รถคีบไม้ MAX LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง

รถคีบไม้ MAX LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง

รถคีบไม้ MAX  LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง

รถคีบไม้ MAX  LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง


เครื่องยนต์ของรถคีบไม้ เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงประสิทธิภาพและความคงทนในการใช้งาน เพราะเครื่องยนต์เปรียบเสมือนหัวใจหลักของการทำงาน และทาง Thai-A ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพื่อความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้งาน รถคีบไม้ MAX LOGGER ของ Thai-A จึงเลือกใช้เครื่องยนต์จากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ชั้นนำของโลก เช่น ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น เป็นต้น

สุดยอดเครื่องยนต์นำเข้า สัญชาติเยอรมัน

รถคีบไม้ MAX LOGGER เครื่องยนต์สัญชาติเยอรมัน พลังขับเคลื่อนแห่งอนาคตที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพกับการทำงานที่ยืดหยุ่น ในขนาดกระทัดรัดและทนทานในทุกรูปแบบการใช้งาน ทั้งยังผ่านมาตรฐานด้านการปล่อยมลภาวะไอเสียจากสถาบันหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา ระดับ 5 หรือ European Emission Standards: EU Stage IV หรือ U.S. EPA Tier 4 ด้วยมอเตอร์ที่ผ่านการทดสอบจากการใช้งานจริง และสามารถแก้ปัญหาหลังรอบการบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี โดยมีตราประทับ “Stage V ready” เป็นเครื่องหมายการันตีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องยนต์ดอยซ์ ได้ผ่านข้อกำหนดของ EU Stage มาตรฐานการปล่อยมลพิษแล้ว

รถคีบไม้ MAX  LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง


ประสิทธิภาพของรถคีบไม้จาก Thai-A MAX LOGGER

รถคีบไม้จาก Thai-A MAX LOGGER รถคีบไม้จาก Thai-A ทุ่นแรง ประหยัดเวลา รถคีบไม้เป็นรถที่สามารถทำงานคีบไม้ขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความสามารถในการสวิงซ้าย-ขวา เพื่อการคีบไม้และจับวางวัสดุได้อย่างคล่องแคล่ว

รถคีบไม้แบบ 3 ล้อ

รถคีบไม้แบบ 3 ล้อนั้นเป็นรถที่ใช้ในงานเกี่ยวกับการคีบและขนย้ายวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ในปริมาณมาก เพื่อตอบสนองต่อกระบวนการผลิตที่ต้องการขนย้ายงานต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว โดยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย ในการขนย้าย

รถคีบไม้ MAX  LOGGER ให้คุณภาพมากกว่าความคุ้มค่าด้วยเครื่องยนต์นำเข้าประสิทธิภาพสูง


นอกจากนี้แล้ว รถคีบไม้จาก Thai-A สามารถเปลี่ยนชุดหัวคีบและชุดตักได้หลายประเภทของการใช้งาน มีระบบไฮดรอลิคขับเคลื่อนแบบ Hydrostatic Transmission หมุนรอบตัวเองได้ 360 องศา ทำให้ใช้พื้นที่ ในการเลี้ยวน้อยและคล่องตัวในการทำงานสูง และใช้ระบบเครื่องยนต์นำเข้าจากประเทศชั้นนำ และมีการทดสอบจากผู้ผลิตที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้ทนทานต่อสภาพการทำงานที่มีแรงสั่นสะเทือนและประหยัดน้ำมันเป็นที่หนึ่งเพียง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง ได้งานมากถึง 50-60 ตันต่อชั่วโมง ซ่อมแซมและบำรุงรักษาง่าย อะไหล่มีพร้อมบริการ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบไม้ ปากคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ชุดต้นกำลัง (Power unit) ในระบบไฮดรอลิกสำคัญยังไง

