วิธีการประกอบ กระบอกสูบไฮดรอลิก

วิธีการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก

วิธีการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก

วิธีการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก หากผู้อ่านต้องซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิกตัวใหม่ หรือต้องทำการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิกด้วยตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงขั้นตอนในการประกอบชิ้นส่วนกระบอกสูบไฮดรอลิกแบบ Step by Step กันค่ะ แต่แอดมินขอบอกไว้ก่อนเลยว่าการประกอบชิ้นส่วนนี้ไม่ใช่เรื่องหมู ๆ นะคะ หากเป็นไปได้แอดมินแนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไฮดรอลิกเป็นคนทำให้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหายตามมาดีกว่าค่ะ แต่รู้ไว้ก็ใช่ว่าจะเสียหาย ใช่ไหมคะ? เพราะฉะนั้นตามไปอ่านต่อกันเลยค่ะ

สารบัญ

  • ขั้นตอนการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก
  • สรุป
วิธีการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก


ขั้นตอนการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก

ก่อนเริ่มกระบวนการประกอบ ส่วนประกอบทุกส่วนจะต้องถูกล้างทำความสะอาดอย่างระมัดระวัง และต้องผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานแล้วทุกชิ้นส่วน หลังจากตรวจสอบชิ้นส่วนและส่วนประกอบทั้งหมด และตรวจสอบความสะอาดแล้ว กระบวนการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิกสามารถเริ่มต้นได้เลย โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นแรก นำหัวลูกสูบและกระบอกสูบไปเชื่อมเข้ากับแกนกระบอกสูบ
  • ใส่ซีลให้เข้าที่สำหรับส่วนที่ต้องใช้ซีล เช่น สำหรับลูกสูบ (piston)  หัวกระบอกสูบ (cylinder head) เป็นต้น พร้อมกับลูกปืน (bearing ) และแหวนสแน็ป (snap ring)
  • ทาน้ำมันลงบนซีลที่อยู่รอบ ๆ ลูกสูบและหัวกระบอกสูบ
  • หลังจากประกอบก้านเข้ากับส่วนประกอบทุกชิ้นแล้ว กระบอกสูบทั้งหมดก็พร้อมสำหรับการติดตั้งเข้ากับท่อไฮดรอลิก
  • ในทุกขั้นตอนของการทำงาน ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และในทุกจุดของการประกอบ พื้นผิวจะได้รับการดูแลให้สะอาดและเช็ดออกอย่างสม่ำเสมอ
  • ก่อนจะติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิกเข้ากับท่อ ต้องได้รับการตรวจสอบด้วยสายตาก่อน และหลังจากนั้นท่อจะถูกติดตั้งในแนวนอน ควรทาน้ำมันในท่อจากด้านในอย่างเหมาะสม
  • ก้านลูกสูบจะถูกนำเข้าไปในท่ออย่างระมัดระวัง โดยสไลด์เข้าไปทางปลายของลูกสูบก่อน
  • หลังจากประกอบท่อและแกนลูกสูบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการติดตั้งตลับลูกปืนและหัวอัดจาระบี

ขั้นตอนเหล่านี้เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานในการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก แต่เนื่องจากกระบอกสูบแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เวลาที่ใช้ในการประกอบจึงแตกต่างกันไปในแต่ละผลิตภัณฑ์ เวลาขึ้นอยู่กับจำนวนส่วนประกอบที่กระบอกสูบต้องการและขนาดของกระบอกสูบ เป็นต้น ตามที่เขียนไว้ข้างต้น กระบอกสูบที่ใหญ่กว่าจะถูกประกอบในลักษณะเดียวกัน แต่เนื่องจากขนาดและน้ำหนักอาจมีขนาดใหญ่และหนักมาก จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ สำหรับการยกและบิด เข้ามาช่วยในการประกอบ

สรุป

ขั้นตอนเหล่านี้เป็นกระบวนการคร่าว ๆ ขั้นพื้นฐานที่แอดมินหยิบมาอธิบายให้ฟัง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการประกอบชิ้นส่วนของกระบอกสูบไฮดรอลิก ทางผู้ให้บริการจะมีผู้เชียวชาญในการจัดการให้อยู่ค่ะ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องขั้นตอนการประกอบกระบอกสูบไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เคล็ดไม่ลับในการซ่อมแซมกระบอกไฮดรอลิก

