ชุดกรองลมนิวเมติกส์สำคัญอย่างไร

ชุดกรองลมนิวเมติกส์สำคัญอย่างไร ?

ชุดกรองลมนิวเมติกส์สำคัญอย่างไร ?

ชุดกรองลมนิวเมติกส์สำคัญอย่างไร ในระบบนิวเมติกส์ที่ใช้เครื่องอัดลมจ่ายพลังงาน ซึ่งลมอัดมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้น และฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศ

คำถามที่หลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยนั่นก็คืออุปกรณ์ที่เรียกกันว่าชุดกรองลมอัดที่ว่ามันคืออะไรกันแน่ แล้วมันมีประโยชน์อย่างไรต่อระบบลมอัดนิวเมติกส์ล่ะ ?

หน้าที่ของชุดกรองลมอัดก็คือ มีหน้าที่คอยจัดการปรับปรุงคุณภาพของลมอัดให้มีความสะอาด บริสุทธิ์ และมีความปลอดภัยสูง สามารถที่จะนำไปแจกจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่ในระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่เพียงแค่นั้นชุดกรองลมลมอัด นี้ยังสามารถที่จะช่วยลดความฝืดเคืองการเคลื่อนที่ของลมในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบนิวเมติกส์ของเรา และสามารถป้องกันสนิมที่เกิดจากละออง หรือไอน้ำที่ปนมากับลมอัดได้อีกด้วย

ส่วนประกอบของชุดกรองลม มีอะไรบ้าง?

  1. F คือ Air Filter โดยความหมายในที่นี้คือ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกรองลมอัดให้กับเรา
  2. R คือ Regulator ซึ่งจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการปรับแรงดันลมอัดเพื่อให้คงที่และสม่ำเสมอ ตลอดจนให้สอดคล้องกับการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆในระบบนิวเมติกส์ของเรา เราสามารถปรับแรงดันลมตามที่เราต้องการได้ผ่านทางสปริงที่อยู่ภายในชุดปรับแรงดันลม
  3. L คือ Lubricator จะทำหน้าที่คอยจ่ายน้ำมันหล่อลื่นเพื่อลดการสึกหรอของลูกสูบ ท่อและวาล์วต่างๆที่อยู่ในชุดปรับปรุงคุณภาพลม และอุปกรณ์อื่นๆที่ถูกติดตั้งใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นกระบอกลม หรือว่าอุปกรณ์เกี่ยวกับวาล์วต่างๆ เช่น โซลินอยด์วาล์ว เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น ชุดกรองลมนิวเมติกส์ กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี รับทำกระบอกลมนิวเมติกส์ ไปจนถึงประกอบกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
น้ำท่วมสวนยาง ควรทำอย่างไรต่อ

น้ำท่วมสวนยาง ควรทำอย่างไรต่อ?

น้ำท่วมสวนยาง ควรทำอย่างไรต่อ?

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศประมาณร้อยละ  11 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งหมด

ยางพารา จัดเป็นพืชที่ไม่ทนสภาพน้ำท่วมขัง ยางพาราที่อายุ 2-8 เดือนนั้นสามารถทนน้ำท่วมได้ไม่เกิน 15 วันและถ้าน้ำท่วมยอด ต้นยางพาราจะตายทันทีภายใน 7 วัน สำหรับยางพาราอายุน้อยที่ถูกน้ำท่วม ใบจะร่วงและเริ่มตายจากยอดลงมา และถ้าปริมาณน้ำลดภายใน  15 วัน ให้ตัดส่วนที่ตายออก ยางพาราจะแตกยอดใหม่และเจริญเติบโตได้ สำหรับยางพาราที่อายุมากกว่า 8 เดือนขึ้นไปจะมีความสามารถในการทนสภาพน้ำท่วมขังได้บ้าง

และจากปัญหาน้ำท่วมสวนยางในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ของประเทศไทย มีเกษตรกรหลายรายยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูและดูแลสวนยาง หลังจากถูกน้ำท่วม แต่จะมีวิธีการจัดการทั้งดินและต้นยางพาราอย่างไรนั้น วันนี้แอดมินจึงมีวิธีมาฝากกันค่ะ

วิธีการจัดการดิน

1. ถ้าหากน้ำท่วมไม่เกิน 30 วัน ต้นยางพาราจะไม่ตายและไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าหากน้ำท่วมนานเกิน 30 วัน ให้รีบทำการระบายน้ำออกจากสวนยางพาราอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกไปจากสวนยางได้ เนื่องจากบริเวณรอบสวนยางมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ขอให้เกษตรกรขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง เพื่อให้น้ำระบายไปอยู่ในร่องน้ำที่ขุดไว้ ซึ่งการใช้วิธีนี้จะช่วยให้ดินบริเวณโคนต้นยางแห้งเร็วขึ้น และควรระมัดระวังในการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อทำการขุดร่องน้ำ เพราะจะทำให้โครงสร้างของดินเสียหาย และอาจทำให้กระทบกระเทือนต่อระบบรากเป็นอันตรายต่อต้นยางได้

2. ขณะดินชื้นหรือชุ่มน้ำ ห้ามเดินเหยียบย่ำหรือใช้เครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันดินแน่น

3. สำหรับยางพาราที่มีอายุน้อยเมื่อดินแห้งให้พรวนดินโคนต้น ทั้งนี้การพรวนดินจะช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดิน แต่สำหรับยางพาราที่อายุมาก ไม่ควรพรวนดินใต้โคนต้นเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อรากได้

4. ฟื้นฟูคุณสมบัติของดิน โดยการใส่ปุ๋ยหมักที่ผสมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และในกรณีที่พื้นที่ที่อยู่ใน