ชุดต้นกำลัง (Power unit) ในระบบไฮดรอลิกสำคัญยังไง

ชุดต้นกำลัง (Power unit) ในระบบไฮดรอลิกสำคัญยังไง

ชุดต้นกำลัง (Power unit) มีหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบไฮดรอลิก ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่น แรงดันของกระบอกสูบไฮดรอลิก, ความเร็วของกระบอกสูบไฮดรอลิกหรือ ต้องการควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดอื่น ๆ โดยชุดต้นกำลังจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไฮดรอลิกหลาย ๆ ชนิด ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และลักษณะการใช้งานในแต่ละงาน ชุดต้นกำลังสามารถจ่ายแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไฮดรอลิกได้ซึ่งทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรก ระบายความร้อน ของน้ำมันที่ไหลกลับมาจากการใช้งาน และไม่ให้เกิดฟองอากาศ

ชุดต้นกำลังแบบมาตรฐาน (Standard Power unit)

เป็นชุดต้นกำลังที่เหมาะใช้กับงานอุตสาหกรรมทั่วไป วงจรไม่ซับซ้อนมีแรงดันใช้งานอยู่ที่ 35 – 200 bar มีอุปกรณ์หลักในการทำงานอย่างเช่น ปั้มไฮดรอลิค วาล์วควบคุมแรงดัน วาล์วควบคุมทิศทาง วาล์วควบคุมการไหล เป็นต้น

หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์บางส่วนในชุดต้นกำลังแบบมาตรฐาน (Standard Power unit)

  1. ไฮดรอลิกปั๊ม (Hydraulic pump) อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากการหมุน ซึ่งขับโดยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวส่งน้ำมันไฮดรอลิคเข้าสู่วงจรไฮดรอลิค เมื่อใดก็ตามที่เครื่องยนต์หรือมอเตอร์หมุนปั๊มก็จะทำงานไปด้วย
  2. กรองน้ำมันขาดูด (Suction Filter) ทำหน้าที่กรองน้ำมันไฮดรอลิกก่อนเข้าปั้ม โดยมีหน่วยวัดความละเอียด เป็น Mesh มีทั้งแบบที่เป็นตาข่ายเหล็กและสแตนเลส
  3. วาล์วควบคุมความดัน (Relief Valve) ทำหน้าที่ควบคุมและจำกัดแรงดันในระบบให้เป็นไปตามค่าที่ตั้งไว้
  4. วาล์วควบคุมความเร็ว (Flow control valve) ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วของกระบอกสูบ หรือ ไฮดรอลิก มอเตอร์ สามารถแบ่งการควบคุมได้ 2 แบบ คือ แบบทางเดียว และ แบบสองทาง
  5. วาล์วกันตก (Pilot Check valve) ทำหน้าที่ Block แรงดันของน้ำมันไว้ที่กระบอกสูบ เพื่อไม่ให้กระบอกสูบ ยุบตัว กรณีที่ต้องการยก Load ค้างตำแหน่งไว้

ชุดต้นกำลังไฮดรอลิก
ชุดต้นกำลัง



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกและเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี

บทความที่น่าสนใจ

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ของไหลไฮดรอลิก ติดไฟได้หรือไม่

ของไหลไฮดรอลิกติดไฟได้หรือไม่?

ของไหลไฮดรอลิกติดไฟได้หรือไม่?

ในระบบไฮดรอลิก ของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิกมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ SKD ไม่มีของเหลวตัวนี้ ระบบไฮดรอลิกก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะส่งผลต่อน้ำมันไฮดรอลิกและการทำงานของระบบ แน่นอนว่าถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ของเหลวจะระเหย และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลง ของเหลวก็จะแข็งตัว แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อของเหลวไฮดรอลิกต้องใช้งานที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและสัมผัสกับประกายไฟ ของเหลวจะติดไฟหรือไม่ ในบทความนี้แอดมินได้หาคำตอบมาให้ผู้อ่านแล้วค่ะ

สารบัญ

  • ชนิดของน้ำมันไฮดรอลิก
    • HFAE
    • HFAS
    • HFB
    • HFC
    • HFDR
    • HFDU
  • บทสรุป

