัดอ้อยและขณะที่ป้อนท่อนอ้อย

โคมไฟหน้า-ท้าย

เป็นโคมไฟ LED ที่ให้ความสว่างสูงมาก ใช้หลอดไฟที่ประหยัดไฟ สำหรับโคมไฟหน้าสามารถปรับระดับสูง-ต่ำได้ เพื่อส่งไฟไปข้างหน้าให้ปรับระดับสูง-ต่ำได้

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เราจะมาเจาะลึกพูดถึงวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง (Hydraulic Directional Control Valve)แบ่งออกเป็นกี่ประเภทและทำหน้าที่อย่างไรบ้าง โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทของวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง แบ่งตามหน้าที่การใช้งาน

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกันกลับ (Hydraulic Check Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)
  1. แบบวิ่งทิศทางเดียว (Oneway check valve)

       ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว เช่น การติดวาล์วหน้าปั๊มไฮดรอลิค กันน้ำมันไหลย้อนกลับ ในกรณีต้องใช้ร่วมกันหลายปั๊มไฮดรอลิค

1.2 แบบวิ่งกลับได้ (Pilot operated check valve)

ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว แต่ยินยอมให้น้ำมันไหลย้อนกลับได้โดยใช้สัญญาณ pilot pressure เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้ที่รูน้ำมันท้ายกระบอกไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยก (Hydraulic Manual Control Valve) ที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports), แบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) และแบบห้ารูน้ำมัน (five-ports)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานโมบาย (mobile equipment) งานเรือ (marine equipment)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

เจาะลึก วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 2)

ที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports) และแบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) หรือที่มักเรียกว่า Port P,T,A,B มีไฟฟ้าควบคุม 220 V-AC, 12 V-DC และ 24 V-DC ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator (กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค) โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวสั่งงาน เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าพลาสติก เครื่อง Die Casting เครื่องฉีดอลูมิเนียม และงานโมบาย (mobile equipment) เช่น รถตัดอ้อย รถยกสินค้า รถขนส่งสินค้าในสนามบิน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี และบริการหลังการขายยอดเยี่ยม

ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
สาธิตวิธีใช้รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งใช้ในช่วงฤดูกาล เก็บเกี่ยวอ้อย เข้าสู่โรงงานน้ำตาล ซึ่งรถตัดอ้อยคุณภาพดีของเรามาพร้อมชุดอุปกรณ์รวมสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อยให้กับชาวไร่และผู้รับเหมางาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านมาชมการสาธิตวิธีใช้รถตัดอ้อยรุ่น  MH360 ขนาด 360 แรงม้า รุ่นขายดีจาก Thai-A กันค่ะ

1.ก่อนการตัดอ้อย

ตรวจเช็กสภาพความพร้อมของตัวเครื่องรถตัดอ้อยทุกครั้งก่อนใช้งาน

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

ควรทำการตรวจเช็กหม้อน้ำก่อนเพื่อให้ตัวเครื่องสร้างแรงดันน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องยนต์ และพาความร้อนออกจากตัวเครื่องยนต์รถตัดอ้อยได้ ต่อมาคือการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องซึ่งจะอยู่ระหว่างเครื่องยนต์และห้องคนขับ หลังจากนั้น ควรเช็กในส่วนของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์โดยสามารถสังเกตได้จากเครื่องวัดน้ำที่ติดอยู่ด้านข้างรถตัดอ้อยได้ค่ะ

2.ภายในห้องควบคุม

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

ภายในห้องควบคุมรถตัดอ้อยนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 6 แกนโยกคอนโทรล และ 11 ปุ่มควบคุมด้วยกันค่ะ เน้นระบบควบคุมแบบมือโยก (Manauld) เพื่อง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอนาคต

  • แกนโยกคอนโทรลที่ 1 สำหรับยกตัว
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 2 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 3 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 4 สำหรับการตัดยอดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 5 สำหรับยกหางรถตัดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 6 สำหรับใบโบกอ้อย หรือตัดแต่งอ้อย

