ส่วนประกอบของ กระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค hydraulic cylinder

กระบอกสูบไฮดรอลิค หรือ hydraulic cylinder เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจากของเหลว เป็นพลังงานกลเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ โดยมีของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนพลังงานและทำให้เครื่องจักรเกิดการเคลื่อนที่นั่นเองค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค เรามาทำความรู้จักกับประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิคกันก่อนดีกว่าค่ะ

ประเภทของกระบอกสูบไฮดรอลิค

1.กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว Single Acting Hydraulic Cylinders

กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว (SAC) เป็นกระบอกที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากการที่จังหวะการทำงานจะถูกสร้างขึ้นในทิศทางเดียวเท่านั้น ในขณะที่จังหวะไหลกลับจะใช้สปริงหรือแรงโน้มถ่วงเป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับอย่างช้า ๆ กระบอกสูบไฮดรอลิคประเภทนี้เหมาะกับงานที่ใช้โหลดไม่มากนั้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ในขณะที่ไม่มีไฟฟ้าอีกด้วย

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

2. กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง Double Acting Hydraulic Cylinders

กระบอกสูบไฮดรอลิค 2 ทาง (DAC) เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิคทั้ง 2 ทิศทางในการเคลื่อนที่ โดยทำสลับกัน ซึ่งกระบอกสูบประเภทนี้จะเหมาะกับการทำงานที่ต้องการเคลื่อนที่ในแนวตรง ระยะชักที่ยาว อีกทั้งยังสามารถควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ได้ดีกว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว (SAC) เพราะกระบอกสูบแบบ 2 ทางจะมีแรงดันที่คงที่กว่า

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

3. Telescopic Cylinders

Telescopic Cylinders คือกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ถูกออกแบบมาให้มีกระบอกสูบหลาย ๆ ชั้น ซ้อนกันอยู่ภายในจากตัวใหญ่ไล่ลงไปตัวเล็กเรื่อย ๆ ทำให้ความยาวของกระบอกสูบสามารถยืดหดได้ตามความต้องการ โดยสามารถทำงานเป็นแบบ Single หรือ Double ก็ได้ ซึ่งกระบอกสูบไฮดรอลิคตัวนี้จะเหมาะกับการใช้งานที่มีพื้นที่จำกัด

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค

ส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค มีดังนี้

ส่วนประกอบสำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค
  • กระบอกสูบส่วนฐานและกระบอกสูบส่วนหัวซึ่งเป็นส่วนหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก
  • ลูกสูบ ซึ่งเป็นตัวที่น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่าน
  • แกนซึ่งติดตั้งอยู่ที่ด้านหนึ่งของลูกสูบและเชื่อมกับส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ทำงานเชิงกล
  • ซีล (O-ring, Snap ring, Wiper seal, Piston seal) มีหน้าที่หยุดของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องส่วนประกอบของกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค

ก้านกระบอกลูกสูบ หรือ piston rod เป็นแกนลูกสูบที่มีความยาวของการกลึงที่แม่นยำของแท่งเหล็กสำเร็จรูป ที่ถูกชุบด้วยโครเมี่ยมแบบเย็น ถือเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อกระบอกสูบไฮดรอลิคและกระบอกลมนิวเมติกส์ทุกกระบอก เพราะโดยปกติแล้วก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นตัวส่งแรงที่สร้างขึ้นโดยลูกสูบ ไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องจักรที่ทำงาน และแม้ว่าก้านกระบอกลูกสูบจะเป็นส่วนที่สำคัญของกระบอกสูบไฮดรอลิค แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่งานมักจะละเลยต่อความเสียหายเล็กน้อย และใช้ก้านลูกสูบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีปัญหาที่ร้ายแรงเกินขึ้น และทำให้กระบอกสูบไฮดรอลิคเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นผู้อ่านอย่าละเลย และหมั่นตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ก้านลมสูบเกิดความเสียหายนะคะ

สาเหตุที่ทำให้กระบอกไฮดรอลิคเกิดความเสียหาย

ศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของกระบอกสูบไฮดรอลิค คือ ความเสียหายของซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคค่ะ ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้ซีล หรือก้านลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิคมีการทำงานล้มเหลว นั่นก็คือสนิม การกระแทก และการกัดกร่อนอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อไปนี้ หากกระบอกสูบไฮดรอลิคของตนไม่มีประสิทธิภาพ