เคล็ดไม่ลับในการซ่อมแซมกระบอกไฮดรอลิก

เคล็ดไม่ลับในการซ่อมแซมกระบอกไฮดรอลิก

กระบอกสูบไฮดรอลิก เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิคที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบ เนื่องจากกระบอกสูบไฮดรอลิก จะเป็นส่วนที่ส่งแรงที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบไฮดรอลิค เพื่อให้เครื่องจักร หรือเครื่องยนต์มีการทำงานและเกิดการเคลื่อนที่ได้นั่นเองค่ะ โดยส่วนมากกระบอกสูบไฮดรอลิกจะนำมาใช้เพื่อการยก หยิบ และจับ ของเครื่องจักรกลค่ะ

สารบัญ

  • 3 ขั้นตอนในการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิค
  • เคล็ดลับในการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิค
  • สรุป

ส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของระบบไฮดรอลิค ได้แก่ กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์ว และตัวกรอง เป็นต้น โดยกระบอกสูบไฮดรอลิกเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด จึงง่ายต่อการบำรุงรักษาและซ่อมแซม

หากผู้อ่านมีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคแล้วล่ะก็ คุณสามารถซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิกได้ด้วยตัวเอง แต่ก่อนที่แอดมินจะลงลึกถึงวิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิก แอดมินอยากจะบอกถึงสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้กระบอกสูบทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรกันก่อนค่ะ

ความเสียหายของซีลเป็นสาเหตุทั่วไปที่สร้างความเสียหายให้กับกระบอกสูบไฮดรอลิก ซึ่งความเสียหายของซีลเกิดขึ้นจากการใส่อุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง การกัดกร่อน ระยะห่างของงานโลหะที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งการปนเปื้อนของของเหลวจะทำให้ก้านลูกสูบหรือพื้นผิวซีลเสียหาย การจัดตำแหน่งกระบอกสูบและน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ตลับลูกปืนก้านสูบหรือก้านลูกสูบเสียหาย และการสึกกร่อนของกระบอกสูบจากภายในทำให้เกิดการปนเปื้อนของของเหลว ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดค่ะ

3 ขั้นตอนในการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิก

  • ก่อนดำเนินการซ่อมทุกครั้ง ผู้อ่านต้องทำความสะอาดพื้นผิว และถอดสายยางและปลั๊กที่ติดกับพื้นผิวออกก่อน
  • เมื่อถอดชิ้นส่วนออกหมดแล้ว ให้ถ่ายของเหลวทั้งหมดที่อยู่ภายในกระบอกสูบออก
  • ซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิก โดยเตรียมค้อนยาง ไขควง หมัด คีม ผ้าทราย และประแจ ให้พร้อม เพราะเป็นสิ่งที่คุณต้องใช้ในการซ่อมแซมค่ะ

เคล็ดลับในการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิก

  • เมื่อคุณถอดแยกชิ้นส่วนกระบอกสูบไฮดรอลิกเพื่อซ่อมแซมแล้ว ให้ถือโอกาสตรวจสอบส่วนประกอบอื่น ๆ ทั้งหมดอย่างละเอียดด้วย ไม่ใช่ตรวจสอบแค่ชิ้นส่วนที่ชำรุดเท่านั้น
  • อย่าลืมประกอบแถบสึกหรอของไฮดรอลิค หรือ (Wear bands) เพื่อลดการเสียดสีสัมผัสระหว่างโลหะ กับโลหะ
  • หากซีลชำรุดก่อนเวลาอันควร ให้รู้ไว้เลยว่า แกนลูกสูบมีการโค้งงอ ฉะนั้นต้องแก้ไขที่แกนลูกสูบด้วย
  • เครื่องมือโลหะจะขูดพื้นผิวของกระบอกสูบและจะสร้างปัญหาเช่นการกัดกร่อน ดังนั้นควรเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการซ่อมเสมอ
  • กระบอกสูบไฮดรอลิกขนาดใหญ่จะใช้สปริงแรงดันสูงในการทำงาน ดังนั้นหากคุณไม่มีประสบการณ์ ให้ระมัดระวังในการจัดการกับกระบอกสูบดังกล่าว
  • หากคุณต้องการเปลี่ยนซีล คุณไม่ควรวัดขนาดของซีลอันเดิมที่ใช้อยู่ เพราะขนาดของซีลจะขยายหรือบีบอัด เปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อม

สรุป

หากผู้อ่านพบว่ากระบอกสูบไฮดรอลิกของคุณมีปัญหา และทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร คุณควรทำการตรวจสอบถึงสาเหตุ และวินิจฉัยหาข้อสรุปว่า ความเสียหายของกระบอกสูบนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด หากไม่มั่นใจคุณควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนแก้ไขดีกว่าค่ะ และถ้าคุณอยากลดความเสียหายและยืดอายุการใช้งานของกระบอกสูบไฮดรอลิก แอดมินแนะนำให้ผู้อ่านปฏิบัติดูแลรักษาระบบไฮดรอลิค ตามคู่มือแนะนำ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเคล็ดลับการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More