สภาพน้ำขังเป็นเวลานานและเสี่ยงต่อการเกิดโรค

5. พื้นดินภายหลังน้ำท่วมมักมีสภาพความเป็นกรด แนะนำให้ใส่อินทรียวัตถุหรือปูนเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน โดยปริมาณการใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงของกรดในแต่ละพื้นที่

วิธีการจัดการต้นยางพารา

1.ควรตัดแต่งกิ่งต้นยางพาราให้โปร่ง เพื่อสะดวกในการทำงานและป้องกันโรคหรือป้องกันลม สวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วส่วนมากจะมีต้นยางโค่นล้มหรือกิ่งฉีกขาดหรือหัก ดังนั้นจึงไม่ควรกรีดยางขณะที่มีน้ำท่วมขัง ควรหยุดไว้ชั่วคราวจะดีกว่า

2.หากพบว่ามีต้นยางพาราโค่นล้ม หรือมีกิ่งหักและฉีกขาด หลังจากน้ำลดและดินในสวนยางแห้งแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกําจัดเศษไม้และเศษวัสดุต่าง ๆ ที่น้ำพัดพามาออกให้หมด

3.หลังจากน้ำลดแล้ว ห้ามใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราทันที ควรรอให้ดินในสวนแห้งสนิทอย่างน้อย 30 วัน จึงจะสามารถใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางได้ตามปกติ

            ปัญหาต่อมาหลังจากจัดการปรับปรุงดินและตัดแต่งกิ่งต้นยางพาราเรียบร้อยแล้ว คงจะหนีไม่พ้นต้นยางพาราที่โค่นล้มลง หากจะใช้แรงงานในการขนย้ายก็คงจะลำบากไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ จะดีกว่าไหมหากท่านมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยให้สามารถคีบไม้ได้ในจำนวนมาก ๆ และประหยัดเวลากว่าการใช้แรงงานคน อย่าง Thai-A Max Logger รถคีบไม้รุ่นดังที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงนี้ เพราะรถคีบไม้จาก Thai-A เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพที่ให้คุณได้มากกว่าที่อื่น จะมีคุณสมบัติอย่างไร น่าใช้งานขนาดไหนไปชมกันค่ะ

คุณสมบัติรถคีบไม้ Max Logger

  • รถคีบไม้ Thai-A Max Logger เหมาะกับการใช้งานคีบไม้บ้อง ไม้ท่อน ไม้ซุง ได้คล่องแคล่ว หมุนรอบตัวเองได้ 360 องศา ไม่มีพวงมาลัย ขับเคลื่อนสองล้อหน้า ล้อหลังฟรีอิสระหมุนตามล้อหน้า ระบบบังคับเลี้ยว แบบ SKID STEER   ถังน้ำมันไฮดรอลิค ใช้โครงสร้างรถเป็นตัวถังเพื่อให้ระบายความร้อนของระบบไปตามโครงสร้างลดการติดตั้ง Oil cooler หัวคีบหรือชุดปากคีบหมุนได้รอบทิศทาง    
  • ปากคีบไม้แบบมาตรฐาน โครงปากคีบไม้ทำจากเหล็กหนา ทำให้ปากคีบไม้ทนทานไม่แตกหักง่าย และเชื่อมด้วยลวดแรงดึงอย่างดี ใช้สำหรับคีบไม้บ้อง หรือไม้ท่อนที่มีการวางจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ เหมาะกับงานจัดการไม้บ้องในหน้าลาน คีบไม้ขึ้นพาเลท ส่งขึ้นโต๊ะเลื่อย และ/หรือ คีบขึ้นและลงรถบรรทุกอีก ทั้งใช้ในการคีบจัดวางเรียงไม้ได้อย่างเป็นระเบียบ
  • ปากคีบชนิดฟันหนู เหมาะกับงานไม้กองระเกะระกะอย่างไม่เป็นระเบียบ สามารถเสียบทิ่มไปในกองไม้ทำให้คีบได้อย่างง่ายดาย
  • หัวโรเตเตอร์หมุน สวิงรวดเร็ว ใช้ชุดโรเตเตอร์หมุน ระดับ world-class จากยุโรป ที่ใช้กับงานไม้โดยเฉพาะ น้ำหนักในการรับโหลดและแรงกระแทกในแนวตั้ง 10 ตัน และจัดวางแนวไม้ได้พอดี จากการใช้บูมที่สามารถยืดเข้ายืดออก หมุนหัวโรเตเตอร์ปรับหาตำแหน่งวางได้อย่างเหมาะเจาะ

รถคีบไม้ Thai-A Max Logger

ลุย แรง ทนทาน! Max Logger รถคีบไม้ทรงพลัง ที่สามารถเปลี่ยนหัวคีบและชุดตักตามการใช้งาน 3 ล้อ 3 สูบ 55 แรงม้า  และสามารถเลือก OPTION เสริม ทั้งขนาดแรงม้า ที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 สูบ 75 แรงม้า อีกทั้งยัง สามารถเลือกอุปกรณ์ห้องคนขับเป็นระบบติดตั้งแอร์คอนดิชันเนอร์  สามารถปฏิบัติงานคีบได้ยาวนานไม่เมื่อยล้าและทำให้เย็นสบาย ทำให้คีบได้สูงสุด 50-60 ตัน/ชั่วโมง ประหยัดน้ำมันเป็นที่หนึ่ง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง ขับเคลื่อนแบบ Hydrostatic Transmission หมุนได้ 360 องศา ขับสบาย ห้องโดยสารขนาดกว้าง มาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครันตามที่เลือก OPTION ข้างต้น

น้ำท่วมสวนยาง ควรทำอย่างไรต่อ?