  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่ต้องหยุดเครื่องจักร เพื่อซ่อมบำรุง (Maintenance Breakdown)
  • สูญเสียรายได้ จากการทำงานของเครื่องจักรในช่วงเวลานั้นไป
  • ใช้เวลาในการซ่อมบำรุงนาน (Maintenance)

ความสำคัญของก้านกระบอกลูกสูบในกระบอกสูบไฮดรอลิค


แต่ผู้ผลิต Thai-A ให้ความสำคัญและได้หาหนทางในการแก้ไขปัญหาสนิม และการกัดกร่อนอื่น ๆ ในกระบอกสูบไฮดรอลิค มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงทางเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับการกัดกร่อนจนสำเร็จ ทำให้กระบอกไฮดรอลิคของ Thai-A มีประสิทธิภาพ ทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนานอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

ระบบไฮดรอลิคก็เหมือนกับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ แต่ละชนิดก็มีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันออกไป และเป็นเครื่องจักรที่ต้องคอยตรวจเช็กบำรุงรักษาเหมือนร่างกายเราไม่แพ้กัน

การดูแลรักษาระบบไฮดรอลิคไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด การหมั่นดูแลรักษาระบบไฮดรอลิคเป็นประจำจะช่วยให้คุณคุ้นเคยกับส่วนประกอบของไฮดรอลิคและสามารถวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ส่วนประกอบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง ?

1. ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump) 

ปั๊มไฮดรอลิคใช้สำหรับเลี้ยงอัดหรือขนส่งของเหลวจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็นปั๊มใบพัปั๊มเกียร์ และปั๊มลูกสูบ ซึ่งปั๊มลูกสูบจะให้ประสิทธิภาพของแรงดันได้ดีกว่า

  • การดูแลปั้มไฮดรอลิคเบื้องต้น

ปัญหาของปั๊มไฮดรอลิคเบื้องต้นมักจะเกิดจาก ฟองอากาศในปั๊ม ปัญหานี้มักเกิดจากปั๊มไม่ได้รับน้ำมันจากถังน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสม หมั่นตรวจฟองอากาศในตัวปั๊มโดยสังเกตจากการฟังเสียงปั๊มและน้ำมันไฮดรอลิคจะเป็นฟองอากาศเมื่อใช้งานระบบไฮดรอลิค หากเกิดเสียงผิดปกติเหมือนมีสิ่งของอยู่ข้างในก็แสดงว่าตัวปั๊มมีโพรงอากาศนั่นเอง

ส่วนประกอบไฮดรอลิคที่สำคัญ พร้อมการดูแลเบื้องต้น

2. กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)

ส่วนหนึ่งของระบบไฮดรอลิคของเครื่องจักร พูดง่ายๆ ว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นตัวกระตุ้นไฮดรอลิคที่สร้างการเคลื่อนที่เชิงเส้น โดยการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนแรงดันของของเหลวไปเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล

  • การดูแลกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีซีลและวงแหวนที่อาจเสียหายได้จากแรงดันส่วนเกินและสิ่งปนเปื้อนในน้ำมัน ต้องแน่ใจว่า น้ำมันไฮดรอลิกของคุณสะอาด ตรวจสอบจุดที่แกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเคลื่อนที่เพื่อหารอยรั่วรวมทั้งความยาวของแกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเพื่อค้นหารอยบุบหรือความเสียหายอื่นที่อาจทำให้น้ำมันและความดันลดลง การบำรุงรักษากระบอกสูบที่เหมาะสมอาจจะต้องเริ่มจากต้นจาก การเลือกซื้อน้ำมันไฮดรอลิคให้เหมาะสม กับเครื่องจักรที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อให้ทั้งระบบไฮดรอลิคและกระบอกสูบไฮดรอลิคทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

3. มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

มอเตอร์ไฮดรอลิค คือ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกำลังงานไฮดรอลิคให้เป็นกำลังกล ซึ่งมีลักษณะการทำงานในแนวหมุนมีลักษณะเหมือน ปั๊มไฮดรอลิค แต่การทำงานต่างกันคือ ปั๊มไฮดรอลิคหมุนด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์เป็นตัวขับให้ปั๊มหมุนทำงาน ส่วนมอเตอร์ไฮดรอลิค จะหมุนได้ด้วยการส่งแรงดันของน้ำมันไปขับให้หมุน