สาเหตุและการแก้ไขเมื่อกระบอกสูบไฮดรอลิคตก

สาเหตุและการแก้ไขเมื่อกระบอกสูบไฮดรอลิคตก

ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่ใช้ในงานที่มีแรงโหลดหนัก และปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของตัวกระบอกสูบไฮดรอลิก หรือปัญหาจากอุปกรณ์อื่นๆ ภายในระบบ ฉะนั้นก่อนจะแก้ปัญหาเรามาดูกันว่าปัญหากระบอกสูบไฮดรอลิคตกนั้นเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร

สาเหตุและการแก้ไขเมื่อกระบอกสูบไฮดรอลิคตก


สาเหตุและการแก้ไขเมื่อกระบอกสูบไฮดรอลิกตก

กระบอกสูบไฮดรอลิกเมื่อใช้ไปสักระยะแล้วพบอาการของตัวกระบอกสูบไฮดรอลิกตก มักเกิดจากการรั่วซึมส่วนใดส่วนหนึ่งของน้ำมัน ขั้นตอนการตรวจเช็คควรเริ่มจากระบบท่อกลาง หากไม่มีการรั่วซึมนั้นสามารถบอกได้ว่าสาเหตุของกระบอกสูบไฮดรอลิกตกอาจเกิดปัญหาการรั่วซึมจากภายในกระบอก หรือตัวคอนโทรลวาล์วนั่นเอง แต่หากเกิดขึ้นจากภายในกระบอกสูบไฮดรอลิกสามารถเช็กดูได้จาก

  • ซีลลูกสูบเสียหาย หากเกิดซีลลูกสูบเสียหายอาจทำให้น้ำมันจากด้านหน้าลูกสูบไหลมายังด้านหลังของลูกสูบเป็นเหตุทำให้กระบอกสูบไฮดรอลิคตก
  • กระบอกสูบไฮดรอลิกมีรอยภายใน การรั่วซึมอาจเกิดจากกระบอกสูบไฮดรอลิกมีรอยภายใน เกิดได้จากลูกสูบไปสีกับกระบอกทำให้กระบอกเป็นรอยหรือการใช้ความดันมากเกินไปทำให้กระบอกบวม และทำให้น้ำมันไหลมาจากหน้าลูกสูบไปด้านหลังลูกสูบ แก้ไขได้ด้วยการถอดกระบอกสูบไฮดรอลิกแล้วสำรวจเสื้อกระบอกสูบไฮดรอลิคมีอาการบวมหรือเป็นรอยหรือไม่ ตรวจสอบซีลกระบอก ซีลลูกสูบว่ามีรอยหรือฉีกขาดไหมและทำการเปลี่ยนหากพบปัญหา
  • แกนกระบอกสูบไฮดรอลิกงอ หากเกิดจากแกนกระบอกสูบไฮดรอลิกงอ อาจมาจากสาเหตุการเลือกแกนขนาดไม่เหมาะสม หรือใช้งานโอเวอร์โหลดทำให้แกนกระบอกรับภาระน้ำหนักมากเกินจนทำให้แกนงอ แก้ไขด้วยการหยุดใช้งานและเปลี่ยนแกนทันทีเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียกับเสื้อกระบอกสูบไฮดรอลิก
  • น้ำมันรั่วออกตามแนวแกน สาเหตุนี้อาจมาจากตัวแกนกระบอกสูบไฮดรอลิกเป็นรอยจากการถูกกระทบวัตถุอื่น หรือการใช้งานมานานจนผิวแกนมีความบางลงไป และอีกสาเหตุจากฝาหน้าเสื่อมสภาพ ควรตรวจเช็กและทำการเปลี่ยน
  • หูกระบอกไฮดรอลิคสึก ตรวจสอบหูกระบอกว่ามีการสึกหรอหรือไม่ เพราะเมื่อมีการสึกหรออาจส่งผลกับการเคลื่อนที่ของแกนกระบอกสูบไฮดรอลิกและทำให้น้ำมันแทรกตัวออกมาได้ เนื่องจากแกนกระบอกเบียดไปข้างใดข้างนึง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิก นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิกอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุดในระบบไฮดรอลิค คือ กระบอกสูบไฮดรอลิก ที่ยืดออกและหดกลับด้วยแรงดันของของเหลว ทำให้สามารถยก ดึง และผลักของหนักได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