รถคีบไม้จาก Thai-A สามารถเปลี่ยนชุดหัวคีบและชุดตักได้หลายประเภทของการใช้งาน มีระบบไฮดรอลิคขับเคลื่อนแบบ Hydrostatic Transmission หมุนรอบตัวเองได้ 360 องศา ทำให้ใช้พื้นที่ ในการเลี้ยวน้อยและมีความคล่องตัวในการทำงานสูง ใช้ระบบเครื่องยนต์นำเข้าจากประเทศชั้นนำ และมีการทดสอบจากผู้ผลิต ทำให้ทนทานต่อสภาพการทำงานที่มีแรงสั่นสะเทือนและประหยัดน้ำมันเป็นที่หนึ่งเพียง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง ได้งานมากถึง 50-60 ตันต่อชั่วโมง ซ่อมแซมและบำรุงรักษาง่าย อะไหล่มีพร้อมบริการ

ปากคีบ

  • ปากคีบรถคีบไม้ ในการออกแบบปากคีบจะใช้เหล็กสปริงพิเศษในการมาทำวัตถุดิบ และกระบอกไฮดรอลิคมีการออกแบบพิเศษ ช่วยให้ควบคุมการคีบได้ง่าย

ล้อรถ

  • รถคีบไม้ มีล้อหน้า 2 ล้อใหญ่ ล้อหลัง 1 ล้อ ทำให้การขับเคลื่อนคล่องตัว และทำความเร็วบนพื้นราบได้ดี

ถังน้ำมัน

  • รถคีบไม้ มีถังน้ำมันขนาดใหญ่ และมีระบบการกรอง 2 ชั้น

ห้องโดยสารรถคีบไม้

  • ห้องโดยสารขนาดกว้าง มาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน และสามารถมองวิสัยทัศน์ได้กว้างถึง 180 องศา ทำให้คุณสามารถมองเห็นพื้นที่รอบ ๆ ตัวของคุณได้
ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?

เปลี่ยนงานคีบให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยรถคีบไม้ MAX Logger

ให้งานคีบเป็นเรื่องง่าย มั่นใจ! THAI-A เราเป็นศูนย์รวมสินค้าวิศวกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เจ้าเดียวในไทย มายาวนานกว่า 50 ปี ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่าย อุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตร

THAI-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่าย รถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อควรระวังของการใช้ ระบบนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรระวังของการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรระวังของการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรระวังของการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้วในงานอุตสาหกรรมที่เราเห็นมักจะมีระบบต่าง ๆ ประกอบขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ติดตั้งง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่าย ถ้าหากอุปกรณ์มีการชำรุดหรือเสียหายสามารถสั่งซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนได้ และยังสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ที่สำคัญคือสะอาดไม่มีคราบสิ่งสกปรกให้เห็น เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ แต่ด้วยระบบนิวเมติกส์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานลมอาจมีข้อจำกัดในด้านอื่น ๆ ดังนี้

ข้อควรระวังของการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม


สภาวะเสียงดัง เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ จะต้องมีการระบายลมบางส่วนที่เกินความจำเป็นของอุปกรณ์ หรือของระบบออกอยู่ตลอดเวลา หากปล่อยให้ลมที่ปล่อยออกมานั้นทิ้งไปตามธรรมชาติ จะทำให้เกิดเสียงดังภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน โรงงาน และสถานที่ใกล้เคียง

  • ความสามารถหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ข้อนี้เป็นปัญหาที่เราสามารถพบเจอและเกิดกับหลาย ๆ โรงงาน เมื่อมีการขยายพื้นที่การผลิต มีการเพิ่มเครื่องจักรเข้ามาในระบบ และมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์นิวเมติกส์เข้าไปในระบบ แต่ผู้ออกแบบอาจไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการสร้างปริมาณลมของเครื่องอัดลม [Air Compressor] ทำให้เกิดปัญหาการทำงานของระบบคลาดเคลื่อนในบางจังหวะ ความแม่นยำในการควบคุมลดลง
  • ขีดจำกัดของอุปกรณ์ แม้ว่าอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์จะสามารถปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงาน และพื้นที่ติดตั้งก็ตาม แต่อุปกรณ์บางชนิดก็มีข้อจำกัดในการผลิต และติดตั้งเช่นกัน เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ หากต้องการแรงที่ส่งจากอุปกรณ์มาก ขนาดของกระบอกลมก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งในบางกรณีนั้น ไม่สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดได้
  • อุณหภูมิ เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ ใช้ลมเป็นตัวกลางในการทำงานของระบบ เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่ หรือโรงงานเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความดัน [Pressure] ในระบบ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่สูง ความดันในระบบก็จะสูงตามไปด้วย และหากอุณหภูมิต่ำ ความดันในระบบนิวเมติกส์ก็จะลดต่ำลงด้วยเช่นกัน แล้วอีกสิ่งที่ตามมาหลังจากความดันมีการลดลงก็คือ จะเกิดหยดน้ำที่กลั่นตัวจากลม เนื่องจากลมที่เข้าไปในระบบนั้นมีความชื้นปนอยู่ด้วยนั้นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรระวังต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อป ออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ด้วยความจำเป็นของสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาดหนักในช่วงนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้ปรับเปลี่ยนระบบ ที่จากเดิมนั้นการไฟฟ้านครหลวงได้เปิดให้ผู้ใช้ได้ขอรับบริการขายไฟในโครงการโซล่าภาคประชาชนอัปโหลดเอกสารผ่านเว็บไซต์ https://spv.mea.or.th/ แต่ปัจจุบันในปี 2564 นี้ทางการไฟฟ้านครหลวงปรับเปลี่ยนเป็น My Energy MEA เพื่อรวบรวมบริการของผู้ใช้ไฟ (ไม่ขายไฟ) สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องไปยื่นเอกสารที่การไฟฟ้านครหลวงเขตแล้ว และยังสามารถติดตามว่าเอกสารดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้ว ทำให้เราไม่ต้องโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าให้เสียเวลา

