โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือก สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม จะปล่อยให้ต้นทุนหมดไปกับค่าไฟจากการไฟฟ้าอยู่ทำไม ในเมื่อเรานำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟเองได้ ? คำนี้ทำให้หลายผู้ประกอบการหันมาทำความรู้จักกับโซล่ารูฟท็อปว่าคืออะไรช่วยผลิตไฟฟ้าได้อย่างไรกันมากขึ้น ทั้งนี้ระบบโซล่ารูฟท็อปจึงเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจสำหรับผู้ประการ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าผลิตสินค้านั่นเอง

ข้อดีของการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปในโรงงานอุตสาหกรรม

  • ช่วยกิจการประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า ทำให้จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าของคุณลดลง
  • ลดต้นทุน และเพิ่มกำไรจากการขายไฟฟ้าได้
  • พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมติดตั้งโซล่ารูฟท็อปแบบไหนดี ?

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม


1. อุตสาหกรรมขนาดเล็ก Small Size (3 kwp )

  • Package S (3 kwp )
  • ใช้แผง jinko 400 W จำนวน 8 แผ่น มาตรฐาน IEC, Tier 1
  • Inverter Huawei SUN-2000-3KTL จำนวน 1 เครื่อง (Inverter ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้า)
  • ดำเนินการเรื่องเอกสารทางราชการ
  • ระยะคืนทุน 4-5 ปี
  • ประหยัดการใช้ไฟต่อเดือน (บาท) 1,600 บาท
  • พื้นที่ติดตั้ง 16 ตารางเมตร
  • สายไฟมาตรฐานสำหรับงานติดตั้ง Solar Cell
  • อุปกรณ์ติดตั้งครบชุด
  • มีบริการหลังการขาย

2. อุตสาหกรรมขนาดกลาง Medium Size (5 kwp )

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
  • ใช้แผง jinko 400 W จำนวน 13 แผ่น IEC, Tier 1
  • Inverter Huawei SUN-2000-5KTL จำนวน 1 เครื่อง (Inverter ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้า)
  • ดำเนินการเรื่องเอกสารทางราชการ
  • ระยะคืนทุน 3-4 ปี
  • ประหยัดการใช้ไฟต่อเดือน (บาท) 2,600-3,000 บาท
  • พื้นที่ติดตั้ง 26 ตารางเมตร
  • สายไฟมาตรฐานสำหรับงานติดตั้ง Solar Cell
  • อุปกรณ์ติดตั้งครบชุด
  • มีบริการหลังการขาย

3. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ Large Size  (10 kwp)

โซล่ารูฟท็อป พลังงานทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
  • ใช้แผง jinko 400 W จำนวน 25 แผ่น IEC,Tier 1
  • Inverter Huawei SUN-2000-10KTL จำนวน 1 เครื่อง (Inverter ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้า)
  • ดำเนินการเรื่องเอกสารทางราชการ
  • ระยะคืนทุน 3-4 ปี
  • ประหยัดการใช้ไฟต่อเดือน (บาท) 4,500-6,000 บาท
  • พื้นที่ติดตั้ง 50 ตารางเมตร
  • สายไฟมาตรฐานสำหรับงานติดตั้ง Solar Cell
  • อุปกรณ์ติดตั้งครบชุด
  • มีบริการหลังการขาย

มาประหยัดไฟฟ้าด้วยการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปกันนะคะ ช่วยให้คุณได้ประหยัดงบประมาณ รับประกันคืนทุน 5 ปี หลังจากนี้ก็ใช้ไฟได้เต็มที่กันยาว ๆ ไปเลยค่ะ บอกได้เลยว่าคุ้มมาก

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
โซล่ารูฟท็อป 2564 เพิ่มค่าไฟใหม่ 2.20 บาทต่อหน่วย รีบติดโซล่ารูฟท็อปกันเถอะ