การใช้งานในแต่ละประเภทของระบบไฮดรอลิก ที่มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกให้มีความเหมาะสมกับงาน เพราะผลลัพธ์ของระบบขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้ด้วยนั่นเองค่ะ

น้ำมันไฮดรอลิกที่ทนไฟส่วนใหญ่จะจำแนกเป็นน้ำมันอิมัลชันและน้ำอิมัลชัน สารละลายพอลิเมอร์น้ำ ซินธิติกส์แอนไฮดรัส ซึ่งของเหลวไฮดรอลิกที่ทนไฟจะมีปริมาณน้ำมากกว่า 35% ตามมาตรฐาน ISO 12922:2012 โดยสามารถแบ่งออกอีกได้ดังนี้ HFAE, HFAS, HFB, HFC, HFDR และ HFDU

ของไหลไฮดรอลิกติดไฟได้หรือไม่


ชนิดของน้ำมันไฮดรอลิก

  • HFAE

เป็นน้ำมันในน้ำอิมัลชันที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมโปร่งแสง ประกอบด้วยน้ำมากกว่า 80% และทนต่อการเสื่อมสภาพ HFAE เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านการสนับสนุนทุ่นระเบิด ไดรฟ์ไฮโดรสแตติก และส่วนต่อขยายสตรัทไฮดรอลิกใต้พื้นดิน เป็นต้น

  • HFAS

เป็นของเหลวในน้ำสังเคราะห์ที่มีลักษณะโปร่งใส ปราศจากน้ำมันแร่และมีปริมาณน้ำมากกว่า 80% เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านการสนับสนุนทุ่นระเบิด และเทคโนโลยีโรงหล่อ เป็นต้น

  • HFB

เป็นน้ำในน้ำมันอิมัลชันที่มีน้ำมากกว่า 40% การขุดถ่านหินเป็นการประยุกต์ใช้ HFB ใต้พื้นดิน 650 °C คืออุณหภูมิจุดติดไฟขั้นต่ำที่กำหนดตามมาตรฐาน ISO

  • HFC

HFC เป็นที่รู้จักกันในนามสารละลายไกลคอล (glycol), สารละลายโพลีอัลคิลีนไกลคอลหรือไกลคอลน้ำ เป็นสารละลายพอลิเมอร์น้ำที่มีน้ำมากกว่า 35% มีอุณหภูมิจุดติดไฟที่ 600 °C HFC เหมาะสำหรับการใช้งานในทุกสาขาที่ไม่ใช้น้ำมันไฮดรอลิก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก โรงงานถ่านโค้ก โรงหล่อ โรงงานชุบแข็ง เครื่องอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป เป็นต้น

  • HFDR

HFDR ใช้เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก มีความหนืดและอุณหภูมิต่ำ จัดเป็นวัสดุการทำงานที่เป็นอันตรายเนื่องจากสามารถก่อเป็นก๊าซพิษในกรณีเกิดไฟไหม้

  • HFDU

HFDU สามารถจัดประเภทได้อีกตามไกลคอลและตามเอสเทอร์ โดย HFDU ที่ใช้ไกลคอล จะมีความหนืด มีลักษณะเฉพาะของอุณหภูมิ มีความเสถียรในการรับแรงเฉือน และสามารถต้านทานต่อการเสื่อมสภาพ เป็นของเหลวที่ละลายน้ำได้ซึ่งมีการป้องกันการสึกหรอที่ดี ในขณะที่ HFDU ที่ใช้เอสเทอร์ มีความสามารถในการละลายสิ่งสกปรกได้ดี

บทสรุป

น้ำมันไฮดรอลิกเป็นของเหลวที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ระบบไฮดรอลิกดำเนินงานได้ตามต้องการ และน้ำมันไฮดรอลิกแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ซึ่งเหมาะสมกับงานคนละประเภท แต่น้ำมันไฮดรอลิกที่ทนไฟส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นน้ำมันอิมัลชันและน้ำอิมัลชัน ซึ่งของเหลวที่ทนไฟ จะมีปริมาณมากมากกว่า 35% ตามหลัก ISO 12922:2012 น้ำมันไฮดรอลิก HFAE, HFAS, HFB, HFC, HFDR และ HFDU ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือชนิดของของเหลวที่ทนต่อการติดไฟ เนื่องจากมีอุณหภูมิจุดติดไฟที่สูง จึงทำให้สามารถใช้กับงานหรือสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดไฟไหม้แต่อย่างใดค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่อง ชนิดของน้ำมันไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