สำหรับขั้นตอนการยื่นขอขายไฟและขนานไฟสำหรับผู้ที่ไม่ขายไฟดังนี้

ขั้นแรกให้เข้าไปที่เว็บไซต์  https://myenergy.mea.or.th และกดที่ ‘เข้าสู่ระบบ’ จากนั้นกดที่ ‘ลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

2. กรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานให้ครบถ้วน และคลิกลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

3. สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง คลิก สมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

4. กรอกข้อมูลเครื่องวัดฯ และคลิก ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นกรอกข้อมูลแบบคำขอฯ เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

สำหรับผู้ที่เคยใช้ระบบ SPV แล้วสามารถยืนยันตัวตนง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. สร้างบัญชีผู้ใช้งานกับระบบ My Energy

2. กรอก ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่เคยกรอกข้อมูลไว้ในระบบ SPV

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

หมายเหตุ: ระบบจะค้นหาแบบคำขอฯ ที่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการไว้ จากข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน

3. เข้าสู่ระบบ My Energy ด้วยบัญชีผู้ใช้งานของคุณ

4. ระบบจะค้นหาและแสดงแบบคำขอฯ ที่คุณเคยลงทะเบียนไว้

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

5. หากไม่พบรายการแบบคำขอฯ ที่เคยลงทะเบียนไว้ คุณสามารถค้นหาแบบคำขอฯ ได้โดยคลิกที่ บัญชีผู้ใช้งาน จากนั้นเลือก เพิ่มเครื่องวัดฯ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

6. กรอกรหัสเครื่องวัดฯ และบัญชีแสดงสัญญาฯ ที่ท่านเคยสมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้นคลิก ตรวจสอบข้อมูล

ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

7. เลือกประเภทการเข้าถึงข้อมูลแบบคำขอฯ จากนั้นคลิก บันทึก

ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th

โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและกดยืนยัน เพื่อส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาด้านเทคนิค ว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางการไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่ และจะส่งผลพิจารณากลับมาที่ผู้ยื่นขอ โดยทั่วไปแล้วอาจจะใช้เวลาแต่ละขั้นตอน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และรวมทุกขั้นตอนจนถึงขนานไฟ อาจจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน

ทั้งนี้ แม้ว่าระบบจะอำนวยความสะดวกในการยื่นเอกสารออนไลน์แล้ว แต่ว่ายังมีส่วนที่ต้องไปยื่นเอกสารตัวจริงอยู่ เช่น สัญญาซื้อขายไฟที่จำเป็นจะต้องไปเซ็นที่การไฟฟ้าเขตกับเจ้าหน้าที่ เพราะจะต้องมีลายเซ็นของทั้งผู้บริหารของการไฟฟ้าและผู้ขายไฟ แต่อย่างไรก็ดีก็มีความสะดวกกับผู้ที่ไม่ได้ขายไฟมากยิ่งขึ้น ยื่นเอกสารและรอตรวจความเรียบร้อยของระบบโซล่ารูฟท็อปเลย ไม่ต้องเซ็นสัญญาและมากไปกว่านี้ ยังมีการขออนุญาตส่วนต่าง ๆ เช่น การขอเรื่องความ มั่นคงแข็งแรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ใบอนุญาตของ กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ซึ่งจะต้องส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาก่อนการขนานไฟนั่นเองค่ะ

อ้างอิง:  https://spv.mea.or.th/

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก ผู้อ่านพอจะนึกออกไหมคะว่ามีอุตสาหกรรมไหนบ้างที่ไม่ต้องใช้การเคลื่อนไหวหรือการเคลื่อนที่ใด ๆ เลย  แอดมินเชื่อว่าเกือบทุกอุตสาหกรรมต้องมีการเคลื่อนไหวหรือใช้แรงในการจับ ขึ้นรูป หรือการบีบอัดผลิตภัณฑ์ทั้งนั้น นั่นก็หมายความว่าเราสามารถประยุกต์ใช้กำลังของของไหลเข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้

พลังงานของไหลเป็นเทคโนโลยีที่สร้าง ส่ง และควบคุมระบบโดยใช้ของไหลที่มีแรงดัน ซึ่งระบบที่ใช้กำลังของไหลในปัจจุบัน ได้แก่ นิวเมติกส์ ไฮดรอลิก และไฟฟ้า แต่ในบทความนี้แอดมินจะพูดถึงความแตกต่างระหว่างระบบไฮดรอลิกและระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

กระบอกลมนิวเมติกส์Series1390
กระบอกลมนิวเมติกส์Series1390

สารบัญ

  • นิวเมติกส์ VS ไฮดรอลิก
  • บทสรุป

การทำงานทั้งสองระบบใช้เทคโนโลยีของไหลแบบเดียวกันเพื่อสร้างกำลังหรือแรง แต่ตัวกลางที่ใช้แปลงพลังงานกลจะแตกต่างกัน ระบบไฮดรอลิกจะใช้ของเหลวที่มีแรงดัน เช่น น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ และน้ำ แต่ในกรณีของระบบนิวเมติกส์ จะใช้ก๊าซหรืออากาศอัดเป็นตัวกลางในการแปรพลังงาน ซึ่งตัวกลางที่แตกต่างกันนี้แหละที่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ระบบไฮดรอลิกและนิวเมติกส์แตกต่างกัน