โซล่ารูฟท็อป 2564 เพิ่มค่าไฟใหม่ 2.20 บาทต่อหน่วย รีบติดโซล่ารูฟท็อปกันเถอะ

โซล่ารูฟท็อป 2564 เพิ่มค่าไฟใหม่ 2.20 บาทต่อหน่วย รีบติดโซล่ารูฟท็อปกันเถอะ

ติดโซล่ารูฟท็อปใครว่าขาดทุนนี่คิดผิดนะคะ เพราะติดครั้งเดียวช่วยให้คุณประหยัดไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้มากถึง 20-25 ปี แถมยังนำไฟฟ้ามาขายคืนได้อีกนะ ยังไงก็คืนทุนแถมได้กำไรเห็น ๆ อยู่บ้านกลางวันแบบสบายใจหมดห่วงเรื่องค่าไฟแพงไปได้เลยค่ะ

หากใครที่สงสัยว่าติดโซล่ารูฟท็อปไปแล้วจะเริ่มเข้าโครงการขายพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่ารูฟท็อปยังไง เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

โซล่ารูฟท็อป 2564 เพิ่มค่าไฟใหม่ 2.20 บาทต่อหน่วย รีบติดโซล่ารูฟท็อปกันเถอะ


โดยหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการที่สำคัญ ประกอบด้วย

1.ต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 คือเฉพาะบ้านอยู่อาศัยกำลังผลิตติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่เกิน​ 10​ กิโลวัตต์

2.เป็นเจ้าของมิเตอร์ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย​ (กฟน.และ​ กฟภ.)​ ​ได้จ่ายไฟฟ้าให้แล้วและมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า

3.ผู้ผ่านการพิจารณาต้องติดต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตามเวลาที่กำหนดเพื่อเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้าเป็นประเภทดิจิทัล​และจะต้องลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 30 วัน โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี ซึ่งจะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2564 เท่านั้น

สำหรับปริมาณรับซื้อไฟฟ้ากำหนดไว้รวม 50 เมกะวัตต์​ แบ่งเป็นการไฟฟ้านครหลวง​ (กฟน.) 15 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค​ ( กฟภ. ) 35 เมกะวัตต์

ในส่วนกลุ่มที่ร่วมโครงการโซล่ารูฟท็อปภาคประชาชนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย​ตั้งแต่ปี 2562 และปี 2563 จะได้รับการปรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าจาก 1.68 บาทต่อหน่วย เป็น 2.20 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับโครงการปี 2564 นี้ ที่มีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา

การประกาศของ ​กกพ.ดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ​ (กพช.) เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2563 ที่ผ่านมาเพื่อให้การจัดหาไฟฟ้าจากโครงการโซล่ารูฟท็อปภาคประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นการผลิตเพื่อใช้เองเป็นหลักส่วนที่เหลือจึงจะขายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายต่อไป

เพียงใช้เกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนี้ ก็สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับโครงการรับซื้อได้แล้วค่ะ หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่น่าสนใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อป ออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ด้วยความจำเป็นของสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาดหนักในช่วงนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้ปรับเปลี่ยนระบบ ที่จากเดิมนั้นการไฟฟ้านครหลวงได้เปิดให้ผู้ใช้ได้ขอรับบริการขายไฟในโครงการโซล่าภาคประชาชนอัปโหลดเอกสารผ่านเว็บไซต์ https://spv.mea.or.th/ แต่ปัจจุบันในปี 2564 นี้ทางการไฟฟ้านครหลวงปรับเปลี่ยนเป็น My Energy MEA เพื่อรวบรวมบริการของผู้ใช้ไฟ (ไม่ขายไฟ) สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องไปยื่นเอกสารที่การไฟฟ้านครหลวงเขตแล้ว และยังสามารถติดตามว่าเอกสารดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้ว ทำให้เราไม่ต้องโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าให้เสียเวลา

สำหรับขั้นตอนการยื่นขอขายไฟและขนานไฟสำหรับผู้ที่ไม่ขายไฟดังนี้

ขั้นแรกให้เข้าไปที่เว็บไซต์  https://myenergy.mea.or.th และกดที่ ‘เข้าสู่ระบบ’ จากนั้นกดที่ ‘ลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

2. กรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานให้ครบถ้วน และคลิกลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

3. สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง คลิก สมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

4. กรอกข้อมูลเครื่องวัดฯ และคลิก ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นกรอกข้อมูลแบบคำขอฯ เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

สำหรับผู้ที่เคยใช้ระบบ SPV แล้วสามารถยืนยันตัวตนง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. สร้างบัญชีผู้ใช้งานกับระบบ My Energy