11 ปุ่มควบคุมทำหน้าที่ดังนี้

  • ปุ่มที่ 1 สำหรับสับท่อนอ้อย
  • ปุ่มที่ 2 สำหรับตัดโคนอ้อย
  • ปุ่มที่ 3 ปุ่มควบคุมปุ่ม 2 ปุ่มแรก
  • ปุ่มที่ 4 สำหรับควบคุมสายพาน
  • ปุ่มที่ 5 สำหรับพัดลมตัวที่ 1
  • ปุ่มที่ 6 สำหรับพัดลมตัวที่ 2
  • ปุ่มที่ 7 สำหรับควบคุมใบมีดตัดยอด
  • ปุ่มที่ 8 และ 9 สำหรับควบคุมไฟชุดหน้า
  • ปุ่มที่ 10 และ 11 สำหรับควบคุมไฟชุดหลัง

นอกจากนั้นจะเป็นในส่วนของปุ่มสตาร์ท ปุ่มตัดดับ ปุ่มสำหรับระบบไฟ และปุ่ม Saver พร้อมชุดเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ได้ค่ะ ส่วนด้านข้างแถบคอนโทรลจะมีอีก 1 แกนคอนโทรล สำหรับเร่งพัดลมใหญ่ เป็นต้นค่ะ

มีหน้าปัดให้ตรวจสอบด้วยกัน 6 ตัวค่ะ ตรวจสอบรอบเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมัน อุณหภูมิไฮดรอลิค อุณภูมิเครื่องยนต์ ตรวจสอบน้ำมันและการชาร์จไฟชาร์จ ตามลำดับ พร้อมระบบแอร์และกล้องวงจรปิดภายในห้องควบคุมด้วยค่ะ

3.ตัวเปิด-ปิดสะพานและการเดินเครื่อง

ในส่วนของการเดินเครื่องนั้นจะขึ้นอยู่กับคันโยกตัวใหญ่ข้างพวงมาลัย ซึ่งสามารถควบคุมให้ตัวรถตัดอ้อยเดินหน้าและถอยหลังได้ พร้อมกับปุ่มเปิด-ปิดสะพานของตัวเครื่องที่จะอยู่บริเวณหัวเกียร์

จากคำแนะนำของผู้ใช้งานรถตัดอ้อย ผู้ใช้งานควรเดินตรวจสภาพโดยรอบของรถตัดอ้อยทุกครั้ง และควรบีบแตรกันไว้ทุกครั้งก่อนการขับในช่วงหรือบริเวณที่มีผู้คนอยู่โดยรอบ เพื่อให้ชาวเกษตรกรโดยรอบสามารถหลบทางการทำงานของรถตัดอ้อยได้ทันนั้นเองค่ะ

5.ช่วงสตาร์ทรถ

ควรเปิดระบบต่าง ๆ ไว้ทั้งคัน เพื่อให้ตัวน้ำมันสามารถวิ่งและทำงานได้ดีทั่วทั้งคัน ซึ่งจะเป็นผลดีในการเร่งรอบของรถตัดอ้อยค่ะ โดยผู้ใช้งานควรเปิดระบบต่าง ๆ ทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 5 นาที อยู่ที่ 1,500 ต่อรอบ แต่ในส่วนของการทำงานจริงนั้น ผู้ขับควรเร่งรอบไว้ที่อยู่ที่ 1800-2000 รอบต่อนาที

6.การวางระดับใบมีดตัดโคนอ้อย

การวางระดับของใบมีดตัดโคนอ้อยนั้น ควรวางให้อยู่ในระดับราบและเสมอกับพื้นดินเพื่อป้องกันการเกิดตออ้อย

7.การใช้งานรถตัดอ้อยแบบประหยัดน้ำมัน

ช่วงการเลี้ยวและการกลับหัวแปรง ควรเปลี่ยนความเร็วต่อรอบจาก การใช้งานปกติให้เหลือเพียงแค่ 1,500 เพื่อการประหยัดนำมันค่ะ