บาร์เรล (Barrel) ลูกสูบ (Piston) และก้านลูกสูบ (Piston rod) เป็นส่วนประกอบหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก ลูกสูบที่ติดอยู่กับก้านลูกสูบจะเคลื่อนไปมาผ่านกระบอกสูบด้วยการกระทำของการรับและการกำจัดของเหลว ระหว่างการรับของเหลว ก้านลูกสูบจะยืดออก และเมื่อของเหลวไหลออก ก้านลูกสูบจะหดกลับ การทำงานแต่ละครั้งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนไหวของก้านลูกสูบผ่านกระบอกสูบ การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงดันสูงนี้ อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของกระบอกสูบไฮดรอลิกได้ เนื่องจากการสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทกที่เกิดจากกระบวนการที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงความสำคัญของตัวกันกระแทกในกระบอกสูบไฮดรอลิก ที่สามารถลดความเสียหาย และยืดอายุให้กับกระบอกสูบได้กันค่ะ

ตัวกันกระแทก (CUSHIONING) ของกระบอกสูบไฮดรอลิกคืออะไร

การกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อถึงจุดสิ้นสุดของจังหวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับทั้งกระบอกลมนิวเมติกส์และไฮดรอลิกเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากคลื่นกระแทกจากแรงดันลม

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก
ขอบคุณรูปภาพจาก WHYPS

ลูกสูบกันกระแทกส่วนมากจะติดอยู่กับแกนลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สูบจ่ายที่ชะลอความเร็วของกระบอกสูบก่อนที่จะกระทบที่ฝาท้าย การชะลอตัวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการจำกัดการไหลของของไหลที่เกิดจากลูกสูบ ซึ่งข้อดีของการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก ก็คือ

  • ยืดอายุการใช้งานของกระบอกสูบ
  • ลดเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์
  • กระบวนการลดความเร็วส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ ปรับได้ และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามากนัก
  • นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายของหนักที่ต้องใช้ความเร็วสูง

ตัวที่กำหนดว่าเราจำเป็นต้องมีตัวกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกหรือไม่นั้น คือค่าพลังงานจลน์ พลังงานจลน์นี้จะขึ้นอยู่กับสองพารามิเตอร์ นั่นก็คือ มวลเคลื่อนที่ (Moving mass) และความเร็ว (Speed) โดยสมการในการคำนวณพลังงานจลน์ คือ

E = ½*m*v 2

เมื่อก้านลูกสูบกระบอกสูบเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของจังหวะการกระแทก พลังงานจลน์จะถูกแปลงเป็น

E = Fa*ΔL

โดยที่ Fa คือแรงกันกระแทกที่เกิดจากระยะยุบตัวของ ΔL นั่นเองค่ะ

โดยทั่วไปแล้ว การกันกระแทกของกระบอกสูบจะถูกใช้กับกระบอกสูบแบบ double-act ที่ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น เครนขนถ่ายสินค้า หรือเครนเคลื่อนที่สำหรับจอดเรือ เป็นต้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิค และสายไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิค

โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิคการทำงานหลักๆ ของไฮดรอลิคนั้นคือส่วนที่เรียกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รับแรงหน่วงได้ดี โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น กระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามทิศทางของแรงที่กระทำบนลูกสูบคือ Single Acting Cylinder และ Double Acting Cylinder

กระบอกสูบไฮดรอลิค

โครงสร้างโดยทั่วไปของกระบอกสูบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง

Rod Hard Chrome : ก้านกระบอกสูบไฮดรอลิค

Front cover : ฝาหัว

Barrel : เสื้อกระบอกสูบไอดรอลิค

Tri rod : เสารั้งกระบอกสูบไฮดรอลิค

Back cover : ฝาท้าย

Wiper Seal : ซีลกันฝุ่น

Bushing : บูช

U-Ring Seal : ซีลกันก้านสูบ

Piston Seal : ซีลลูกสูบ

Back up ring : ซีลกันสึก

O-ring : ซีลฝา หัว-ท้าย

การทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

1. 1. กระบอกสูบทางเดียว (Single acting cylinder) กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว ทำงานโดยการรับน้ำมันจากกระบอกสูบทางด้านหัวเพียงทางเดียว เพื่อผลักดันให้ลูกสูบและก้านสูบเคลื่อนที่ไปดันชิ้นงาน โดยจะใช้แรงดันจากสปริงหรือลงด้วยโหลด เป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบค่อยๆ เคลื่อนที่กลับอย่างช้า

2. กระบอกสูบสองทาง(Double acting cylinder) กระบอกสูบสองทาง ทำงานโดยรับน้ำมันจากกระบอกสูบได้ทั้งด้านหัวและด้านก้านสูบ โดยจะแบ่งการทำงานเป็น 2 ลักษณะคือ

  • ลูกสูบเคลื่อนที่ออกเพื่อผลักดันชิ้นงาน โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านหัวลูกสูบและให้น้ำมันออกทางด้านก้านสูบ
  • ลูกสูบเคลื่อนที่เข้าเพื่อดึงชิ้นงานกลับเข้ามา โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านก้านสูบและให้น้ำมันออกทางด้านหัวลูกสูบ