บทความที่น่าสนใจ

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
บ้านแบบไหนที่ติด โซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ติดโซล่ารูฟท็อปหลังคา


บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมบางบ้านติดระบบโซล่ารูฟท็อปอยู่บนหลังคา แต่บางบ้านก็ไม่มี แล้วบ้านของเราติดโซล่ารูฟท็อปดีไหม? จะประหยัดจริง ๆ หรือเปล่า วันนี้แอดมินมาคลายสงสัยให้ค่ะ

โซล่ารูฟท็อปคือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ และเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ระบบโซล่ารูฟท็อป

แต่ทั้งนี้แต่ละบ้านก็จะมีการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นมาเช็กกันค่ะ ว่าบ้านคุณพร้อมมีโซล่ารูฟท็อปเพื่อประหยัดไฟเหมือนบ้านคนอื่น ๆ ไหม

1. ใช้ไฟ – เปิดแอร์ในช่วงเวลากลางวัน

โซล่ารูฟท็อปจะผลิตกระแสไฟได้ดีในตอนกลางวัน ฉะนั้นบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันจะเหมาะกับระบบโซล่ารูฟท็อปเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีแสงแดดแผงโซล่าเซลล์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ก็จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะส่งเป็นยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นกระแสสลับ และนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทันที

2. ใช้ไฟรายเดือนเป็นจำนวนมากกว่า 4000 ขึ้นไป

หากบ้านไหนที่ใช้ไฟกลางวันจริงแต่ก็ใช้น้อยไม่ได้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็อาจจะคืนทุนช้า แต่สามารถนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือขายส่งต่อการไฟฟ้าได้ แต่บ้านไหนที่ใช้ไฟเยอะเปิดแอร์หลายตัวการใช้ระบบโซล่ารูฟท็อปจะช่วยลดพลังงานได้ 30 – 60% เลยทีเดียว

3. ทิศบ้านก็สำคัญ

ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะรับแสงแดดได้ดี ดังนั้นหากจะให้ดีที่สุดทิศบ้านที่เหมาะสมกับการติดโซล่ารูฟท็อปคือทิศใต้ เนื่องจากเป็นทิศที่สามารถได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถึงต่อให้รับแดดแรงขนาดไหนแต่มีระบบโซล่ารูฟท็อปก็ช่วยประหยัดไฟเปิดแอร์ปรับอากาศได้สบาย

4. ไร้เงาตกกระทบหลังคา

ติดระบบโซล่ารูฟท็อปจะต้องดูเรื่องแสงและเงาที่ตกกระทบ จึงต้องออกแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้บังบริเวณที่ติดตั้งทำให้ระบบโซล่ารูฟท็อปผลิตไฟฟ้าได้น้อย และทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ทั้ง 4 ข้อนี้ก็อย่าลืมนำไปเช็กเบื้องต้นกันนะคะว่าควรติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปดีไหม หากต้องการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจหน้างาน เพื่อประเมินความพร้อมและดูความเหมาะสมของพื้นที่หน้างานก่อนติดตั้ง เพื่อออกแบบระบบโซลาร์ให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงสุด แต่บอกเลยค่ะว่าบ้านไหนที่ติดยังไงก็ช่วยประหยัดค่าไฟแถมนำไปขายคืนสู่การไฟฟ้าได้อีกด้วย คุ้มจริง ๆ ค่ะ

หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
3 ส่วนสำคัญของระบบไฮดรอลิก