รีวิว รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

8.ช่วงการวิ่งข้ามร่องอ้อยและการปีนเนิน

ควรตีโค้งให้กว้างเพื่อให้ตัวล้อพ้นจากหว่างของร่องอ้อย

9.หลังการใช้งานรถตัดอ้อย

ก่อนดับตัวเครื่องผู้ขับควรตรวจเช็กอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ ควรทำการผ่อนรอบเครื่องให้อยู่ที่ 700 – 1,000 และควรรอเวลาเพื่อให้ตัวอุณหภูมิเครื่องยนต์เย็นลงอยู่ที่ 80-90 ถึงจะทำการดับเครื่องได้ค่ะ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย และมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

เจาะลึก..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง (ตอนที่ 1)

หากพูดถึงอุปกรณ์ไฮดรอลิคคงหนีไม่พ้นวาล์วไฮดรอลิคที่เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต้องมี แต่วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง Thai-A จะพามาทำความเข้าใจมากขึ้นของระบบไฮดรอลิคในหมวดวาล์วไฮดรอลิคกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Directional Control Valve วาล์วควบคุมทิศทาง

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางที่ต้องการ เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามการควบคุม

  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางด้วยไฟฟ้าแบบตรงหรือ โซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Pilot operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์ว ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงก้านวาล์วให้เคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนทิศทางของน้ำมัน โดยการเลือกขนาดของวาล์วควบคุมทิศทางจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของปั๊มเป็นหลัก โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์วชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับระบบที่มีแรงดันและอัตราการไหลที่สูง

  • วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้การโยกมือโยกเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของก้านวาล์วเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกจะมีทั้งแบบล๊อคตำแหน่ง (Ball locking) และ แบบดันกลับด้วยสปริง (Spring return) โดยวาล์วลักษณะนี้มักจะพบในระบบที่เคลื่อนที่ เช่น ในรถเพื่อการเกษตร (Mobile Equipment) หรือเรือ เนื่องจากมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และสะดวกในการควบคุมการทำงาน

  • วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไก (CAM-Operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไกที่ใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้กลไกภายในเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำมัน โดยจะมีทั้งแบบปกติเปิด (NO) และ ปกติปิด (NC)

วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม และปรับความดันในวงจรต่าง ๆ ให้มีกำลังอัดเพิ่มขึ้น หรือลดลง ได้ตามต้องการ

  • วาล์วระบาย แบบสัญญาณควบคุม ( Remote Control Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบควบคุมโดยตรง ( Direct Type Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต ( Pilot Operated Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Pilot Operated Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย ( Solenoid Controlled Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Solenoid Controlled Relief Valves )
  • วาล์วควบคุมแรงดัน รุ่น H/ HC ( H/ HC Type Pressure Control Valves )
  • วาล์วลดแรงดัน / วาล์วลดแรงดันและกันกลับ  ( Pressure Reducing Valves / Pressure Reducing and Check Valves )
  • วาล์ลดแรงดันและวาล์วระบาย  ( Pressure Reducing Valves and Relief Valves )
  • วาล์วระบายสำหรับสภาวะไม่มีโหลด ( Unloading Relief Valves )
  • วาล์วสำหรับเบรกมอเตอร์ไฮดรอลิค ( Brake Valves )
  • สวิทช์แรงดัน ( Pressure Switch )

วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล จะใช้ควบคุมความเร็วของลูกสูบโดยการปรับเปลี่ยนขนาดของช่องทางของวาล์วที่ให้น้ำมันไหลผ่าน เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้มีแรงดันที่เหมาะสมกับระบบ

  • วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียว (One way flow control valve)

วาลว์ไฮดรอลิคชนิดนี้สามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันได้เพียงทิศทางเดียว ดังนั้นจึงเป็นวาล์ว
ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหรือออกได้อย่างอิสระ

และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องของวาล์วไฮดรอลิค หรือเรื่องอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น นิวเมติกส์ แผงโซล่าเซลล์ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี และติดตาม เจาะลึก!..วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ตอนที่2 ได้ในเร็ว ๆ นี้

ติดต่อสั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานคุณที่ควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้ วาล์วไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของน้ำมัน เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์ไฮดรอลิคสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทางทำหน้าที่เลือกทิศทางการไหลของน้ำมันให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ โครงสร้างของวาล์วควบคุมทิศทางโดยวาล์วควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะตามการควบคุม วาล์วควบคุมทิศทางชนิดใช้ไฟฟ้าควบคุม(Solenoid control valves) , วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสั่งซื้อวาล์วไฮดรอลิคได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค

ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)

  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)

อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail :  webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร?