ระบบไฮดรอลิคจะต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานในการทำงาน ดังนี้

1.ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump) = ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

2.ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir) = ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ำมันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ และไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

3.อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler) = อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

4.วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve) = วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

5.วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve) = วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

6.วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve) = วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

7.อุปกรณ์ทำงาน (Actuator) = อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่

8.ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose) = ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

กระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นหนึ่งในสี่ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของระบบไฮดรอลิค โดยกระบอกสูบไฮดรอลิคจะเป็นตัวกระตุ้นเชิงกลในเครื่องจักร ทำให้เกิดแรงในการเคลื่อนที่ แต่ปัญหาหลักของผู้ใช้ระบบ ไฮดรอลิคส่วนใหญ่ คือการเสียเงินไปกับการซื้ออะไหล่กระบอกสูบไฮดรอลิคทุกปี เพื่อเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด แต่ผู้อ่านทราบหรือไม่คะว่า ในหลาย ๆ กรณี เราสามารถหลีกเลี่ยงอะไหล่สำรองได้ด้วยการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมอย่างเหมาะสมค่ะ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะ บอกถึงสูตรที่ไว้ใช้ในการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้นกันค่ะ

วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น


วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น

กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นส่วนประกอบที่ซับซ้อนน้อยที่สุดในระบบไฮดรอลิคของเครื่องจักร ทำให้การซ่อมแซมกระบอกสูบที่ชำรุดนั้น ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป เสือบเนื่องจากสิ่งสกปรกที่เป็นอนุภาคของแข็ง ไม่ว่าจะเป็นเศษโลหะ ชิ้นส่วนเศษผงตลอดจนความชื้น และอากาศที่ เล็ดลอดเข้าไปปะปนใน น้ำมันไฮดรอลิค สามารถก่อให้เกิดการสึกหรอ และ การสึกกร่อน ของปั๊มไฮดรอลิค ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักพบอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอใน เรื่อง ความสะอาดของ น้ำมันไฮดรอลิค  ค่ะ

ซึ่งกระบวนการซ่อมแซมกระบอกสูบเบื้องต้น โดยทั่วไปแล้วจะใช้สูตรต่อไปนี้

  • ฟลัชล้างทำความสะอาดระบบด้วย น้ำมันไฮดรอลิค ระบบไฮดรอลิคใหม่หรือหลังจากมีการถอดซ่อมบำรุงรักษา อาจมีสี โลหะสนิม ตลอดจนฝุ่นและทราย ที่ติดค้างอยู่ในระบบ
  • ควรระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับ ความสะอาดของ น้ำมัน โดยดูแลภาชนะ ปั๊มดูด ถังเก็บ ให้สะอาดอยู่เสมอ นอกจากนี้ต้องหมั่นทำความสะอาด ระบบกรองน้ำมัน หรือเมื่อเปลี่ยนไส้กรองชำรุด เมื่อล้างไส้กรองควรสังเกตดูสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่ตามไส้กรองว่าเป็นอะไร หากมีเศษโลหะมาก แสดงว่าระบบมีการสึกหรอของสิ่งสกปรก อาจใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการชำรุดสึกหรอ และจะได้เป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
  • หมั่นตรวจตราการทำงานของระบบไฮดรอลิค ตลอดจนเสียงที่ดังผิดปกติ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงอาการที่มีการรั่วของอากาศตามข้อต่อ หรือซีล หรือการเกิดโพรงอากาศในเรือนปั๊มถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่ต้องหาอะไหล่ตัวใหม่มาแทนที่ ให้เปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่มีความเสียหาย เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้

ผู้อ่านรู้หรือไม่คะว่า การรั่วไหลที่เกิดจากซีลที่เสียหายเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในเครื่องจักรระบบไฮดรอลิค และซีลที่เสียหายอาจทำให้เกิดปัญหากับกระบอกสูบไฮดรอลิคได้หลายประการ เช่น การรั่วซึมของของเหลว การปนเปื้อนของไหล ซึ่งนำมาสู่ความเสียหายร้ายแรงต่อก้านลูกสูบ หรือพื้นผิวซีล เป็นต้น ส่วนความเสียหายอื่น ๆ เช่น การจัดตำแหน่งกระบอกสูบที่ไม่เหมาะสม หรือเพียงแค่ว่ามีการใช้กระบอกสูบอย่างไม่ถูกต้องในลักษณะที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สำหรับงานนั้น ๆ อาจทำให้ก้านงอหรือกระบอกสูบบุบได้

วิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น


ความเสียหายที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคสามารถดำเนินการซ่อมแซมเบื้องต้นได้ แต่อย่างไรก็ตามแอดมินแนะนำให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้เสมอ หากคุณมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจ นอกจากนี้ การบำรุงรักษาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอสามารถป้องกันกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ให้เกิดความเสียหายได้ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของกระบอกสูบไฮดรอลิคอีกด้วยค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องวิธีการซ่อมแซมกระบอกสูบไฮดรอลิคเบื้องต้น หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

สำหรับงานยกย้าย เคลื่อนที่ หรือติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบไฮดรอลิคจึงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งอุปกรณ์ที่มีชื่อว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคได้มีการแข่งขันในตลาดมากยิ่งขึ้น

กระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก ทางเลือกใหม่ของงานอุตสาหกรรม

ผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคแต่ละรายต่างก็มองหาวิธีใหม่เพื่อที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงเกิดรูปแบบของกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่า กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสมาร์ท กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมต่างประเทศ และมีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบใหม่ สามารถใช้งานได้ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบติดตั้งในอุตสาหกรรม กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสมาร์ท หรือ กระบอกไฮดรอลิคขนาดเล็ก นี้จะมีความทนทานสูงและสามารถรองรับการทำงานในช่วงอุณหภูมิที่กว้างกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิคทั่วไป มีให้เลือกใช้ทั้งที่เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบทางเดียวและกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบสองทาง

การเลือกซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กมาติดตั้งนั้นจะมีหลักเกณฑ์การซื้ออยู่ด้วยกันหลายประการขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพแวดล้อมการทำงาน เมื่อเราเลือกซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กมาใช้งานเราควรคำนึงถึงออปชั่นที่สำคัญต่างๆ ด้วยกันดังนี้:

  • ตัวถังกระบอกสูบไฮดรอลิคจะต้องสามารถติดตั้งได้ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ในภายหลัง
  • แกนก้านลูกสูบมีก้านสำหรับยึด/ติดตั้ง
  • มีหูสำหรับช่วยยึดกับงานเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกระบอกไฮดรอลิค
  • มีแท่นสำหรับยึดตัวกระบอกไฮดรอลิค
  • และออปชั่นอื่นๆ ตามที่ผู้ผลิตมีให้



บทความที่เกี่ยวข้อง

ทางด้านการติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคขนาดเล็กนั้นจะคล้ายกับกระบอกไฮดรอลิคทั่วไป คือกระบอกสูบไฮดรอลิคส่วนใหญ่จะสามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบอยู่แล้ว นั่นก็คือข้อดีอีกอย่างหนึ่งของกระบอกไฮดรอลิคที่เหล่าผู้ผลิตได้ออกแบบไว้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า และประสิทธิภาพของกระบอกไฮดรอลิคแบบสมาร์ทนี้ก็ใกล้เคียงกับกระบอกลมหรือกระบอกไฮดรอลิคแบบทั่วไปมาก แต่จะต่างกันที่คุณสมบัติเพียงบางประการเท่านั้น

สุดท้ายในตลาดอุปกรณ์ไฮดรอลิคปัจจุบันมีกระบอกสูบไฮดรอลิคให้เราได้เลือกมาใช้งานหลายประเภท หากคุณยังเป็นมือใหม่ แนะนำให้คุณลองหาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องที่คุณกำลังสนใจและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบไฮดรอลิค อย่าง Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

กระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นหนึ่งในสี่ส่วนประกอบหลักของระบบไฮดรอลิค ที่ขับเคลื่อนให้ระบบทำงานได้ แต่ผู้อ่านเคยสงสัยไหมคะว่า กระบอกไฮดรอลิคมีการทำงานอย่างไร และมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในระบบไฮดรอลิค? หากคำถามนี้คาใจคุณผู้อ่านอยู่ล่ะก็ ผู้อ่านมาถูกที่แล้ว เพราะในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึงหลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคให้แจ่มแจ้งกันค่ะ

กระบอกสูบไฮดรอลิค คือ?

กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม เช่น รถคีบอ้อย และรถเกี่ยวข้าว เป็นต้น โดยกระบอกสูบไฮดรอลิคจะเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค และส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิคคือตัวที่สร้างแรงการเคลื่อนที่จากของเหลวที่มีแรงดันนั่นเองค่ะ

จากรูปภาพโครงสร้างกระบอกสูบด้านบน

  • สีเหลืองส้ม แสดงถึงของเหลวไฮดรอลิคในห้อง A
  • สีเหลือง แสดงถึงลูกสูบห้อง B
  • สีน้ำเงิน แสดงถึงก้านกระบอกสูบ
  • ก้นกระบอกสูบอยู่ทางซ้ายมือ และตาก้าน (Rod eye) อยู่ทางขวามือ การเคลื่อนไหว (Movement) จะถูกสร้างขึ้นระหว่าง 2 จุดนี้ โดยของเหลวในระบบไฮดรอลิคจะทำให้ลูกสูบ (Piston) เคลื่อนที่ เมื่อลูกสูบเกิดการเคลื่อนที่ ก้านลูกสูบ (Rod) จึงเคลื่อนที่ตามไปด้วย และเมื่อน้ำมัน (Oil) ถูกขับเคลื่อนไปยังห้องอื่น ลูกสูบจะเคลื่อนกลับไปยังตำแหน่งเดิม และดึงก้านลูกสูบให้กลับมาอยู่ที่เดิมด้วย ทำให้เกิด Courter movement นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

หลักการของ Pascal ได้อธิบายไว้ว่า ความดันจะเท่ากับแรงหารด้วยพื้นที่ที่มันกระทำ ความดันที่ใช้กับลูกสูบทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเท่า ๆ กันบนลูกสูบตัวที่สองในระบบไฮดรอลิค หากพื้นที่เพิ่มเป็น 10 เท่าของพื้นที่แรก แรงบนลูกสูบตัวที่สองก็จะมากกว่า 10 เท่า แม้แรงดันจะเท่ากันตลอดทั้งกระบอกสูบก็ตาม เครื่องอัดไฮดรอลิคจะสร้างเอฟเฟกต์นี้ตามหลักการของ Pascal  ซึ่งแรงความหนาแน่นในกระบอกสูบไฮดรอลิคมีสูงมาก สามารถสร้างแรงได้เยอะแม้ว่ากระบอกสูบจะเล็กก็ตาม และมีซีล (Seal) เป็นตัวช่วยกักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้ซึมออกมาข้างนอกกระบอกสูบไฮดรอลิค

ขอบคุณรูปภาพจาก Eaton Corporation

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องหลักการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคอย่างไรดี

ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคอย่างไรดี ?

ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบไฮดรอลิคของอย่างไรดี ?

อุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกสูบไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ  ซึ่งความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน หากเราเรียนรู้และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้งานไฮดรอลิคย่อมเป็นเรื่องที่ดี ฉะนั้นตามมาดูวิธีป้องกันสิ่งสกปรกก่อนติดตั้งระบบไฮดรอลิคที่ถูกต้องกันค่ะ

1. การเติมน้ำมันไฮดรอลิคเข้าระบบ

 น้ำมันไฮดรอลิคยี่ห้อต่างๆที่มีขายในท้องตลาดนั้น มีความสะอาดพอที่จะนำมาใช้ในระบบไฮดรอลิคได้อยู่แล้ว แต่เหตุที่ทำให้น้ำมันความสกปรกมากขึ้น เกิดจากวิธีการขนถ่าย ถังบรรจุ แม้กระทั่งการจัดเก็บก็ทำให้น้ำมันมีความสกปรกได้ ดังนั้นก่อนที่จะเติมน้ำมันไฮดรอลิคใหม่ ขั้นตอนนี้จะต้องทำการกรองก่อนเทน้ำมันเข้าถังบรรจุ โดยค่าความละเอียดของตัวกรองจะต้องมีความละเอียดเท่ากับหรือมากกว่าความละเอียดของการกรองในระบบ

2. การฟลัชชิ่ง (Flushing) ระบบไฮดรอลิค 

ก่อนการ Start-up ระบบไฮดรอลิคครั้งแรก หรือมีการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค จะต้องทำการฟลัชชิ่งหรือการล้างระบบไฮดรอลิคเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ที่หลุดเข้ามาในระบบให้ออกไปจากระบบก่อน โดยการใช้ปั้มไฮดรอลิคแรงดันสูงยิงน้ำมันผ่านแต่ละจุดเพื่อไล่สิ่งสกปรกภายในท่อ ในขั้นตอนนี้จะมีการกรองสิ่งสกปรกต่างๆ ออกมานั่นเอง

3. ซีลกันฝุ่นของกระบอกสูบไฮดรอลิค 

ตรวจสอบซีลกันฝุ่นของกระบอกสูบไฮดรอลิคอย่างสม่ำเสมอ กรณีที่กระบอกสูบไฮดรอลิคติดตั้งใช้งานในบริเวณที่มีสิ่งสกปรกมากควรใช้ซีลปลอกเพื่อช่วยป้องกันก้านกระบอกไฮดรอลิคสัมผัสกับสิ่งสกปรก

4. กรองอากาศ Air filter

ตรวจสอบและทำความสะอาดการอุดตันของกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งานของระบบ