แอดมินขอยกตัวอย่างระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกในชีวิตประจำวันของเรานะคะ การทำงานของปอดเป็นตัวอย่างของระบบนิวเมติกส์ และการไหลเวียนของเลือดเป็นตัวอย่างของระบบไฮดรอลิก ส่วนไฮดรอลิกอื่น ๆ ที่มีการนำไปใช้งานก็เช่น เขื่อน เบรกรถยนต์ สวนสนุก เครื่องจักร ลิฟต์ เป็นต้น ส่วนงานในเหมืองแร่ ทันตกรรม เบรกลม และวิทยาการหุ่นยนต์ เป็นการนำระบบนิวเมติกส์ไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ค่ะ  

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เนื่องจากระบบนิวเมติกส์และระบบไฮดรอลิกมีความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นลักษณะของพลังงานของไหลเหมือนกัน เมื่อนำเอาระบบนิวเมติกเปรียบเทียบกับระบบไฮดรอลิกจะมีข้อแตกต่างดังนี้

  • ระบบไฮดรอลิกได้รับการออกแบบให้เป็นระบบปิด ส่วนระบบนิวเมติกส์เป็นระบบเปิด
  • ระบบนิวเมติกส์มีแรงดันการใช้งานอยู่ที่ 100psi ส่วนระบบไฮดรอลิกอยู่ที่ 500 ถึง 5000psi
  • ระบบไฮดรอลิกสามารถหล่อลื่นตัวเองได้ เนื่องจากใช้น้ำมันหลายชนิด ในขณะที่ระบบนิวเมติกส์ต้องการการจัดเตรียมแยกต่างหากสำหรับการหล่อลื่นระบบ
  • อ่างเก็บน้ำ ปั๊ม วาล์ว ที่ใช้ในระบบไฮดรอลิกสำหรับการจัดเก็บและสูบของเหลวทำให้ระบบมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันที่มากขึ้น และทำให้ระบบไฮดรอลิกมีราคาสูงขึ้น การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมระบบไฮดรอลิกนั้นซับซ้อนกว่าระบบนิวเมติกส์ ระบบนิวเมติกส์นั้นเรียบง่าย ราคาถูก และประหยัดกว่าค่ะ
  • มอเตอร์ระบบไฮดรอลิกสามารถสตาร์ทมอเตอร์ภายใต้แรงดันสูงได้ นอกจากนี้ ระบบไฮดรอลิกสามารถทำงานช้า แม่นยำ และให้การเคลื่อนที่เชิงเส้น สำหรับระบบนิวเมติกส์ การทำงานที่ช้าเกินไปจะทำให้เกิดการกระตุก
  • การรั่วของระบบไฮดรอลิกจะทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเลอะเทอะ นอกจากนี้การรั่วไหลของของเหลวที่มีแรงดันยังเป็นอันตรายต่อทั้งคนงานและเครื่องจักร ฉะนั้นในระบบไฮดรอลิก การรั่วจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบช้าลง แต่ระบบนิวเมติกส์จะได้รับผลกระทบจากการรั่วซึม
  • น้ำมันไฮดรอลิกบางชนิดเป็นน้ำมันปิโตรเลียม ฉะนั้นในระบบไฮดรอลิก มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ แต่ระบบนิวเมติกส์ไม่มีอันตรายจากไฟไหม้
  • การทำงานของวาล์วของระบบนิวเมติกส์นั้นง่ายกว่าระบบไฮดรอลิก
  • เครื่องอัดอากาศเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบนิวเมติกส์

บทสรุป

เกือบทุกอุตสาหกรรมได้นำความรู้ของระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและปฏิบัติงานได้ ซึ่งความแตกต่างหลักของสองระบบนี้ คือตัวกลางที่แปลงพลังงานของไหลเป็นพลังงานกล โดยนิวเมติกส์ใช้อากาศเป็นตัวกลาง ในขณะที่ไฮดรอลิกใช้ของเหลวเป็นตัวกลาง ซึ่งแต่ละระบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งการเลือกใช้ระบบนิวเมติกส์หรือไฮดรอลิกก็แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์หรืองานที่จะใช้นั่นเองค่ะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?

ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?

ทำไมถึงต้องมีรถคีบไม้?

ในอนาคตนั้นแรงงานที่สนใจในการทำเกษตรกรรมมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ เนื่องด้วยความยากลำบากในการทำงาน เมื่อแรงงานลดลงแน่นอนว่าการหาคนงานเพื่อมาทำนั้นยิ่งยากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ดังนั้นการลงทุนในการซื้อเครื่องจักรเพื่อมาทุ่นแรงอย่างเช่น รถคีบไม้ที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนหันมาให้ความสนใจกันมากในระยะหลังมานี้

เมื่อเราพูดถึงรถคีบไม้แล้วนั้น อาชีพที่จำเป็นต้องใช้งานรถคีบไม้นี้ในปัจจุบันมีหลากหลายมาก อาทิ โรงงานรับซื้อไม้ท่อน โรงงานกระดาษ โรงไฟฟ้าไบโอแมส หรือแม้แต่ในสวนยางพารา เป็นต้น และเป็นที่แน่นอนว่ากลุ่มโรงงานรับซื้อไม้ท่อนนั้นย่อมมีความต้องการที่จะใช้ไม้เป็นจำนวนมากในการนำไปแปรรูป จึงต้องอาศัยการเปิดรับซื้อไม้จากหลากหลายที่ จนได้จำนวนไม้ตามต้องการ ดังนั้นโรงงานเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยรถคีบไม้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ถ่ายเทจากรถบรรทุก การจัดเรียงไม้หรือแม้กระทั่งการเก็บสต็อกไม้ให้ได้จำนวนมาก  เนื่องจากความสามารถของรถคีบไม้ในการหมุนรอบตัวเองแบบ 360 องศา เพื่อคีบไม้ และการจับวางวัสดุ ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วมากกว่าเครื่องจักรประเภทเดียวกันแบบอื่น ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงงานเหล่านี้ที่จะต้องมีรถคีบไม้ชนิด 3 ล้อ เพื่อความรวดเร็วคล่องตัว ลดเวลาในการทำงานและที่สำคัญคือได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A ?