3 ส่วนสำคัญของระบบไฮดรอลิก

 3 ส่วนสำคัญของระบบไฮดรอลิก

ระบบไฮดรอลิกเป็นระบบที่ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง และสิ่งที่ต้องการนำไปใช้ ก็คือ งาน หรือแรง ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิก เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิกไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับเคลื่อน โดย 3 ส่วนสำคัญของงานไฮดรอลิกที่ทำให้ระบบใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมี 3 ส่วน ดังนี้

3 ส่วนสำคัญของ ระบบไฮดรอลิก (1)
3 ส่วนสำคัญของ ระบบไฮดรอลิก (1)

1. แหล่งจ่ายพลังงาน

ทำหน้าที่ส่งพลังงานน้ำมันเข้าสู่ระบบ โดยมี มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์เป็นตัวขับปั๊มไฮดรอลิกให้หมุน เพื่อที่จะดูดน้ำมันจากถังพักเข้ามาในตัวเสื้อของปั๊ม แล้วส่งออกไปสู่ระบบไฮดรอลิก ซึ่งจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ปั๊มไฮดรอลิก, มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์ขับ, ถังพักน้ำมัน, ไส้กรองน้ำมัน, ที่ดูระดับน้ำมัน, ฝาเติมน้ำมัน ,ระบบระบายอากาศ และประกับเพลา

2. ระบบควบคุมการทำงาน

เป็นระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิก หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิก ที่ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิก ทำให้กระบอกเคลื่อนที่ เข้า-ออก ได้ เช่น โซลินอยด์วาล์ว ควบคุมความดันของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ เพื่อจำกัดความดัน ให้เป็นไปตามต้องการ ในการใช้งานต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมความดัน ได้แก่ วาล์วปลดความดัน หรือ รีลีฟวาล์ว, วาล์วลดความดัน, วาล์วควบคุมลำดับการทำงาน, วาล์วลัดวงจร แต่ระบบควบคุมการทำงานยังต้องควบคุมปริมาณการไหล ของน้ำมันไฮดรอลิกให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็ว ของอุปกรณ์ทำงานได้ โดยมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดปรับช่องทางออก และ ชนิดเปิดออกช่องทางผ่าน

3. อุปกรณ์ทำงาน

ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจาก พลังงานไฮดรอลิกเป็นพลังงานกล เพื่อกระทำต่อภาวะโหลด ส่วนใหญ่อุปกรณ์ทำงานจะมี 2 ประเภทใหญ่ คือ กระบอกสูบ จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น และ มอเตอร์ไฮดรอลิก จะส่งถ่ายพลังงานในแนวรัศมี

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั้มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
3 ระบบโซล่ารูฟท็อป ช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

โซล่ารูฟท็อป คือ ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว หากใครที่ยังไม่รู้ว่าโซล่ารูฟท็อปคืออะไรคลิกอ่านได้ที่บทความ โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ? ทีนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของมันกันก่อนค่ะ เพราะจะมีผลต่อ การออกแบบโซล่ารูฟท็อป สำหรับติดตั้งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ซึ่งโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 3 แบบดังนี้


1. Solar Roof Top แบบ On Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออนกริด (On-grid System) ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวันสามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ถือเป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานจริงในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟปกติ

2. Solar Roof Top Off Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ แต่ไม่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออฟกริด (Off-grid System) เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่สำรอง (Off-grid) โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ โดยโซล่าเซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge Controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ inverter แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

3. Solar Roof Top Hybrid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ และเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบไฮบริด (Hybrid System) ซึ่งเป็นการนำเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกัน (Hybrid) คือจะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงาน หลักการทำงาน คือ เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ขั้วหนึ่งต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง


เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วิธีการเลือกกระบอกสูบไฮดรอลิกสำหรับงานยก