5. กรองน้ำมันไฮดรอลิค 

กรองน้ำมันไฮดรอลิคควรมีเกจวัดการอุดตันของไส้กรอง และต้องทำการตรวจสอบอยู่เสมอ รวมทั้งทำการเปลี่ยนไส้กรองทันทีเมื่อไส้กรองอุดตัน ความสกปรกในน้ำมันไฮดรอลิคทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ของระบบไฮดรอลิค ดังนั้นตัวกรองน้ำมันไฮดรอลิคที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง จึงมีความสำคัญสำหรับป้องกันระบบไฮดรอลิคจากการสึกหรอที่ไม่จำเป็น

6. ตรวจสอบความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิค 

จำเป็นต้องส่งน้ำมันไปทำการตรวจสอบระดับคุณภาพและสิ่งเจือปนในน้ำมันอยู่เสมอ และวิเคราะห์หาจุดบกพร่องรวมทั้งทำการแก้ไข เมื่อระดับความสกปรกของน้ำมันมีค่าเกินระดับที่ตั้งไว้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิค และสายไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกไฮดรอลิก


เกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค

ในกระบวนการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง หากทำการละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญไป โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการออกแบบนั้นก็จะสูงไปด้วย ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแง่ของวัสดุที่ใช้ ตามการใช้งานของแต่ละตัว เช่น กระบอกสูบที่ใช้ในเครื่องจักรก่อสร้าง เทียบกับงานป่าไม้ ก็จะมีการออกแบบต่างกัน เป็นต้น ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค มีด้วยกันดังนี้

  1. สภาพการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค (Working conditions)
    สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนการออกแบบกระบอกสูบ คือการพิจารณาสภาพการใช้งาน กล่าวคือ กระบอกสูบตัวนี้จะเอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน และต้องรับน้ำหนักแบบใด เช่น เอาไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือการทำงานใต้น้ำ เป็นต้น สภาพการทำงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงเมื่อต้องออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
  2. ระยะการลาก (Stroking distance requirements)
    การคำนึงถึง ช่วงชักขอกการใช้งาน โดยจะสามารถกำหนดระยะตามความต้องการในการใช้งานได้กับงานที่เราต้องการ แต่ถ้าใช้ช่วงชักที่ยาว เกินไปก็อาจมาผลเสียได้ เพราะอาจต้องคิดค่า Bucking ให้เหมาะต่อการใช้งานที่ถูกต้อง และ การ Design จุดติดตั้ง ก็ต้องเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ (Temperature)
    เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่กระบอกสูบจะถูกนำไปใช้งานด้วย เพราะการออกแบบกระบอกสูบที่จะใช้ในอุณหภูมิสูง เช่น สภาพทะเลทราย กับการใช้งานในสภาพอากาศหนาวเย็น -30 องศานั้น จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบที่ต่างกัน เพื่อให้กระบอกสูบสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในอุณหภูมิที่ต้องการ
  3. ความเร็ว (Speed)
    เมื่อผู้ออกแบบเลือกชิ้นส่วนกระบอกสูบที่เหมาะสมเขาจำเป็นต้องพิจารณาความเร็วในการเลื่อนของระบบ คำจำกัดความของ “ความเร็วที่มากเกินไป” อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวิศวกรออกแบบ โดยทั่วไปแล้วซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบมาตรฐานสามารถรองรับความเร็วสูงสุด 0.5 เมตรต่อวินาทีได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า ยิ่งความเร็วในของของไหลเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคทั้งหมดก็สูงขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการลดอุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคด้วยนะคะ
  4. รูปแบบการติดตั้ง (Mounting styles)
    การติดตั้งทุกประเภทมาพร้อมกับประโยชน์และข้อจำกัด โดยรูปแบบการติดตั้งมีสามประเภทด้วยกัน คือ
    • รูปแบบคงที่ (Fixed style)
    • แบบเดือย (Pivot style) โดย 2 รูปแบบนี้สามารถดูดซับแรงบนเส้นกึ่งกลางของกระบอกสูบได้ เหมาะสำหรับการใช้งานขนาดกลางและงานหนักเพื่อรองรับแรงขับหรือแรงดึง
    • รูปแบบที่สาม สามารถรองรับกระบอกสูบทั้งหมดได้โดยพื้นผิวยึดด้านล่างเส้นกึ่งกลางกระบอกสูบแทนที่จะดูดซับแรงตามแนวกึ่งกลางเพียงอย่างเดียว
  5. ขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore size)
    ขนาดของกระบอกสูบจะสัมพันธ์กับแรงดันในการใช้งาน เพราะจำนวนแรงผลักและแรงดึงที่ต้องการ เป็นตัวแปรที่กำหนดขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ต้องการนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More