ด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างมาพร้อมกับประสิทธิภาพสูงในราคาที่คุ้มค่า ทำให้รถคีบไม้ MAX LOGGER -จาก Thai-A คืออันดับหนึ่งของการเป็นผู้เชี่ยวชาญและรู้ใจงานคีบไม้และคีบเศษวัสดุต่าง ๆ ของเมืองไทยมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ด้วยความไว้วางใจมากกว่า 1,000 คัน และใช้งานมากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก !

  • คล่องตัวประหยัดน้ำมัน
  • คีบได้สูงสุด 50 ตัน/ชั่วโมง
  • รับประกัน 1 ปี
ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?

เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพที่เหนือชั้น

รถคีบไม้ MAX LOGGER รถคีบไม้ทรงพลังจาก Thai-A

  • การบังคับเลี้ยว : SKID STEER (เท้าบังคับ)
  • เครื่องยนต์ : GERMANY 55 HP
  • อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงต่อชั่วโมง : 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง
  • ปริมาณงานที่ได้ต่อชั่วโมง  : 50-60 ตันต่อชั่วโมง
  • ระบบระบายความร้อน : ด้วยอากาศ (Air Cooling) บำรุงรักษาง่าย
  • รัศมีการเลี้ยว/การเคลื่อนตัว : เป็นวงกลมหมุนได้คล่องตัว 18 km/ชั่วโมง ใช้การหยุดล้อและหมุนตัว
  • การบำรุงรักษา : ง่าย ระบบไม่ซับซ้อน ซ่อมเองได้ ไม่ต้องเข้าศูนย์หลังจาก *หมดประกัน 1 ปี
  • ห้องคอนโทรลและระบบควบคุม : ระบบควบคุมแบบมือโยกง่ายต่อการซ่อมบำรุงซ่อมเองได้ไม่ต้องรอช่างศูนย์

รถคีบไม้แบบ 3 ล้อ

เป็นรถที่ใช้ในงานเกี่ยวกับการคีบและขนย้ายวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ในปริมาณมาก เพื่อตอบสนองต่อกระบวนการผลิตที่ต้องการขนย้ายงานต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว โดยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการขนย้าย

ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?

รถคีบไม้จาก Thai-A สามารถเปลี่ยนชุดหัวคีบและชุดตักได้หลายประเภทของการใช้งาน มีระบบไฮดรอลิคขับเคลื่อนแบบ Hydrostatic Transmission หมุนรอบตัวเองได้ 360 องศา ทำให้ใช้พื้นที่ ในการเลี้ยวน้อยและมีความคล่องตัวในการทำงานสูง ใช้ระบบเครื่องยนต์นำเข้าจากประเทศชั้นนำ และมีการทดสอบจากผู้ผลิต ทำให้ทนทานต่อสภาพการทำงานที่มีแรงสั่นสะเทือนและประหยัดน้ำมันเป็นที่หนึ่งเพียง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง ได้งานมากถึง 50-60 ตันต่อชั่วโมง ซ่อมแซมและบำรุงรักษาง่าย อะไหล่มีพร้อมบริการ

ปากคีบ

  • ปากคีบรถคีบไม้ ในการออกแบบปากคีบจะใช้เหล็กสปริงพิเศษในการมาทำวัตถุดิบ และกระบอกไฮดรอลิคมีการออกแบบพิเศษ ช่วยให้ควบคุมการคีบได้ง่าย

ล้อรถ

  • รถคีบไม้ มีล้อหน้า 2 ล้อใหญ่ ล้อหลัง 1 ล้อ ทำให้การขับเคลื่อนคล่องตัว และทำความเร็วบนพื้นราบได้ดี

ถังน้ำมัน

  • รถคีบไม้ มีถังน้ำมันขนาดใหญ่ และมีระบบการกรอง 2 ชั้น

ห้องโดยสารรถคีบไม้

  • ห้องโดยสารขนาดกว้าง มาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน และสามารถมองวิสัยทัศน์ได้กว้างถึง 180 องศา ทำให้คุณสามารถมองเห็นพื้นที่รอบ ๆ ตัวของคุณได้
ทำไมต้องรถคีบไม้ MAX LOGGER จาก Thai-A?


THAI-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่าย รถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบไม้ ปากคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ปั๊มไฮดรอลิกเสียงดัง เกิดจากอะไร

ปั๊มไฮดรอลิกเสียงดัง เกิดจากอะไร ?

ปั๊มไฮดรอลิกเสียงดัง เกิดจากอะไร ?

เป็นระบบส่งถ่ายพลังงานของของไหล เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานในรูปของ อัตราการไหล และความดัน เปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิก ในอุตสาหกรรม และงานก่อสร้างต่าง ๆ แต่หากใช้ไปสักพักและเกิดอาการของปั๊มไฮดรอลิกมีเสียง มาลองเช็คกันดูค่ะ

ปั้มไฮดรอลิค


สาเหตุหลักที่ทำให้ปั๊มไฮดรอลิกมีเสียงดัง แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

สาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์ไฮดรอลิก

  • กรองขาดูด หรือท่อทางด้านดูด และไส้กรอง เกิดการอุดตัน เนื่องจากมีสิ่งสกปรก หรือสารแขวนลอยมาก
  • มีอากาศรั่ว เข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิก มีอากาศรั่วเข้าบริเวณข้อต่อ และช่องว่างระหว่าง เพลาปั๊มกับซีล
  • ยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์กลาง
  • รอบหมุนของปั๊ม สูงเกินไป
  • กรองด้านขาดูด มีขนาดไม่เหมาะสม