การดูแลมอเตอร์ไฮดรอลิคเบื้องต้น

มอเตอร์ไฮดรอลิคก็เหมือนกับปั๊ม ดังนั้นการบำรุงรักษาหลักของคุณคือทำให้น้ำมันไฮดรอลิคสะอาดที่สุด เฟือง, ใบพัดและลูกสูบอาจมีรอยขีดข่วนจากสารปนเปื้อนซึ่งมันส่งผลให้แรงดันผิดปกติ ดังนั้นก่อนใช้งานทุกครั้ง เราแนะนำให้ตรวจสอบเพลาขับของมอเตอร์ว่ามีความเสียหายหรือรั่วซึมหรือไม่และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า รอบต่อนาทีของมอเตอร์ถูกต้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิ และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วิธีแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง

วิธีแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง

วิธีแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง

ปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในโรงงานที่มีการใช้ระบบไฮดรอลิคในการทำงาน รวมไปถึงเครื่องจักรกลทางการเกษตรต่าง ๆ ที่มีอะไหล่ปั๊มไฮดรอลิคในการขับเคลื่อน และตัวอย่างปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรงที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลเหล่านี้ ก็จะทำให้รถแม็คโครไม่มีแรง หรือรถไถยกหางไม่ขึ้น เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้ แอดมินจะมาแนะนำถึงวิธีการแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรงกันค่ะ 

วิธีแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง



เชื่อว่าผู้อ่านเคยซื้อปั๊มไฮดรอลิคใหม่ และทำการเปลี่ยนให้กับเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อให้รถไถ หรือรถแม็คโครของคุณมีกำลังขับเคลื่อนแรงขึ้น แต่สุดท้ายก็ยังคงแก้ไขไม่ได้ ใช่ไหมคะ? ซึ่งเรามีกรณีตัวอย่างจากลูกค้าที่ซื้อและเปลี่ยนเกียร์ปั๊มสามตอนใหม่ให้กับรถขุดดินขนาดเล็ก แต่ก็เกิดปัญหามีน้ำมันซึมออกมาจากคอปั๊มเมื่อทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโอริงเสื้อเป็นขุยนั่นเองค่ะ 

วิธีแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง
รูปภาพจาก https://pantip.com/topic/38514674



สาเหตุที่ทำให้โอริงเป็นขุยหรือเกิดความเสียหาย

เมื่อโอริงเจอระดับแรงดันที่สูงเกินกว่าที่โอริงจะสามารถรับได้ โอริงจะเกิดความเสียหาย และกลายเป็นขุยได้นั่นเองค่ะ ซึ่งระดับแรงดันที่สูงจนเกินไปนี้ เกิดขึ้นเพราะ Main control ค้าง จากการที่ลูกค้าไม่ได้ทำการลดระดับแรงดันเดิม (Release pressure) ออกก่อน และทำการปรับแรงดันใหม่ ก่อนที่จะสตาร์ทรถ หลังจากที่มีการเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิคตัวใหม่เข้าไป ทำให้โอริงเกิดความเสียหาย และมีน้ำมันซึมออกตรงข้างเสื้อปั๊มไฮดรอลิคนั่นเองค่ะ  

วิธีแก้ไขปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง

  • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับปั๊มไฮดรอลิค ผู้อ่านควรปฏิบัติตามคู่มือที่แนะนำมา รวมถึงทำการตรวจเช็กปั๊ม และบำรุงรักษาปั๊มไฮดรอลิคอย่างสม่ำเสมอ 
  • หากลองปรับเพ่ิ่มแรงดันของปั๊มไฮดรอลิคแล้ว แต่ก็ยังไม่มีแรงอยู่ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนำไปซ่อมบำรุงกับผู้เชี่ยวชาญ 
  • เมื่อทำการเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิคแล้ว ให้ปรับลดระดับแรงดันลงมา ก่อนที่จะสตาร์ทเครื่องจักรกล เพื่อรักษาโอริงและเสื้อปั๊มไฮดรอลิคไม่ให้เกิดความเสียหาย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องปั๊มไฮดรอลิคในวันนี้ หวังว่าผู้อ่านจะได้แนวทางในการสังเกตและแก้ไขปัญหาปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรงกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคแบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ 

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮโดรลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมไฮโดรลิค และรับผลิตกระบอกลมไฮโดรลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบ ไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิคในโรงงานอุตสาหกรรม

เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำเช่น  กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)  มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic  Motor)  ในอุตสาหกรรมนิยมใช้น้ำมันไฮดรอลิค (Hydraulic  Oil)  เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้ จึงทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพมาก


ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  • ระบบมีความเสถียรไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  • ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  • อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

  • ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  • ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  • การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เป็นบริษัทที่รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระบอกแบบ OEM ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ OEM และกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM เราก็พร้อมผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจของคุณ หากท่านใดที่สนใจผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิ และกระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิค ที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ  ซึ่งความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน ก่อนที่อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังนั่นเองค่ะ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานกับระบบไฮดรอลิค ควรสังเกตุถึงความผิดปกติของระบบ และรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึง วิธีการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิคกันค่ะ


1.ฟองอากาศปนอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค

หากพบฟองอากาศผสมอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค ควรตรวจสอบจุดสำคัญที่

  • ท่อดูด และตัวกรองไฮดรอลิคตันหรือไม่
  • ซีลคอของปั้มว่าพบจุดรั่วซึมหรือไม่
  • ระดับน้ำมันไฮดรอลิคในถังอยู่ในระดับเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
  • ท่อน้ำมันไหลกลับ ต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำมันไฮดรอลิค และระยะห่างระหว่างท่อน้ำมันไหลกลับกับท่อดูดของ
  • ปั๊มไฮดรอลิค ต้องอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม ไม่ชิดกันหรือห่างกันจนเกินไป

2. ยอยด์ต่อ (Coupling) ไม่ได้ Alignment

หากยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์ ให้ปรับตั้งศูนย์ Alignment Coupling และปรับค่า Angular torerance ให้เหมาะสม

3. อากาศรั่วเข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค

สามารถทดสอบว่าอากาศรั่วเข้าไปในปั๊มไฮดรอลิคทางช่องว่างระหว่างท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮดรอลิค

  • โดยในเบื้องต้นสามารถตรวจเช็คดูด้วยตาเปล่าว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกมาหรือไม่
  • โดยการใช้จารบีป้ายทาระหว่างหน้าแปลนท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮรอลิค เพื่อเช็คจุดรั่วซึม ผลที่ได้หากปั๊มไฮดรอลิคมีการรั่วซึมจริง เสียงปั๊มจะเงียบลง และให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนซีลและโอริง หรือประเก็นหน้าแปลนท่อดูด

4. รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

โดยส่วนใหญ่รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคจะถูกกำหนดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นออกแบบการใช้งาน จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงาน ตามสเปคของปั๊มไฮดรอลิค เพื่อใช้งานอย่างถูกต้อง

5. แรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

จริงๆ แล้วควรใช้แรงดันให้อยู่ภายในสเปคของอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่กำหนดไว้ตอนออกแบบ แต่ถ้าพบว่าแรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป ทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบเสียหาย เช่น เพลาขาด หรือปั๊มแตก ให้ทำการปรับลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค ไม่ให้เกินความต้องการของการใช้งาน เพื่อลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค

6. ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป

หากความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป ให้ทำการเปลี่ยนน้ำมันที่มีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

  1. ระบบไฮดรอลิคที่ใช้ Accumulator เกิดความผิดปกติ

หากพบความผิดปกติกับ Accumulator ให้ทำสิ่งต่อไปนี้

อันดับแรก:  ตรวจเช็คแก๊สไนโตรเจนที่ใช้เติมใน Accumulator ว่าอยู่ในค่าที่เติมไว้หรือไม่ โดยใช้หัวชุดชาร์ทแก็สทำการตรวจเช็ค

หากพบว่าไม่มีแก็สไนโตรเจนเหลืออยู่ แสดงว่าเกิดการรั่วซึม ให้ทำการแก้ไขให้พร้อมใช้งาน ตัวอย่างเช่น กรณี Accumulator เป็นแบบใช้ Bladder ก็ให้ทำการเปลี่ยน Bladder พร้อม Dynac Gas Valve และทำการชาร์ทแก็สไนโตรเจนตามสเปคของเครื่องจักร

*หมายเหตุ: หากเครื่องจักรที่ใช้ accumulator ในระบบ ก่อนทำการตรวจเช็คระบบ ให้ทำการเปิด Bypass Valve ของ Accumulator ก่อนทุกครั้ง

อันดับที่สอง:  ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าโซลีนอยด์วาล์ว สัญญาณไพล็อต และ Unloading valve ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติให้ทำการแก้ไข

7. การรั่วซึมภายในของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฮดรอลิคมากกว่าปกติ