Hydraulic คืออะไร? เป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณสมบัติทางกลของของไหล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายกำลังในเชิงกลด้วยของไหลที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค การส่งกำลังในระบบไฮดรอลิคส่วนใหญ่นั้นอุปกรณ์ทำงาน(Actuator) จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ในระบบไฮดรอลิคที่เราเห็นกันส่วนมากนั้นสิ่งที่เราจะนำไปใช้คือ แรง (Force, F) ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) ไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ เช่น การหมุนจากมอเตอร์ไฮดรอลิคไปหมุนขับให้เกิดการหมุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องจักร

ข้อดีของระบบไฮดรอลิค

เครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ไฮดรอลิคเป็นส่วนประกอบนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้เป็นเพราะข้อดีของอุปกรณ์ไฮดรอลิคบางตัวที่มีดังต่อไปนี้คือ

  1. อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
    มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและกลไก อีกทั้งไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถออกแบบให้ตัวเครื่องมีแรงมากได้เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเครื่องจักร ซึ่งสามารถออกแบบให้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคสูงขึ้น ในกรณีที่ต้องการใช้แรงมากขึ้น
  2. มีความง่ายต่อการควบคุม
    เพราะว่าระบบการควบคุมในทางกลไกนั้นจะต้องมีจุดหมุน จุดต่อต่างๆ มาก อาจต้องใช้ข้อต่อและโซ่มากมาย ทำให้ยากต่อการสร้างแก้ไขและดัดแปลง แต่สำหรับระบบไฮดรอลิคแล้ว ต้องการแค่แหล่งกำเนิดแรงดัน , วาล์วเปลี่ยนทิศทาง , อุปกรณ์ทำงาน , และท่อหรือสาย ซึ่งทำให้การควบคุมระยะไกลทำได้ง่าย
  3. ง่ายต่อการควบคุมโหลด
    ถ้าหากเราติดตั้งวาล์วปลดแรงดัน (Relief Valve) ลงไปในวงจรก็จะสามารถช่วยป้องกันแรงดันที่สูงผิดปกติในวงจรได้และยังทำให้การควบคุมแรงดันเป็นไปได้อย่างดี ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่เกิดจากแรงดันสูงและควบคุมแรงดันให้คงที่ อันจะเป็นผลให้แรงที่ได้จากอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) มีความคงที่
  4. ง่ายต่อการเพิ่มอุปกรณ์ทำงาน
    สามารถที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมอุปกรณ์ทำงานได้ง่าย เพียงแค่เพิ่มจุดต่อพ่วงแล้วก็ใส่อุปกรณ์ทำงาน พ่วงไปก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมดของวงจรให้ยุ่งยาก

หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค

  1. แรงดันในระบบปิดจะมีค่าเท่ากันทุกทิศทาง แรงดันที่เกิดขึ้นกับของไหล ที่ส่งผ่านไปกระทำยังผนังของภาชนะปิด จะมีค่าเท่ากันทุกทิศทุกทางไม่ว่ารูปทรงของภาชนะนั้นจะมีรูปง่าย ๆ หรือสลับซับซ้อนแค่ไหน (ดังรูป)
Hydraulic คืออะไร? ทำความรู้จักกับไฮดรอลิคไปพร้อมกับ Thai-A

จากรูป แรงที่เกิดขึ้นในระบบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่กระบอกสูบ

ดังนั้น ในระบบไฮดรอลิค การที่เราต้องการแรงจากกระบอกไฮดรอลิคมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถทำได้โดยการออกแบบกระบอกสูบให้มีพื้นที่หน้าตัดมากน้อยตามต้องการหรือใช้ปั้มที่มีแรงดันสูง