สาเหตุที่เกิดจากสารหล่อลื่น

  • มีความหนืดของน้ำมัน ที่สูงหรือต่ำเกินไป ไม่ตรงกับคำแนะนำในคู่มือการใช้งาน
  • ระดับน้ำมัน สูงหรือต่ำเกินไป ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่กำหนดในคู่มือของเครื่องจักร
  • อุณหภูมิของน้ำมัน สูงจนผิดปกติ
  • มีน้ำรั่ว เข้าไปในระบบผสมกับน้ำมัน ทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพ
  • เกิดฟองอากาศ ในน้ำมัน ถ้าเกิดฟองอากาศมาก จะส่งผลให้ ความดันในระบบไม่คงที่

บทความที่เกี่ยวข้อง


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

รับติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อป การไฟฟ้านครหลวง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการ ในเขตพื้นที่ให้บริการของ MEA คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งหากต้องการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้านั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงป้องกันเหตุอันตรายกับเจ้าหน้าที่ MEA ที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและคุณภาพโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า

รับติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อป
ขอบคุณรูปจาก www.mea.or.th



โดยการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร (ไม่ขายไฟฟ้า)

ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่ารูฟท็อป ขนานกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการเป็นหลัก โดยไม่ขายไฟฟ้าให้กับ MEA โดยการยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อให้พิจารณาตามระเบียบ MEA ว่าด้วย ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า การใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งประกาศใช้ ณ ปัจจุบัน

2. โครงการโซล่ารูฟท็อปภาคประชาชน (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของ MEA ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขาย ส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

3. โครงการโซล่ารูฟท็อปกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล และสูบน้ำเพื่อการเกษตร (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขายส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถยื่นขออนุญาตกับโครงการพลังงานหมุนเวียน MEA ได้เลยค่ะ และหากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก. พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เมื่อใดควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์

เมื่อใดควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์

เมื่อใดควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์

เมื่อใดควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์ ค้อนลมนิวเมติกส์ หรือเรียกอีกอย่างว่า Pneumatic Hammer เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้อากาศอัดในการขับเคลื่อนกลไกการกระแทกแบบวนรอบ โดยทั่วไปแล้วค้อนที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศเป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ที่ใช้ในการก่อสร้างหนัก การขุด และการสำรวจทางธรณีวิทยา แต่ก็สามารถพบค้อนลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กทั่ว ๆ ไปตามชุดเครื่องมือช่างซ่อมบำรุง ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะพูดถึงค้อนลมนิวเมติกส์สำหรับงานอุตสาหกรรม และเมื่อไหร่เราถึงควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์กันค่ะ

ค้อนลมนิวเมติกส์เป็นอุปกรณ์พกพาที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศอัด เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น งานซ่อมแซมพื้นผิวถนน หรืองานก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น แต่ค้อนลมนิวเมติกส์นี้โดยทั่วไปแล้วจะนำไปใช้ในการกำจัดพื้นผิวยางมะตอยและซีเมนต์ออกจากถนนและทางเท้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้แรงและความพยายามอย่างมาก เนื่องจากความแข็งของวัสดุ ค้อนลมนิวเมติกส์จึงช่วยให้เราสามารถตัดและบดพื้นผิวแข็ง ๆ ได้

เมื่อใดควรใช้ค้อนลมนิวเมติกส์

ค้อนลมนิวเมติกส์สามารถใช้ทำรูหรือช่องทางเทคนิคในผนังคอนกรีต พื้นคอนกรีต และพื้นผิวอื่น ๆ ได้ แต่เนื่องจากขนาดและน้ำหนักของเครื่องมือ ทำให้จำเป็นต้องทำงานเป็นทีมสองคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานในมุมกว้าง อาจจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือจากบุคคลอื่น หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำวิธีการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง

กลไกของค้อนลมนิวเมติกส์เป็นแบบลูกสูบที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งมีการขับเคลื่อนด้วยอากาศอัด แรงกระทบนั้นมาจากลูกสูบที่ขับเคลื่อนไปข้างหลังและข้างหน้าโดยลมอัด ลูกสูบติดตั้งหัวกระแทกที่กระทบกับหัวสกัดหรือดอกสว่านที่เหมือนกันในแต่ละจังหวะไปข้างหน้า แรงกระแทกนี้จะขับเคลื่อนซ็อกเก็ตเครื่องมือและบิดเครื่องมือไปข้างหน้าเพื่อชนกับชิ้นงาน สปริงอันทรงพลังจะคืนซ็อกเก็ตเครื่องมือไปยังตำแหน่งเดิมและพร้อมสำหรับจังหวะต่อไป การดำเนินการตอกซ้ำอย่างรวดเร็วของดอกสว่านสามารถทำลายหรือเจาะคอนกรีตแข็งและทำให้วัสดุที่นิ่มกว่าทำงานสั้นลงได้ อาจใช้บิดเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น ปลายแหลม ปลายดอกจิก สแครบเบลอร์ และบิดไดรเวอร์สเตค ขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉพาะ เห็นไหมว่ากลไกค้อนลมนิวเมติกส์นั้นเรียบง่าย เชื่อถือได้ และต้องการการบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย

บทสรุป

เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยแรงกระแทก เช่น สิ่วและดอกสว่าน มีการใช้งานมานานหลายศตวรรษแล้ว และเป็นการทำงานด้วยกำลังของมนุษย์อย่างเดียว ก่อนที่จะนำความรู้เรื่องนิวเมติกส์เข้ามาใช้ ค้อนลมนิวเมติกส์ถือเป็นการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้างและเหมืองแร่เลยก็ว่าได้ เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ค้อนลมนิวเมติกส์ก็มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เงียบขึ้น และเล็กลง ทำให้สามารถนำไปใช้การงานหนักของการก่อสร้างในการเจาะหลุมหรือพื้นคอนกรีตแข็ง ๆ และงานเบา ๆ ในบ้าน เช่นการเจาะกระเบื้อง เป็นต้น  