แก้ไขง่าย ๆ โดยตรวจสอบซีลตามจุดต่าง ๆ และชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของปั๊มไฮดรอลิค วาล์ว และกระบอกสูบไฮดรอลิค เพื่อดูการสึกหรอและรอยรั่ว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และทำการเปลี่ยนใหม่ตามความเหมาะสมค่ะ

7ข้อที่กล่าวมานั้นเป็นปัญหา และวิธีการแก้ไขเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านจะสามารถจัดการกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบได้เบื้องต้น ก่อนที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกลมตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิค มีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิคจะมีของเหลวคือน้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลาง ความดันของระบบไฮดรอลิคเกิดได้จากการกระแทกของกระบอกสูบไฮดรอลิคหรือวาล์วซึ่งจะต้านทานการไหลที่เกิดจากปั๊มไฮดรอลิค การทำงานของระบบไฮดรอลิค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น กระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1.   กระบอกทำงานด้านเดียว Single Acting Cylinder

      กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้มีรูทางเข้าและทางออกของน้ำมันไฮดรอลิคเพียงรูเดียวเท่านั้น แรงที่เกิดจากการกระทำของแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคนั้นเกิดในทิศทางเดียว และการกลับสู่ตำแหน่งเดิมของลูกสูบจะใช้แรงดันของสปริงหรือแรงโน้มถ่วงเป็นตัวดันกลับอย่างช้าๆ เหมาะกับการใช้งานที่ไม่โหลดมากนัก

2กระบอกทำงาน 2 ทาง Double Acting Cylinder

      กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้จะมีรูเข้าออกของน้ำมันไฮดรอลิคสองทางหรือทั้งสองด้านของลูกสูบ ทิศทางการเคลื่อนที่ไปมาของลูกสูบไฮดรอลิคในกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นเป็นผลมาจากแรงดันของน้ำมันทั้งสองทาง  ส่วนประกอบหลักๆ ของกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นจะประกอบด้วย ลูกสูบ, กระบอกสูบ, ก้านสูบ, Oil Seal, และตัวกันฝุ่น (Dust Seal)  กระบอกสูบไฮดรอลิคชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด ทำงานได้หลายรูปแบบ ออกแบบได้ทั้งแรงดัน แรงดึง มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 รูปแบบโครงสร้างคือ

  • 2.1 กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบ Round type
  • 2.2 กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบ Square type

3.  กระบอกหลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่สามารถยืดออกได้มากกว่าขนาดของเสื้อกระบอกหลายเท่า นิยมใช้ในงานที่มีระยะติดตั้งไม่มาก แต่ต้องการ Stroke การใช้งานที่ยาว

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีหน้าที่อย่างไร ในระบบไฮดรอลิค


ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่ใช้งานกันในเครื่องจักรกลมานาน ในระบบไฮดรอลิคที่เราเห็นกันส่วนมากนั้นสิ่งที่เราจะนำไปใช้คือ แรง (Force, F) ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) ไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ แรงที่ได้จากกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการออกแบบของกระบอกสูบนั้นๆ ในระบบที่มีแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคเท่าๆ กัน ถ้ากระบอกสูบไฮดรอลิคลูกไหนมีพื้นที่หน้าตัดมากกว่าก็จะมีแรงมากกว่า

สำหรับใครที่กำลังมองหาโรงงานผลิตสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไฮดรอลิคครบวงจร รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง ตามขนาด มุ่งผลิตอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ระบบไฮดรอลิค เหมาะกับงานประเภทไหน

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน ?

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน

ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน ?

ไฮดรอลิค เป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณสมบัติทางกลของของไหล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายกำลังในเชิงกลด้วยของไหลที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค การส่งกำลังในระบบไฮดรอลิคส่วนใหญ่นั้นอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear)
  • มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวรัศมี (Radius)

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่ใช้งานกันอยู่อย่างกว้างขวาง และสิ่งที่ต้องการนำไปใช้ ก็คือ งาน หรือแรง ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิคไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ ดังนั้นหากท่านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิคก็ทำให้สามารถเข้าใจการทำงานของระบบไฮดรอลิคได้ และใช้งานจากระบบไฮดรอลิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่มีการใช้ระบบไฮดรอลิคอยู่อย่างแพร่หลาย ได้แก่

1.อุตสาหกรรมเหล็ก และอลูมิเนียม

2.อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

3.อุตสาหกรรมน้ำตาล

4.อุตสาหกรรมการเกษตร

5.อุตสาหกรรมยานยนต์

6.อุตสาหกรรมยาง

7.อุตสาหกรรมพลังงาน

8.อุตสาหกรรมพลาสติก

9.อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

10.อุตสาหกรรมสิ่งทอ

11.อุตสาหกรรมประมง

12. และอื่น ๆ


ระบบไฮดรอลิคเหมาะกับงานประเภทไหน?