2. กรอก ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่เคยกรอกข้อมูลไว้ในระบบ SPV

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

หมายเหตุ: ระบบจะค้นหาแบบคำขอฯ ที่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการไว้ จากข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน

3. เข้าสู่ระบบ My Energy ด้วยบัญชีผู้ใช้งานของคุณ

4. ระบบจะค้นหาและแสดงแบบคำขอฯ ที่คุณเคยลงทะเบียนไว้

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

5. หากไม่พบรายการแบบคำขอฯ ที่เคยลงทะเบียนไว้ คุณสามารถค้นหาแบบคำขอฯ ได้โดยคลิกที่ บัญชีผู้ใช้งาน จากนั้นเลือก เพิ่มเครื่องวัดฯ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

6. กรอกรหัสเครื่องวัดฯ และบัญชีแสดงสัญญาฯ ที่ท่านเคยสมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้นคลิก ตรวจสอบข้อมูล

ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

7. เลือกประเภทการเข้าถึงข้อมูลแบบคำขอฯ จากนั้นคลิก บันทึก

ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและกดยืนยัน เพื่อส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาด้านเทคนิค ว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางการไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่ และจะส่งผลพิจารณากลับมาที่ผู้ยื่นขอ โดยทั่วไปแล้วอาจจะใช้เวลาแต่ละขั้นตอน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และรวมทุกขั้นตอนจนถึงขนานไฟ อาจจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน

ทั้งนี้ แม้ว่าระบบจะอำนวยความสะดวกในการยื่นเอกสารออนไลน์แล้ว แต่ว่ายังมีส่วนที่ต้องไปยื่นเอกสารตัวจริงอยู่ เช่น สัญญาซื้อขายไฟที่จำเป็นจะต้องไปเซ็นที่การไฟฟ้าเขตกับเจ้าหน้าที่ เพราะจะต้องมีลายเซ็นของทั้งผู้บริหารของการไฟฟ้าและผู้ขายไฟ แต่อย่างไรก็ดีก็มีความสะดวกกับผู้ที่ไม่ได้ขายไฟมากยิ่งขึ้น ยื่นเอกสารและรอตรวจความเรียบร้อยของระบบโซล่ารูฟท็อปเลย ไม่ต้องเซ็นสัญญาและมากไปกว่านี้ ยังมีการขออนุญาตส่วนต่าง ๆ เช่น การขอเรื่องความ มั่นคงแข็งแรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ใบอนุญาตของ กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ซึ่งจะต้องส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาก่อนการขนานไฟนั่นเองค่ะ

อ้างอิง:  https://spv.mea.or.th/

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

รับติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อป การไฟฟ้านครหลวง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการ ในเขตพื้นที่ให้บริการของ MEA คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งหากต้องการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้านั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงป้องกันเหตุอันตรายกับเจ้าหน้าที่ MEA ที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและคุณภาพโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า

รับติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อป
ขอบคุณรูปจาก www.mea.or.th



โดยการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร (ไม่ขายไฟฟ้า)

ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่ารูฟท็อป ขนานกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการเป็นหลัก โดยไม่ขายไฟฟ้าให้กับ MEA โดยการยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อให้พิจารณาตามระเบียบ MEA ว่าด้วย ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า การใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งประกาศใช้ ณ ปัจจุบัน

2. โครงการโซล่ารูฟท็อปภาคประชาชน (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของ MEA ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขาย ส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

3. โครงการโซล่ารูฟท็อปกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล และสูบน้ำเพื่อการเกษตร (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขายส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถยื่นขออนุญาตกับโครงการพลังงานหมุนเวียน MEA ได้เลยค่ะ และหากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก. พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
บ้านแบบไหนที่ติด โซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ติดโซล่ารูฟท็อปหลังคา


บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมบางบ้านติดระบบโซล่ารูฟท็อปอยู่บนหลังคา แต่บางบ้านก็ไม่มี แล้วบ้านของเราติดโซล่ารูฟท็อปดีไหม? จะประหยัดจริง ๆ หรือเปล่า วันนี้แอดมินมาคลายสงสัยให้ค่ะ

โซล่ารูฟท็อปคือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ และเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ระบบโซล่ารูฟท็อป