  1. อัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค (Flow Rate of Hydraulic System)
    อัตราการไหล (Flow Rate, Q) คืออัตราการเคลื่อนที่ของน้ำมันไฮดรอลิคในอัตราส่วนปริมาตรหรือน้ำหนักต่อหน่วยเวลา โดยทั่วไปจะวัดเป็นปริมาตรของการไหลต่อหน่วยเวลาเป็นนาทีหรือวินาที แต่ที่นิยมใช้คือ ลิตร/นาที ถ้ากระบอกสูบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน กระบอกสูบที่มีอัตราการไหลมากกว่าจะเคลื่อนที่เร็วกว่า

เปรียบเทียบระบบไฮดรอลิคกับร่างกายของคน

ในร่างกายมนุษย์เรามีหัวใจเปรียบเสมือนปั้มตัวใหญ่ เรามีปอดที่เปรียบเป็นตัวฟอกเลือดเสมือนตัวกรองเลือดจากเลือดดำเป็นเลือดแดงที่สะอาด เรามีแขนมีขาที่สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ และทำงานต่างๆ เรามีสมองที่คอยคิดและสั่งการว่าจะให้แขนขาเคลื่อนที่ไปทางไหนอย่างไร เสมือนกับระบบของไฮดรอลิคดังรูป

Hydraulic คืออะไร? ทำความรู้จักกับไฮดรอลิคไปพร้อมกับ Thai-A

อุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค

อุปกรณ์ไฮดรอลิคหรือส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค คือส่วนที่นำมาประกอบกันเป็นระบบไฮดรอลิคซึ่งที่สำคัญๆ ก็มีดังต่อไปนี้

  1. ปั้มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
    ปั้มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากการหมุน ซึ่งขับโดยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวส่งน้ำมันไฮดรอลิคเข้าสู่วงจรไฮดรอลิค เมื่อใดก็ตามที่เครื่องยนต์หรือมอเตอร์หมุนปั้มก็จะทำงานไปด้วย
  2. กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)
    กระบอกไฮดรอลิคนั้นเราสามารถที่จะแบ่งได้เป็นสองประเภทตามทิศทางของแรงที่กระทำบนลูกสูบ คือ Single Acting Cylinder และ Double Acting Cylinder
  3. มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor)
    มอเตอร์ไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ทำงานที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคไปเป็นการหมุน ส่วนโครงสร้างภายในจะเหมือนกันกับปั้มไฮดรอลิค แต่การทำงานจะกลับด้านหรือตรงกันข้ามมอเตอร์ไฮดรอลิคคือจะเปลี่ยนแรงดันเป็นพลังงานกล แต่ปั้มไฮดรอลิคเปลี่ยนพลังงานกลเป็นแรงดัน
  4. ถังน้ำมันไฮดรอลิค
    คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  2. ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  3. ระบบมีความคงตัวไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  4. ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  5. อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  2. การทำงานของระบบไฮดรอลิคจะทำงานช้ากว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  3. ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  4. การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  5. เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

ระบบไฮดรอลิก

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail :  webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้

การทำงานของรถตัดอ้อย
  1. สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยและรถบรรทุกอ้อยเกิดพลิกคว่ำหรือติดหล่มในขณะทำงาน และการที่มีก้อนหิน ตอไม้ ต้นไม้ในแปลงอ้อยจะทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยหรือชุดใบมีดสับท่อนของรถตัดอ้อยเกิดการเสียหายได้
  2. ขนาดแปลงอ้อย ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องกลับรถเพื่อขึ้นแถวใหม่บ่อย ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันมากขึ้น
  3. ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อยควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้ เนื่องจากต้องข้ามแถวอ้อยที่มีความสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลและอาจพลิกคว่ำได้
  4. ถนนข้างแปลงอ้อย เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย จากนั้นรถตัดอ้อยจะต้องถอยกลับมาเพื่อลำเลียงอ้อยใส่รถบรรทุกที่จอดอยู่บริเวณนอกแปลง ส่งผลให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมัน
  5. ระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตรจะ ส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ในการปลูกอ้อยโดยเปล่าประโยชน์
  6. สันร่องหรือสันแถวอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า พื้นดินใบมีดตัดโคนของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้ถึงโคนอ้อย เป็นผลให้ตออ้อยเหลือยาวเกินไป