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
การทำงานของเครื่องขุดร่องลึกไฮดรอลิก

การทำงานของไฮดรอลิกในเครื่องขุดร่องลึก ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

การทำงานของไฮดรอลิกในเครื่องขุดร่องลึก ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

Trencher เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขุดสนาม เนื่องจากสามารถเจาะพื้นและทำลายหินและดิน เพื่อให้เกิดร่องลึกในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งความลึกของร่องนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามรุ่นของเครื่องขุด ตั้งแต่รุ่นเล็กๆ ที่ใช้ขุดสนามเพลาะในสวน ไปจนถึงรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการขุดร่องลึกในอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถขุดรูขนาดใหญ่ได้ นิยมใช้สำหรับงานวางท่อ วางสายเคเบิล หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการระบายน้ำ เป็นต้น

การทำงานของไฮดรอลิกในเครื่องขุดร่องลึก ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
ขอบคุณรูปภาพจาก iStockphoto

เครื่องขุดร่องลึกมีด้วยกันหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น เครื่องขุดร่องลึกแบบโซ่ ซึ่งใช้ในการขุดพื้นแข็ง เครื่องขุดร่องลึกแบบมีล้อ เพื่อสร้างร่องลึกสำหรับถนนและทางเท้า เครื่องขุดขนาดเล็ก ใช้เพื่อสร้างร่องลึกแคบในเขตเมือง และเครื่องขุดร่องลึกแบบพกพา เพื่อติดตั้งขอบแนวชลประทาน

สมัยก่อน การขุดร่องลึกเป็นหนึ่งในงานที่ซับซ้อนและอันตรายที่สุด แต่เมื่อมีการพัฒนาของเครื่องขุดร่องลึก หรือ Trencher กระบวนการก่อสร้างจึงทำได้เร็วและง่ายขึ้นมาก ซึ่ง Trencher นี้ช่วยลดความเสี่ยงของไซต์งาน ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง และความแม่นยำ ซึ่งเป็นข้อดีของเครื่องขุดร่องลึก โดยเครื่องขุดนี้สามารถขุดดินด้วยการเคลื่อนไหลอย่างต่อเนื่อง ความกว้างและความลึกรูที่ต้องการขุดสามารถปรับขนาดได้ตามอุปกรณ์ยึดร่องสลักที่เลือก ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึงหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องขุดร่องลึกโซ่ ซึ่งมีการนำเอาระบบไฮดรอลิกมาใช้ในเครื่องจักรกลนี้ด้วย

ส่วนประกอบหลักของเครื่องขุดร่องลึกโซ่นี้ คือโซ่ขุด (digging chain), บูมขุด (digging boom), สว่าน (auger with slinger), บูมครัมเปอร์ (crumber boom), ชูครัมเปอร์ (crumber shoe), สลักล็อค (side shift locking pin), มอเตอร์ไฮดรอลิก, ตัวปรับความตึงของโซ่ (chain tension adjustment) ฯลฯ การออกแบบเครื่องขุดร่องลึกโซ่ได้รวมดอกสว่านเพื่อป้องกันไม่ให้ดินที่ขุดกลับเข้าไปในร่องลึก ดินนี้จะถูกยกขึ้นโดยใช้สายพานลำเลียงเพื่อขนส่งไปยังรถพ่วง ในขณะที่ชุดไฮดรอลิกของเครื่องขุด จะประกอบด้วยท่ออ่อน ข้อต่อ และข้อต่อสำหรับถ่ายโอนของเหลวที่มีแรงดันไปยังส่วนประกอบไฮดรอลิกต่าง ๆ

การทำงานของไฮดรอลิก ในเครื่องขุดร่องลึก

ที่จริงแล้วเครื่องขุดร่องลึกที่พ่วงมากับเครื่องจักรก่อสร้าง จะมีระบบไฮดรอลิกเสริมสำหรับเปิดเครื่องขุดร่องลึก การเอียง การยก หรือการลดระดับของร่องลึกทั้งหมดทำได้โดยใช้กลไกไฮดรอลิกที่อยู่ในเครื่องจักรก่อสร้าง ส่วนการสตาร์ทและการหยุดของเครื่องขุดร่องลึกจะถูกควบคุมโดยไฮดรอลิกเสริม นอกจากนี้ระบบควบคุมไฮดรอลิกเสริมยังควบคุมความเร็วของเครื่องขุดร่องลึก โดยปรับการไหลของของไหลผ่านวงจรไฮดรอลิกอีกด้วย

บทสรุป

Trencher เป็นเครื่องขุดร่องลึก มีตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ในสวน ไปจนถึงขนาดอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง นิยมใช้ในการวางท่อ การวางสายเคเบิล เป็นต้น ในบทความนี้แอดมินพูดถึงเครื่องขุดร่องลึกแบบโซ่ ซึ่งพ่วงมากับเครื่องจักรกลหนักในการก่อสร้าง โดยเครื่องจักรกลหนักที่เป็นตัวหลักนี้จะใช้ระบบไฮดอรลิกหลัก เพื่อควบคุมการลาดเอียง การยก หรือการลดระดับของเครื่องขุดร่องลึก แต่การสตาร์ทหรือดับเครื่องขุดหรือควบคุมความเร็วของเครื่องขุดจะถูกควบคุมด้วยไฮดรอลิกเสริม

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More