ด้วยการใช้งานที่ง่ายและหลากหลาย ระบบไฮดรอลิคจึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งการใช้งานทั่วไปที่ใกล้ตัว เช่น แม่แรงยกของ ระบบลิฟต์ในอาคาร อุปกรณ์ก่อสร้าง ยานพาหนะ  อุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานขึ้นรูปพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ให้ความแม่นยำสูงและเหมาะกับงานที่ใช้รับ Load มากกว่า 2,000 Kg ขึ้นไป เครื่องอัดขึ้นรูป (Press) เครื่องปั๊มขึ้นรูป (Plung) เครี่องอัด (Bending) เครื่องตัด (Cutting) เครื่องมือลำเลียง ขนถ่าย เครื่องบรรจุ เครื่องมือขุดเจาะ อุปกรณ์การยกเคลื่อนย้าย เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาโรงงานผลิตสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไฮดรอลิคครบวงจร รับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค OEM ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง ตามขนาด มุ่งผลิตอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิค คืออุปกรณ์สร้างอัตราการไหลและเมื่อของไหลถูกกีดขวางจะทำให้เกิดความดัน โดยปั๊มไฮดรอลิคจะเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของไหล

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการเลือกปั๊มไฮดรอลิค Hydraulic pump

ปั๊มไฮดรอลิคแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. เกียร์ปั๊ม (Gear Pump)

ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะกับงาน mobile งานการเกษตร ทนความสกปรกได้ดี

ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับไม่สูงมาก

2. ปั๊มไฮดรอลิคแบบใบพัด (Vane Pump)

ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง

3. ปั๊มไฮดรอลิคแบบลูกสูบ (Piston Pump)

ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันสูง

ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิค

  1. ความสามารถในการสร้างอัตราการไหล สูงถึง 500cc/rev. สูงสุด 1000 cc/rev.
  2. ความสามารถในการสร้างความดัน สูงถึงสูงมาก
  3. อัตราการไหลแบบคงที่หรือปริมาตรความจุปรับได้
  4.  นำไปใช้งานในระบบเปิด (opened-loop) หรือระบบปิด (closed-loop)
  5. ระดับเสียงในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง   6. ความเหมาะสมระหว่างตัวปั๊มไฮดรอลิคและน้ำมันที่ใช้


บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย


สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ การทำงานของระบบไฮดรอลิค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.กระบอกทำงานด้านเดียว Single Acting Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ออกแรงดันด้านเดียวไม่มี Port น้ำมันเพื่อดันแกนกระบอกกลับ

และมักออกแบบให้ใช้งานแนวดิ่งส่วนมากใช้ถอยแกนกระบอกกลับ 2 แบบคือ Load Return หรือ Spring return

กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

2.กระบอกทำงานสองทาง Double Acting Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่นิยมใช้มากที่สุด ทำงานได้หลายรูปแบบ ออกแบบได้ทั้งแรงดัน แรงดึง

มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 รูปแบบโครงสร้างคือ

2.1 กระบอก Round type

กระบอก Round type
กระบอก Round type

2.2 กระบอก Square type

กระบอก Square type
กระบอก Square type

3. กระบอกหลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่สามารถยืดออกได้มากกว่าขนาดของเสื้อกระบอกหลายเท่า นิยมใช้ในงานที่มีระยะติดตั้งไม่มาก แต่ต้องการ Stroke การใช้งานที่ยาว

กระบอกหลายช่วงชัก Telescopic Cylinder
กระบอกหลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

ปัญหากระบอกสูบไฮดรอลิค

1. ซีลคอกระบอกรั่วซึม

ปัญหา

  • Alignment การติดตั้งกระบอกไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข
  • แกนกระบอกเป็นรอยจากฝุ่น

การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอก

2.กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

ปัญหา

  • ซีลลูกสูบภายในกระบอกเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกใหม่

  • Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมกระบอกดังกล่าวสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

3.กระบอกมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

ปัญหา

  • เลือกขนาดของกระบอกสูบเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

  • ความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

การแก้ไข ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More