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์

กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ (Pneumatic Air Cylinder) หรือเรียกอีกชื่อว่า Actuator คืออุปกรณ์ที่ใช้ลมทำให้ก้านกระบอกลมเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง หรือหมุน 90, 180, 270 หรือ 360 องศา เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกลในรูปแบบของการเคลื่อนที่โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนที่ได้ 3 ประเภท คือ

1. กระบอกลูกสูบลม (Cylinder) ทำงานตามแนวเส้นตรง

2. กระบอกลม (Air Cylinder) ทำงานตามแนวเส้นรอบวง

3. กระบอกลมนิวเมติกส์ทำงานแบบพิเศษ (Special Actuator)

คือกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีลักษณะการทำงานแตกต่างจาก 2 ประเภทที่กล่าวมา กระบอกลมนิวเมติกส์แต่ละชนิดจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน

กระบอกลมนิวเมติกส์
กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder)

กระบอกลมนิวเมติกส์ Air Cylinder ประเภทต่างๆ

  1. กระบอกลมมาตรฐาน (Standard Cylinder)
    โครงสร้างของกระบอกจะผลิตด้วยวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมเหลว ที่ถูกอัดลงบนแม่พิมพ์กระบอกลมอีกทีหนึ่ง กระบอกลมประเภทนี้จะมีมาตรฐาน ISO 15552 มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน เช่น กระบอกลมแบบติดวาล์วควบคุมทิศทาง (Pneumatics Control), กระบอกลมแบบสี่เสา(Tie Red Type Cylinders), กระบอกลมแบบโปรไฟล์ (Profile Type Cylinders) และกระบอกลมที่เป็นแบบล็อคก้านสูบได้ (Lock Cylinder)
  2. กระบอกลมขนาดเล็ก (Mini Cylinder)
    เหมาะสำหรับงานที่ใช้แรงดันลมไม่มากนัก งานสร้างสำหรับงานเฉพาะทาง โดยมีขนาดต่างๆ เช่น กระบอกลมแบบมินิ (Mini Cylinders), กระบอกลมปากกา (Pen Sign Cylinders)
  3. กระบอกลมแบบคอมแพค (Compact Cylinder)
    มีความโดดเด่นในเรื่องประสิทธิภาพการใช้งาน รูปแบบของกระบอกจะเป็นแบบสี่เหลี่ยม แบบทรงแผ่น และแบบมีเพิ่มก้านนำทาง
    1. กระบอกลมแบบไม่มีก้านสูบ (Rodless Cylinders)
      มีความแตกต่างจากกระบอกลมประเภทอื่นตรงที่ไม่มีก้านลูกสูบ มีการใช้งานกันอยู่ 2 ประเภท คือ
      – แบบแมคคานิคอลจ๊อย(Mechanically Jointed Rod less Cylinder)
      – แบบใช้แรงดูดของแม่เหล็ก (Magnetically Coupled Cylinder)
      การทำงานของกระบอกลมชนิดนี้คือ กระบอกลมจะเคลื่อนที่บนแกนเพลาที่ยึดหัวเเละท้าย เคลื่อนที่ได้จากแรงของแม่เหล็กที่เคลื่อนที่ไป-มาอยู่ตลอดเวลา กระบอกลมชนิดนี้เหมาะกับงานที่ต้องการช่วงชักยาว
  4. กระบอกลมแบบเลื่อน/สไลด์ (Slide Table Cylinder)
    คุณสมบัติเด่นของกระบอกลมชนิดนี้คือ สามารถเลื่อนได้ (Slide Table Air Cylinder) ซึ่งกระบอกลมประเภทอื่นทำไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    1. แบบแผ่นเลื่อนความแม่นยำสูง (Air Slide Table/Precision Cylinder)
    2. แบบเลื่อนยาว (Air Slide Table/Long Stroke)
    3. แบบเลื่อนชนิดคอมแพ็ค (Compact Air (Cylinder) Slide Table) สามารถปรับแต่งช่วงชัก หรือตำแหน่งการติดตั้งได้อย่างอิสระ


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Thaiacontact
Read More