วิธีการเลือกกระบอกสูบไฮดรอลิกสำหรับงานยก

วิธีการเลือกกระบอกสูบไฮดรอลิกสำหรับงานยก

วิธีการเลือกกระบอกสูบไฮดรอลิกสำหรับงานยก การเลือกหาขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิกให้เหมาะสมกับงานยกแต่ละประเภทเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการยกของของชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงการยกของหนัก หากเลือกกระบอกสูบที่เล็กเกินไป คุณจะไม่สามารถยกของนั้นได้และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานได้ อย่างน้อยที่สุดคุณอาจจะต้องกลับไปที่ร้านเพื่อซื้อกระบอกสูบไฮดรอลิกที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นการเลือกกระบอกสูบไฮดรอลิกจึงไม่ควรเป็นเกมการเดา และเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เราจึงควรคิดหาความจุโหลดของกระบอกสูบไฮดรอลิกก่อนที่จะเริ่มงาน การคำนวณอย่างง่ายจะช่วยให้มั่นใจได้ว่ากระบอกสูบไฮดรอลิกของคุณจะสามารถรับมือกับงานที่คุณต้องการจะยกได้ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึงวิธีการคำนวณขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิกให้เหมาะกับงานยกของผู้อ่านกันค่ะ

สารบัญ

  • วิธีคิดหาขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิก Hydraulic cylinder   
  • ขั้นตอนที่ 1: ประเมินน้ำหนักสิ่งของที่คุณจะยก
  • ขั้นตอนที่ 2: หาค่าแรงดันไฮดรอลิก
  • ขั้นตอนที่ 3: หาจำนวนจุดยึด
  • ขั้นตอนที่ 4: คำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยเสมอ

วิธีคิดหาขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิก          

ขั้นตอนที่ 1 : ประเมินน้ำหนักสิ่งของที่คุณจะยก

คุณจำเป็นต้องรู้ถึงน้ำหนักโดยประมาณของสิ่งของที่คุณต้องการจะยก และถ้าสามารถรู้น้ำหนักได้แม่นยำมากเท่าไหร่ ยิ่งดีมากเท่านั้น แต่ถ้าคุณไม่สามารถรู้แน่ชัดได้ และต้องประเมินน้ำหนักคร่าว ๆ แอดมินแนะนำให้คุณตั้งค่าน้ำหนักที่บวกเพิ่มขึ้นไปอีก คิดซะว่าเกินดีกว่าขาดค่ะ เพราะคุณคงไม่อยากให้การยกล้มเหลวแน่นอน ฉะนั้นการพิจารณาว่าของที่ต้องการจะยกมีน้ำหนักเท่าไหร่ จึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้กระบอกสูบไฮดรอลิก

ขั้นตอนที่ 2 : รู้ค่าแรงดันไฮดรอลิก

แรงดันไฮดรอลิกจากปั๊มไฮดรอลิกของคุณต้องมีเพียงพอ เพื่อให้มีแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิกและสามารถยกน้ำหนักที่ต้องการได้ ขนาดของกระบอกสูบจะเปล่าประโยชน์ไปเลย หากคุณไม่สามารถจ่ายแรงดันที่เพียงพอได้

ขั้นตอนที่ 3 : หาจำนวนจุดยึด

ลิฟต์บางตัวเป็นลิฟต์แบบจุดเดียวธรรมดา แต่บางครั้งอาจไม่สามารถปรับสมดุลน้ำหนักบรรทุกด้วยจุดเดียวได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สองจุดขึ้นไป เมื่อคุณทราบจำนวนจุดยึดและน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดที่คุณจะยก คุณสามารถคำนวณหาขนาดกระบอกสูบที่ต้องการได้ โดยการหารน้ำหนักที่ต้องการยกทั้งหมดด้วยจำนวนจุด ตัวอย่างเช่น การบรรทุกน้ำหนัก 100 ตันที่มีจุดยึดหนึ่งจุดจะต้องใช้กระบอกสูบไฮดรอลิกอย่างน้อย 100 ตัน ในขณะที่การบรรทุกแบบเดียวกันที่มีจุดยึด สี่จุดนั้นจะต้องใช้กระบอกสูบไฮดรอลิกขนาด 25 ตัน จำนวน 4 กระบอก