แต่ทั้งนี้แต่ละบ้านก็จะมีการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นมาเช็กกันค่ะ ว่าบ้านคุณพร้อมมีโซล่ารูฟท็อปเพื่อประหยัดไฟเหมือนบ้านคนอื่น ๆ ไหม

1. ใช้ไฟ – เปิดแอร์ในช่วงเวลากลางวัน

โซล่ารูฟท็อปจะผลิตกระแสไฟได้ดีในตอนกลางวัน ฉะนั้นบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันจะเหมาะกับระบบโซล่ารูฟท็อปเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีแสงแดดแผงโซล่าเซลล์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ก็จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะส่งเป็นยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นกระแสสลับ และนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทันที

2. ใช้ไฟรายเดือนเป็นจำนวนมากกว่า 4000 ขึ้นไป

หากบ้านไหนที่ใช้ไฟกลางวันจริงแต่ก็ใช้น้อยไม่ได้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็อาจจะคืนทุนช้า แต่สามารถนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือขายส่งต่อการไฟฟ้าได้ แต่บ้านไหนที่ใช้ไฟเยอะเปิดแอร์หลายตัวการใช้ระบบโซล่ารูฟท็อปจะช่วยลดพลังงานได้ 30 – 60% เลยทีเดียว

3. ทิศบ้านก็สำคัญ

ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะรับแสงแดดได้ดี ดังนั้นหากจะให้ดีที่สุดทิศบ้านที่เหมาะสมกับการติดโซล่ารูฟท็อปคือทิศใต้ เนื่องจากเป็นทิศที่สามารถได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถึงต่อให้รับแดดแรงขนาดไหนแต่มีระบบโซล่ารูฟท็อปก็ช่วยประหยัดไฟเปิดแอร์ปรับอากาศได้สบาย

4. ไร้เงาตกกระทบหลังคา

ติดระบบโซล่ารูฟท็อปจะต้องดูเรื่องแสงและเงาที่ตกกระทบ จึงต้องออกแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้บังบริเวณที่ติดตั้งทำให้ระบบโซล่ารูฟท็อปผลิตไฟฟ้าได้น้อย และทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ทั้ง 4 ข้อนี้ก็อย่าลืมนำไปเช็กเบื้องต้นกันนะคะว่าควรติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปดีไหม หากต้องการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจหน้างาน เพื่อประเมินความพร้อมและดูความเหมาะสมของพื้นที่หน้างานก่อนติดตั้ง เพื่อออกแบบระบบโซลาร์ให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงสุด แต่บอกเลยค่ะว่าบ้านไหนที่ติดยังไงก็ช่วยประหยัดค่าไฟแถมนำไปขายคืนสู่การไฟฟ้าได้อีกด้วย คุ้มจริง ๆ ค่ะ

หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
3 ระบบโซล่ารูฟท็อป ช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

โซล่ารูฟท็อป คือ ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว หากใครที่ยังไม่รู้ว่าโซล่ารูฟท็อปคืออะไรคลิกอ่านได้ที่บทความ โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ? ทีนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของมันกันก่อนค่ะ เพราะจะมีผลต่อ การออกแบบโซล่ารูฟท็อป สำหรับติดตั้งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ซึ่งโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 3 แบบดังนี้


1. Solar Roof Top แบบ On Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออนกริด (On-grid System) ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวันสามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ถือเป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานจริงในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟปกติ

2. Solar Roof Top Off Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ แต่ไม่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออฟกริด (Off-grid System) เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่สำรอง (Off-grid) โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ โดยโซล่าเซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge Controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ inverter แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

3. Solar Roof Top Hybrid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ และเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบไฮบริด (Hybrid System) ซึ่งเป็นการนำเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกัน (Hybrid) คือจะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงาน หลักการทำงาน คือ เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ขั้วหนึ่งต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง


เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
โซล่ารูฟท็อป คืออะไร

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

พูดได้เลยว่าประเทศไทยมีครบทุกฤดูร้อน ฝน หนาว แต่โดยส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นฤดูร้อนที่ใคร ๆ ต่างก็พากันหลบร้อนหรือหนีร้อนด้วยการเปิดเครื่องปรับอากาศ จึงทำให้หลาย ๆ บ้านพบเจอกับปัญหาค่าไฟฟ้าสูง ปรี๊ด ชวนเป็นลมกว่าเดิม แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้หยิบยกการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์มาใช้ประโยชน์ได้ดีมากขึ้น โดยนำแผงโซล่าเซลล์มาติดบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โซล่ารูฟท็อป” (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นำไฟฟ้าที่เหลือส่งต่อขายให้กับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวแผงผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง (DC) ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC)  โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน เท่านี้ เราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้แล้ว เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย

ขั้นตอนการทำงานของโซล่ารูฟท็อป

1. แผงโซล่าเซลล์จะรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

2. กระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะส่งผ่าน DC Fuse (อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน) ส่งต่อไปยัง Inverter (เครื่องแปลงไฟฟ้า)

3. Inverter จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็น กระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยัง AC Surge Protector

4. AC Surge Protector (อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก) จากนั้นก็จะส่งผ่าน ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน

5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านจะส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง



เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

ปัญหาจากกรณีไฟฟ้าเข้าไม่ถึงยังมีอยู่มากในพื้นที่ทุรกันดาร หรือบ้านสวนที่อยู่ห่างไกล หลายๆ คนจึงพยายามหาทางเลือกที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้นั่นก็คือระบบโซล่าเซลล์ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอคือรู้จักโซล่าเซลล์แต่ก็จะไม่รู้ว่าจะใช้ แผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไหร่ แบตเตอรี่ขนาดไหน

ก่อนการตัดสินใจซื้อโซล่าเซลล์ สิ่งที่ควรทราบถึงระบบที่เราต้องการเพื่อให้การลงทุนที่คุ้มค่าและเหมาะสม ต้องรู้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันและสถานที่ติดตั้งจึงจะสามารถคำนวณส่วนประกอบของระบบได้ซึ่งปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้พลังงานเท่าไหร่ และเราต้องการเปิดใช้งานนานกี่ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงในกรณีที่แผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถรับแสงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังงานสำรองที่ได้จากแบตเตอรี่ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

ขั้นตอนแรกก่อนการออกแบบและคำนวณโซล่าเซลล์

ระบบพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ สิ่งแรกที่ควรทำก่อนการคำนวณ

  • เลือกโหลดไฟฟ้าที่เหมาะสม และลดโหลดไฟฟ้าที่จำเป็น
  • กำหนดพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน
  • วางแผนสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ กรณีไม่มีแดด

ความหมายของหน่วยทางไฟฟ้า ที่จะใช้ในการคำนวณครั้งนี้

1. V (Volt) โวลต์ คือหน่วยที่ใช้เรียกขนาดของแรงดันไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • กระแสสลับ(AC) เช่น ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 220V หมายถึงขนาดของแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์
  • กระแสตรง (DC) เช่น ในแบตเตอรี่ต่างๆ 12V , 24V หมายถึงขนาดของแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ และ 24 โวลต์

2. Ah (Ampere-Hour) แอมแปร์-ชั่วโมง ความจุของแบตเตอรี่ในการบรรจุพลังงาน

พลังงานในแบตเตอรี่ 12 V 100 Ah เท่ากับ 12V x 100Ah หรือ 12V x 100A x 3600s จะได้เท่ากับ 4.32 MJ ถ้าแบตเตอรี่ 100 Ah เท่ากับว่าแบตเตอรี่จะจ่ายกระแส 1 แอมแปร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 100 ชั่วโมง หรือแบตเตอรี่จ่าย กระแส 10 แอมแปร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ชั่วโมง

3. W (Watt) วัตต์ คือหน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังไฟฟ้า เช่น หลอดไฟขนาด 20W หมายถึง หลอดไฟใช้กำลังไฟฟ้า 20 วัตต์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

แบตเตอรี่ (Battery)

จะทำหน้าที่เก็บสำรองไฟฟ้า ในเวลาที่แผงโซล่าเซลล์ไม่สามรถรับแสงได้ (เวลากลางคืน)

สูตรคำนวน ขนาดกระแส/ชั่วโมง ของแบตเตอรี่สามารถคำนวณได้จาก

ขนาดแบตเตอรี่=กำลังไฟฟ้าที่ Load ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน / แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ xประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverterโดย

 * ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80

 * ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85

เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)

จะทำหน้าที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ ซึ่งต้องมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่า กระแสไฟฟ้า (Amp) ที่ไหลผ่านจากแผงโซล่าเซลล์สู่แบตเตอรี่ ดังนั้น ขนาดของเครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าควรมีขนาดเกินกระแสไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)

คำนวณจากกำลังวัตต์รวมโดยไม่เอาจำนวนชั่วโมงเข้ามาคูณ

เครื่องซักผ้า 320×1 =320 W

หลอดไฟ     10×3= 30 W

รวม  320+30 = 350 W

ดังนั้นขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าควรมีขนาด 350 W แต่ควรมีขนาดสูงกว่าหรือที่มีขายในท้องตลาด สำหรับขนาดที่เหมาะควรใช้ ขนาด 500 W  ในส่วนระบบของ Battery ขึ้นอยู่กับการที่เราเลือกใช้ตามขนาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับวิธีการคำนวณการใช้โซล่าเซลล์ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักจะเจอประจำสำหรับระบบโซล่าเซลล์ก็คือ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ (Water Pump Solarcell) ในปัจจุบันมีหลายขนาดและหลายชนิดเช่น ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบไดโวหรือปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์สให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับภายในบ้านเรือนของเรา ซึ่งวันนี้  Thai-A จะมาพูดถึงข้อควรคำนึงในการเลือกใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์สกันค่ะ

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส

1. ดูว่าขนาดบ่อที่เราเจาะ มีขนาดความกว้างของบ่อเท่าไหร่ ซึ่ง ขนาดบ่อที่เจาะทั่วไป จะมีขนาดความกว้างตั้งแต่ 4 นิ้ว – 5 นิ้ว ตามขนาดของปั้มที่เราเลือกใช้

2. ระยะความลึกของบ่อบาดาลที่เราต้องการจะหย่อนปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์สลงไป และช่วงที่มีน้ำในบ่อบาดาลสม่ำเสมอ ซึ่ง บริษัท THAI-A เรามีข้อแนะนำ ให้ปั้มน้ำโซล่าเซลล์ซับเมอร์สลอยสูงจากก้นบ่อประมาณ 5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ปั้มโซล่าเซลล์ดูดดินโคลน หรือ ทราย เข้ามาในเครื่อง เช่น หากเราขุดบ่อลึก 30 เมตร ควรจะหย่อนปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ลงลึกสุดได้ที่ 25 เมตร หรือควรหย่อนให้ห่างจากระดับที่เห็นผิวน้ำประมาณ 10-15 เมตร เพื่อป้องกันน้ำขาดหากเราหย่อนตื้นแรงดันของปั๊มจะสูงจึงทำให้เราได้ปริมาณน้ำมากกว่าหย่อนลึก

3. ประมาณการปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ หรือ ใช้น้ำเพื่อกิจกรรมใดบ้าง เช่น ปลูกพืชยืนต้น ปลูกข้าว หากปลูกพืชยืนต้นหรือต้นไม้ เช่น พวกสวนทุเรียน สวนเกษตรปลูกผักขาย แนะนำให้ใช้งานเป็นตัวปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่ไม่ต้องใช้ปริมาณน้ำเยอะเนื่องจากพืชจำพวกนี้ไม่ต้องการน้ำมาก

ส่วนจำพวก ข้าว,มัน,ไร่อ้อย รากฝอยของพืชมีจำนวนมากจึงทำให้รากดูดซึมเร็วจึงต้องการน้ำมากนั่นเองค่ะ

4. สถานที่ติดตั้งปั๊มน้ำโซล่าเซล์ ควรดูว่า เป็นบริเวณที่มีไฟฟ้าเข้าถึง หรือไม่ เพราะหากไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพิ่มเติม หรือเลือกใช้งานเป็น ระบบโซลาร์เซลล์  ซึ่งต้องศึกษาเรื่องการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และงบประมาณเพิ่มเติมและควรสอบถามกับช่างเจาะบ่อบาดาลว่าภายในบ่อเรามีปริมาณน้ำเท่าไหร่ในการใช้งานปั๊มเพื่อไม่ให้น้ำขาดบ่อ

หากท่านใดสนใจติดตั้งระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ เพื่อลดต้นทุน สามารถติดต่อเราได้ที่ Thai-A เราคือโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์โซล่าเซลล์ อาทิ แผงโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สำเร็จรูป รวมไปถึงระบบ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจรพร้อมจำหน่ายและติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ด้านโซล่าเซลล์ยาวนานกว่า 50 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง

แผงโซล่าเซลล์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ ?