#ขั้นตอนที่ 4: คำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยเสมอ

คุณคงไม่อยากให้กระบอกสูบไฮดรอลิกทำงานเกินขีดจำกัดความจุของกระบอกสูบไฮดรอลิกอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ อย่างน้อยที่สุด คุณควรใช้กระบอกสูบที่มีความจุ 125% ของความจุที่ต้องการ และถ้าเป็นไปได้ คุณควรมีกระบอกสูบ ที่สามารถรับน้ำหนักได้ 1.5 เท่าถึง 2 เท่าของน้ำหนักที่คุณต้องการยก

บทสรุป

การประเมินค่าโดยประมาณของงานที่เราต้องการจะยก ค่าแรงดันของปั๊มไฮดรอลิกที่คุณมีอยู่ในขณะนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อหาค่าขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิก และการเลือกขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิกให้เหมาะสมกับงานที่เราต้องการจะยกนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องคำนึง มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายไม่มากก็น้อยตามมาได้นั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถหาค่าขนาดกระบอกสูบอย่างง่าย ๆ ตาม 4 ขั้นตอนที่กล่าวมา หรือคุณสามารถสอบถามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระบอกสูบไฮดรอลิกก่อนซื้อได้ค่ะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
จริงหรือไม่? รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา

จริงหรือไม่ ? รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา

จริงหรือไม่ ? รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา


จริงหรือไม่ ? รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา

รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา ปัจจุบันวิธีการตัดอ้อยนั้นมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ การตัดอ้อยสดและการเผาอ้อย ซึ่งการเผาอ้อยนั้นเป็นวิธีการเก็บเกี่ยวที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะอ้อยที่เกิดไฟไหม้นั้นเก็บเกี่ยวได้ง่ายมากกว่า แต่ก็มีผลเสียทางด้านมลพิษเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

จริงหรือไม่ รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา

คลายความสงสัยกับคำถามยอดฮิต “รถตัดอ้อยช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผา ?”

แม้การเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวนั้น เป็นวิธีที่ง่ายกว่าและแรงงานจะได้ค่าจ้างที่สูงขึ้น เนื่องจากตัดอ้อยได้ง่ายจึงมีปริมาณการตัดอ้อยต่อวัน มากกว่าการตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ดังนั้นวิธีการตัดอ้อยด้วยการเผานั้น จึงเป็นทางเลือกที่เกษตรกรมักเลือกใช้ แต่ในด้านผลผลิตหลังจากตัดนั้น ค่าความหวานของอ้อยที่ถูกตัดหลังจากการเผา จะลดลงไวกว่าอ้อยสดที่ตัดด้วยรถตัดอ้อย อ้อยสดที่ตัดด้วยรถตัดอ้อยจะมีน้ำหนักลดลงร้อยละ 14 ในขณะที่อ้อยที่ตัดหลังจากการเผาจะมีน้ำหนักลดลงถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าลดลงมาก ทำให้การนำมาแปรรูปการตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อยนั้น จะมีปริมาณน้ำตาลมากกว่าการตัดอ้อยโดยการเผานั่นเอง

ข้อดีของการใช้รถตัดอ้อย

  • การใช้รถตัดอ้อยช่วยลดปัญหาด้านแรงงานคน
  • การใช้รถตัดอ้อยนั้นปริมาณน้ำตาลในอ้อย มากกว่าการตัดอ้อยโดยการเผา
  • ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ
  • ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ข้อเสียของการใช้รถตัดอ้อย

  • ใช้รถตัดอ้อยตัดอ้อยยากกว่าการตัดอ้อยด้วยการเผา
  • การลงทุนในการซื้อรถตัดอ้อยค่อนข้างสูง
  • อาจจะใช้ได้ในบางพื้นที่เนื่องจากเกษตรกรบางราย มีการปลูกอ้อยระยะห่างน้อยกว่าขนาดหน้ารถตัดอ้อย

หากอ่านมาถึงตรงนี้ก็จะพอทราบแล้วว่าการใช้รถตัดอ้อยนั้น ทั้งยังไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพแล้ว ยังเพิ่มปริมาณน้ำตาลมากกว่าการเผาอีกด้วย เรียกได้ว่าการนำรถตัดอ้อยมาใช้นั้นคุ้มค่ามากเลยทีเดียว สำหรับใครที่มีกำลังในการซื้อ เพราะถือเป็นการลงทุนในระยะยาว แต่จะคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นถ้าใช้รถตัดอ้อยที่มีคุณภาพ แข็งแรง ทนทาน อย่างรถตัดอ้อยของ Thai-A

เพราะเราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ ปากคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย และมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน ในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นหากคุณกำลังมองหารถตัดอ้อยดี ๆ สักคัน ต้องรถตัดอ้อยของ Thai-A เลยค่ะ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน อากาศไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงไว้หายใจแต่อากาศหรือก๊าซยังมีพลังงานที่เต็มไปด้วยศักยภาพอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้เมื่อมีการบีบอัดด้วยแรงดันสูง อากาศหรือก๊าซอัดที่มีการขยายตัวจะสามารถบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยแรงมหาศาลได้ยกตัวอย่างใน กระบอกลมนิวเมติกส์ แรงดันของก๊าซความดันสูงหรือเรียกง่าย ๆ ว่า แรงกดดันสูงนี้เป็นพื้นฐานของการทำงานของเครื่องมือที่เกี่ยวกับลม ซึ่งถ้าจะเห็นภาพอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ทำงานในลักษณะนี้ก็คือพวกกระบอกลมนิวเมติกส์นั่นเอง

แล้วอุปกรณ์นิวเมติกส์ใดบ้างที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน ?

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน
ข้อคำนึงในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์

กระบอกลมนิวเมติกส์

จะมีด้วยกันหลายประเภทหลายขนาด อย่างเช่น กระบอกลมนิวเมติกส์แบบทางเดียว (single-acting cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง (double acting cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบโรตารี่(rotary air cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบไม่มีแกน (Rodless Air Cylinder) เป็นต้น ข้อดีหลัก ๆ ของกระบอกลมไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ๆ ก็คือ กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นจะมีเสียงรบกวนน้อยกว่าระบบไฮดรอลิกอยู่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันในการกระตุ้นให้ทำงาน เพียงแค่เรามีอากาศและปั๊มลมนิวเมติกส์ก็สามารถใช้งานกระบอกลมนิวเมติกส์ได้แล้ว อีกทั้งกระบอกลมนี้ยังใช้เชื้อเพลิงที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการรั่วไหลของสารเคมีหรือของเสียใด ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
โซล่ารูฟท็อป คืออะไร

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

พูดได้เลยว่าประเทศไทยมีครบทุกฤดูร้อน ฝน หนาว แต่โดยส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นฤดูร้อนที่ใคร ๆ ต่างก็พากันหลบร้อนหรือหนีร้อนด้วยการเปิดเครื่องปรับอากาศ จึงทำให้หลาย ๆ บ้านพบเจอกับปัญหาค่าไฟฟ้าสูง ปรี๊ด ชวนเป็นลมกว่าเดิม แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้หยิบยกการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์มาใช้ประโยชน์ได้ดีมากขึ้น โดยนำแผงโซล่าเซลล์มาติดบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โซล่ารูฟท็อป” (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นำไฟฟ้าที่เหลือส่งต่อขายให้กับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวแผงผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง (DC) ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC)  โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน เท่านี้ เราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้แล้ว เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย

ขั้นตอนการทำงานของโซล่ารูฟท็อป

1. แผงโซล่าเซลล์จะรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

2. กระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะส่งผ่าน DC Fuse (อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน) ส่งต่อไปยัง Inverter (เครื่องแปลงไฟฟ้า)

3. Inverter จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็น กระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยัง AC Surge Protector

4. AC Surge Protector (อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก) จากนั้นก็จะส่งผ่าน ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน

5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านจะส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง



เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More