แผงโซล่าเซลล์ ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

แผงโซล่าเซลล์ ทำไมถึงเป็นที่นิยม ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีความกระตือรือร้น และให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังทดแทนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ การติดตั้งโซล่าเซลล์จึงเป็นทางเลือกอีกขั้นสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดไฟฟ้า หรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงนั่นเอง


แผงโซล่าเซลล์


1. ความคุ้มค่าเมื่อติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ตอบโจทย์ไหมหากเราติดตั้งไปแล้วเมื่อไหร่จะคืนทุน และประหยัดไฟจริงไหม หรือหากผลิตเกินมีการรับซื้อไฟจากรัฐบาลไหม หากเป็นโรงงานสามารถยื่น BOI อันนี้ก็ควรหาข้อมูลให้ดีหรือปรึกษาผู้ที่ทำเรื่องนี้โดยตรงสะดวกที่สุด เพื่อให้คุ้มค่าที่สุดในการลงทุนติดตั้ง

2. เลือกระบบโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ

เราควรเลือกบริษัทที่ได้รับมาตราฐานและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทางด้านโซล่าเซลล์ เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่ใช่แค่นำอินเวอร์เตอร์มาเชื่อมต่อกับแผง แต่อินเวอร์เตอร์ต้องการการนำเข้าพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ด้วยแรงดันที่เหมาะสม การเลือกชนิดของแผงโซล่าเซลล์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการเสียหายที่อาจจะเกิดตามมา

3. เลือกระบบของโซล่าเซลล์ให้ถูกต้อง

ระบบของโซล่าเซลล์หลักๆ จะมีด้วยกันอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบออนกริด (On -grid) และ ระบบออฟกริด (Off -grid) โดยการทำงานของสองระบบนี้มีความแตกต่างกันเช่น

ระบบออนกริด (On -grid) คือ ระบบ Solar Cell ที่ขนานกับการไฟฟ้า ไม่ว่าจะ MEA หรือ PEA ตามเขตพื้นที่ ล้วนต้องมีการขออนุญาตเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้งสิ้น ข้อดีคือ ราคาระบบไม่สูงเท่า Off-grid และสามารถผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวันในช่วงที่มีแสง ทำให้ลดค่าไฟช่วงเช้าได้จำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่หมดแสงแล้ว สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ปกติ

ระบบออฟกริด (Off -grid) คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ส่วนไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงอย่างเช่น ที่นา ที่ไร่ สวน บนดอยและเกาะต่างๆ ในพื้นที่เหล่านี้มักมีการใช้ระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์จึงเหมาะกับระบบออฟกริดนั่นเอง

4. พื้นที่เหมาะสมไหมกับการติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์ควรพิจารณาพื้นที่กว้าง หรือมุมหรือองศาในการติดตั้งและไม่มีต้นไม้หรือตึกบังในการรับแสงเพื่อให้การติดตั้งสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้า

5. การตรวจสอบพื้นที่ติดตั้งหรือการสำรวจหลังคา

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องมีการยึดเจาะ เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์อยู่บนหลังคาเป็นเวลาหลายปี เพราะฉะนั้นนอกจากการสำรวจโครงสร้างยังต้องดูความแข็งแรงของหลังคาที่สามารถรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ได้อีกด้วย

พอจะทราบข้อควรพิจารณาของระบบโซล่าเซลล์กันแล้วใช่ไหมคะ หากท่านใดที่สนใจระบบปั๊มโซล่าเซลล์ แบบปั๊มซัมเมอร์ส และแบบปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ บริษัท Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร แบบปั๊มซัมเมอร์ส ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ รวมไปถึงระบบ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจร สินค้าคุณภาพดีพร้อมให้บริการ และติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกๆ ท่านในเรื่องโซล่าเซลล์



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More